บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้วย่อมสิ้นทุกข์ [ทุติยภัททิยสูตร]

 
เมตตา
วันที่  16 ส.ค. 2552
หมายเลข  13203
อ่าน  2,354

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 664 ๒. ทุติยภัททิยสูตร ว่าด้วยบุคคลตัดวัฏฏะได้แล้วย่อมสิ้นทุกข์ [๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน-พระสารีบุตร สำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ จึง ชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยายยิ่งกว่าประมาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-สารีบุตรสำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ ชี้แจงให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยายยิ่งกว่าประมาณ. ฯลฯ ข้อความอธิบายจากอรรถกถา

บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย แปลว่า ยิ่งโดยประมาณ อธิบายว่า ยิ่งเกินประมาณ. จริงอยู่ ท่านลกุณฏกภัททิยะ นั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละบรรลุธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยโอวาทแรกตามวิธีดังกล่าวในสูตรแรก. ฝ่ายพระธรรมเสนาบดี ไม่ทราบการบรรลุพระอรหัตนั้นของท่าน โดยมิได้คำนึง

ถึง สำคัญว่ายังเป็นพระเสขะอยู่ตามเดิม เหมือนบุรุษผู้มีใจกว้างขวาง

เขาขอน้อยก็ให้มากฉะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อสิ้นอาสวะ โดยอเนกปริยาย

ยิ่งๆ ขึ้นไปทีเดียว. ฝ่ายท่านลกุณฏกภัททิยะมิได้คิดว่า บัดนี้ เราทำกิจ

เสร็จแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยโอวาทนี้ จึงพึงโดยเคารพเหมือนในกาล

ก่อนทีเดียว เพราะความเคารพในพระสัทธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็น

ดังนั้น ประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎีนั่นแหละ ทรงกระทำโดยที่พระธรรม-

เสนาบดี รู้ธรรมเป็นที่สิ้นกิเลสของท่าน ด้วยพุทธานุภาพ จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตนโข ปน สมเยน เป็นต้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 20 ส.ค. 2552

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ