พรหมจรรย์
คำว่า พรหมจรรย์ มีหลายความหมาย แต่ว่าโดยอรรถคือประเสริฐ โปรดอ่านในอรรถกถา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 406
ในคำว่า พฺรหฺมจริยํ ปกาเสติ นี้ ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริย นี้ ปรากฏในอรรถเหล่านี้ คือ ทาน เวยยาวัจจะ ศีลสิกขาบท ๕ อัปปมัญญา เมถุนวิรัติ สทารสันโดษ วิริยะ องค์อุโบสถ อริยมรรค ศาสนา.
จริงอยู่ ทาน ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในปุณณกชาดกนี้ว่าก็อะไรเป็นพรต อะไรเป็นพรหมจรรย์ของท่าน นี้เป็นวิบากของกรรมอะไรที่สั่งสมดีแล้ว ความสำเร็จความรุ่งเรื่อง กำลัง การเข้าถึงความเพียร และวิมานใหญ่ของท่านนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร ท่านผู้ประเสริฐ
ข้าพเจ้าและภริยาทั้ง ๒ เมื่ออยู่ในมนุษยโลก ได้เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี เรื่อนของเราในกาลนั้นได้เป็นโรงดื่ม และสมณพราหมณ์ทั้งหลายก็อิ่มหนำ ก็ทานนั้นเป็นพรต เป็นพรหมจรรย์ของเราก็อิ่มหนำ ก็ทานนั้นเป็นพรต เป็นพรหมจรรย์ของเรานี้เป็นวิบากแห่งทานที่สั่งสมดีแล้ว ความสำเร็จ ความรุ่งเรื่อง กำลัง การเข้าถึงความเพียรและวิมานใหญ่ของเรา นี้เป็นผลแห่งทานที่สั่งสมดีแล้ว ท่านผู้แกล้วกล้า
เวยยาวัจจะ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ฝนเรื่องอังกุรเปรตนี้ว่า ฝ่ามือของท่านให้สิ่งที่น่าใคร่ด้วยพรหมจรรย์อะไร ฝ่ามือของท่านหลั่งมธุรสด้วยพรหมจรรย์อะไร บุญสำเร็จในฝ่ามือของท่านด้วยพรหมจรรย์อะไร ฝ่ามือของข้าพเจ้าให้สิ่งที่น่าใคร่ด้วยพรหมจรรย์นั้น ฝ่ามือของข้าพเจ้าหลั่งมธุรสด้วยพรหมจรรย์นั้น บุญสำเร็จในฝ่ามือของข้าพเจ้าด้วยพรหมจรรย์นั้น ศีลสิกขาบท ๕ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในติตติชาดกนี้ว่า อิทํ โข ตํ ภิกฺขเว ติตฺติริยํ นาม พฺรหฺมจริยํ อโหสิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีล ๕ นั้นแล ชื่อว่า ติตติริยพรหมจรรย์
อัปปมัญูญา ๔ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์
ในมหาโควินทสูตรนี้ว่า ตํ โข ปน ปญฺจสิข พฺรหฺมจริยํ เนว นิพฺพิทาย น วิราคาย น นิไรธาย ยาเทว พฺรหฺมโลกุปปตฺติยา
ดูก่อนปัญจสิขเทพบุตร ก็พรหมจรรย์นั้นแล ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา ไม่เป็นไปเพื่อวิราคะ ไม่เป็นไปเพื่อนิโรธ เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น.เมถุนวิรัติ ท่านกล่าวว่า พรหมจรรย์ ในสัลเลขสูตรนี้ว่า ปเร อพฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสนฺติ มยเมตฺถ พฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสาม
ฯลฯ