สวดอิติปิโสเท่าอายุ+1ดีอย่างไร

 
inouchi
วันที่  11 มิ.ย. 2549
หมายเลข  1318
อ่าน  68,548

ดิฉันได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์รูปหนึ่งให้สวดอิติปิโสเท่าอายุและให้สวดเพิ่มเกิน อายุ 1 จบ ดิฉันอยากทราบว่าดีอย่างไร และจะทำให้เกิดสมาธิหรือไม่คะ

ขออนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

การสวด อิติปิ โส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู อนุตตโรปุริสทัมมสารถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภควาติ. เป็นการกล่าวถึงพระพุทธคุณขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบุคคลกล่าวสรรเสริญพระคุณด้วยจิตที่ประกอบด้วยศรัทธา ขณะนั้นจิตเป็นกุศลประกอบด้วยโสภณธรรม เป็นความดีอย่างหนึ่งที่ควรกระทำ

แต่ถ้าหากสวดด้วยเจตนาอย่างอื่น โดยขาดความเข้าใจไม่รู้ว่าคำที่สวดไปคืออะไร มีแต่ความหวังในลาภเพียงอย่างเดียว การสวดอย่างนี้เป็นอกุศลไม่ควรสวด ควรใช้เวลาศึกษาพระธรรมจะเป็นประโยชน์กว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
shumporn.t
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้ศึกษาธรรมะ เคยสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก ด้วยความไม่รู้ คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ควรทำ และสามารถคุ้มครองอันตรายต่างๆ ได้

ต่อเมื่อฟังธรรม เกิดความเข้าใจ รู้ว่าเมื่อก่อนที่สวด เพราะความเชื่อ ไม่ทำให้เกิดปัญญาความเข้าใจอะไรเลย เหมือนเราท่องจำ เพราะเราไม่มีความรู้ได้แต่ท่องจำปัญญาและสมาธิต้องมาจากการฟังธรรมและศึกษาธรรม การท่องโดยไม่รู้จะทำให้เกิดปัญญาได้อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
นิมิต
วันที่ 22 ส.ค. 2549
อนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
xnd
วันที่ 25 ส.ค. 2549

สวดมนด์ก่อนนอนต้องสวดอะไรบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 25 ส.ค. 2549

ที่นิยมกันโดยมากก็คือการกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย จากนั้นก็อุทิสส่วนบุญที่ทำแล้วในวันนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
luck
วันที่ 28 ส.ค. 2549

สวัสดีค่ะทุกท่าน ดิฉันอยากจะขอติงความคิดของท่านทั้งหลายว่า การสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพและถวายการสักการะแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเรานับถือพระองค์ใว้สูงสุดนี้ คุณคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างนั้นหรือ ในทางตรงกันข้าม เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่งการสวดมนต์ เป็นการระลึกถึงคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่อุบาสก อุบาสิกา รวมทั้งพระภิกษุสามเณร ก็จัดใว้เป็นข้อวัตรในการปฏิบัติ

ส่วนการสวดอิติปิโส มากกว่าอายุ ๑ จบนั้น เป็นกุสโลบายในการเจริญสติ ให้เรามีสติตั้งมั่นในการภาวนา และเป็นการสรรเสริญคุณของพระพุทธองค์ที่ท่านทรงมีพระคุณเปี่ยมล้นต่อชาวโลกทั้งหลาย เป็นการประพฤติดี ประพฤติชอบ เป็นการสร้างกุศลกรรมให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราเป็นชาวพุทธไม่ควรกระทำอย่างนั้นหรือ ถ้าไม่มีสติแล้วปัญญาจะเกิดไม่ได้ การสวดมนต์ภาวนาก็นับเป็นการเจริญสติอย่างหนึ่ง ไม่ต้องกลัวว่าปัญญาจะไม่เกิดนะคะ ในเมื่อเป็นการเจริญกุศล ผลดีหรือกรรมดีก็จะติดตามมาเอง

อานิสงฆ์ของการสวดมนต์ มีดังต่อไปนี้การสวดมนต์ทำวัตรเช้า วัตรเย็น หรือการสวดมนต์โดยทั่วไป เป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังโอวาท ฟังธรรม เป็นการชำระล้างจิตใจที่เศร้าหมองให้หมดไป ถ้าผู้ใดสวดมนต์ทำวัตรเช้าวัตรเย็นไม่ขาดแล้ว ทำให้จิตใจเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้นมา และเป็นนิสัยปัจจัยให้นึกถึงพุทธานุสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ได้อย่างดี ทำให้จิตโน้มไปในทางที่ดี คือ ถึง ทาน ศีลภาวนา ได้อย่างดีที่สุดคือ ถึงมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ได้สมปรารถนา การทำวัตรเช้าเย็น หรือการสวดมนต์ เป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งที่พุทธศาสนิกชน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสควรปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำ เพื่อระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นการน้อมนำพระคุณทั้ง ๓ ประการให้เข้ามาสู่จิตใจตน เพื่อยึดเป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตน และทำจิตใจของตนให้สงบ และประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ส.ค. 2549

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

การเคารพและบูชาอย่างยิ่งคืออย่างไร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

... ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่าดูก่อนอานนท์ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต. แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ... แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ... แม้ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ... แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ ย่อมเป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ พระพฤติตามธรรมอยู่ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่.


การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หมายถึง การเกิดกุศลจิตเป็นไปในเรื่องการสำรวมในศีล สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล จะกระทำอะไรก็ตาม จะเรียกว่าปฏิบัติธรรมไม่ได้ ดังนั้น เราไม่กล่าวถึงกิริยาอาการภายนอกหรือรูปธรรม แต่มุ่งหมายเอาขณะจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น เรียกว่าปฏิบัติธรรม คือการถึงเฉพาะลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 1 ก.ย. 2549

ขออนุโมทนากับบ้านธัมมะครับ ผมเข้าใจว่า ความถูกและตรงในพระธรรมของท่านยังความเมตตาแก่ผู้รู้ ผู้ไม่รู้ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ โดยเสมอหน้ากัน เป็นสิ่งน่าชื่นชมในความใจกว้างอันส่องให้เห็นสภาวธรรมของท่าน ในการอนุญาต (คงใช้คำนี้ได้กระมัง) ให้ผู้มีความเห็นทั้งสองฝ่ายได้แสดงความเห็น (อันมิใช่ข้อวิวาท) ไม่มีมืดก็ไม่รู้สว่าง ไม่มีขาวก็ไม่รู้ว่าดำ ฉันใด บุคคลผู้มีปัญญาพึงมีมนสิการในอันที่จะรู้แล้วละในสภาวธรรมทั้งปวง ผู้รู้อยู่ว่า ไม่มีตัวตนไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล จึงเห็นคุณค่าในปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้พิจารณาขาวและดำ มืดและสว่างนั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ