ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ [มหาวิภังค์]
[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๕๕
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญมรรคผลอันยังได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ ครั้นต่อมา จิตของพวกเธอน้อมไปเพื่อความกำหนัดก็มี น้อมไปเพื่อความคัดเคืองก็มี น้อมไปเพื่อความหลงก็มี จึงมีความรังเกียจว่า สิกขาบทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว แต่พวกเราสำคัญมรรคผลที่คนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ ฯลฯ
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ แล้วแจ้งเรื่องนั้น แก่ท่านพระอานนท์ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่ามีอยู่เหมือนกัน อานนท์ ข้อที่ภิกษุทั้งหลายสำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ สำคัญมรรคผลที่ตนยังได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่ข้อนั้นนั่นแล เป็นอัพโพหาริก
[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 619
ข้อว่า ตญฺจ โข เอตํ อพฺโพหาริกํ มีความว่า ก็แล การพยากรณ์ พระอรหัตนี้นั้น ของเธอเหล่านั้น เป็นอัพโพหาริกยังไม่ถึงโวหารในการเป็นเหตุให้บัญญัติอาบัติ
อธิบายว่า ยังไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ.
ถามว่า ก็ ความสำคัญว่าได้บรรลุนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร ไม่เกิดขึ้นแก่ใคร มีความว่า ก็แล การพยากรณ์ พระอรหัตนี้นั้นของเธอเหล่านั้น เป็นอัพโพหาริกยังไม่ถึงโวหารในการเป็นเหตุให้บัญญัติอาบัติ
อธิบายว่า ยังไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ.
ถามว่า ก็ความสำคัญว่าได้บรรลุนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร ไม่เกิดขึ้นแก่ใคร แก้ว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกก่อน จริงอยู่ พระอริยสาวก นั้น มีโสมนัสเกิดขึ้นแล้วด้วยญาณเป็นเครื่องพิจารณา มรรค ผล นิพพานกิเลสที่ละได้แล้ว และกิเลสที่ยังเหลือ เป็นผู้ไม่มีความสงสัยในการแทงตลอดอริยคุณ เพราะเหตุนั้น มานะ (ความถือตัว) จึงไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น ด้วยอำนาจความถือว่า เราเป็นพระสกทาคามี เป็นต้น และไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้ทุศีล เพราะว่า บุคคลผู้ทุศีลนั้น เป็นผู้หมดความหวังในการบรรลุ อริยคุณทีเดียว ทั้งไม่เกิดขึ้นแม้แก่ผู้มีศีล ซึ่งสละกรรมฐานเสีย แล้วตามประกอบเหตุแห่งความเกียจคร้าน มีความเป็นผู้ยินดีในความหลับนอนเป็นต้น. แต่จะเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เริ่มเจริญวิปัสสนา มีศีลบริสุทธิ์ดี ไม่ประมาทในกรรมฐาน ข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เพราะกำหนดนามรูป จับปัจจัยได้ ยกไตรลักษณ์ขึ้นพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่. และความสำคัญว่าได้บรรลุเกิดขึ้นแล้ว ย่อมพักบุคคล ผู้ได้สมถะล้วนๆ หรือผู้ได้วิปัสสนาล้วนๆ เสียในกลางคัน.
จริงอยู่ บุคคลนั้น เมื่อไม่เห็นความฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ย่อมเข้าใจว่า เราเป็นพระโสดาบันหรือว่าเราเป็นพระสาทกคามี หรือว่าเราเป็นพระอนาคามี. แต่ความสำคัญว่าได้บรรลุนั้น ย่อมตั้งบุคคลผู้ได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนาไว้ในพระอรหัตตผลทีเดียว.
จริงอยู่ บุคคลนั้นข่มกิเลสทั้งหลายได้ด้วยกำลังสมาธิ กำหนดสังขารทั้งหลายได้ดีด้วยกำลังวิปัสสนา เพราะฉะนั้น กิเลสทั้งหลายจึงไม่ฟุ้งขึ้นตลอด ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง, ความเที่ยวไปแห่งจิต เป็นเหมือนของพระขีณาสพฉะนั้น. บุคคลนั้น เมื่อไม่เห็น ความฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสตลอดราตรีนานด้วยอาการอย่างนั้น ไม่หยุดในกลางคันเลย จึงสำคัญว่า เราเป็นพระอรหันต์ ฉะนี้แล.