ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกหรือไม่ครับ

 
sms
วันที่  12 มิ.ย. 2549
หมายเลข  1322
อ่าน  973
หน้าที่ของเรามีเพียงรู้ ไม่ต้องละกิเลส เพราะในขณะที่มีสติปัฏฐานนั้น ไม่มีกิเลสให้ละ แม้แต่ความทุกข์ก็ไม่ต้องคิดละมัน หากมันจะดับก็ดับเพราะเหตุปัจจัย ดังนั้นหน้าที่คือเพียงรู้ก็พอ ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกหรือไม่ครับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

ตามหลักคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงว่า กิเลสทั้งหมดจะละหรือดับเป็นสมุจเฉทคือไม่เกิดอีกเลยด้วยปัญญาขั้นโลกุตตระ ปัญญาขั้นต้นเพียงรู้ตามเป็นจริงและละชั่วขณะเท่านั้นคือเป็นหน้าที่ของปัญญากระทำกิจ ถ้าเป็นตัวเราเข้าไปกระทำการละด้วยความเข้าใจผิดเท่ากับเป็นการเพิ่มกิเลสคือความเข้าใจผิด ความพยายามผิด สมาธิผิด ฯ ฉะนั้นในเบี้องต้นควรศึกษาอบรมความรู้ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกก่อน จะละอะไรยังไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สุภิญญา
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

ในความคิดของอ้อ การที่อ้อศึกษาธรรมะใช่ว่าเราจะไม่มีรักโลภโกรธหลงอยู่ สิ่งเหล่านี้มันก็ยังอยู่ของมันเหมือนเดิม เพียงแต่เราจะมีสติควบคุมสิ่งเหล่านี้ไว้ไม่ให้มันแสดงออกมา หรือรู้เท่าทันความรู้สึกเหล่านั้นก่อน และเมื่อเราตามความรู้สึกของเราทันมันก็ไม่สามารถแสดงออกมาได้ ความรู้สึกเหล่านั้นมันมีอยู่ในธรรมชาติก่อนที่เราจะเกิดเสียอีก จิตเราเป็นคนสมมติมันขึ้นมา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 12 มิ.ย. 2549

พระธรรมไม่ใช่เรื่องที่จะคิดเอาเองได้นะครับ แต่เป็นเรื่องที่จะต้องฟัง ศึกษา พิจารณา และไตร่ตรองพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว และพระธรรมยังสืบต่อมาถึงยุคของเราอย่างสมบูรณ์ในพระไตรปิฎก หากเราคิดเองโดยไม่ฟังธรรมที่ถูกต้อง จะเกิดความคลาดเคลื่อนจากพระธรรมวินัยที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ความรัก ความโกรธ จะเกิดได้ต้องมีเหตุปัจจัยจึงเกิด ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ธรรมทั้งหลายเมื่อเกิดแล้วก็ดับทันที ไม่มีตัวเราที่จะต้องไปดับความโกรธ และเมื่อมีเหตุปัจจัยให้ความโกรธเกิดขึ้นก็โกรธอีก ไม่มีวิธีการใดหรือไม่มีเราที่จะใช้สติควบคุมสิ่งเหล่านี้ แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งก็ต้องอาศัยการฟัง ศึกษา พิจารณา และไตร่ตรองพระธรรมที่พระอรหันตสัมมา-สัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง เมื่อปัญญาเกิด ปัญญาทำหน้าที่ของปัญญา ไม่ใช่มีตัวเรา ไม่ใช้สติระงับความโกรธ อนึ่ง คำว่า "สติ" ในพระพุทธศาสนามีความหมายต่างจาก "สติ" ในภาษาไทย ขอเชิญรับฟังเรื่องของสติที่รวบรวมมาจากที่ต่างๆ ในเว็ปนี้นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
shumporn.t
วันที่ 13 มิ.ย. 2549

หน้าที่ของเราเพียงรู้ก็พอ???

คนเราเกิดมา คงไม่มีใครนอนอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไรเลย ผู้ที่สนใจฟังธรรมและศึกษาธรรมคงไม่เพียง แต่ฟังเฉยๆ เมื่อฟังเข้าใจแล้ว ปัญญา เป็นสังขารขันธ์ เกิดแล้วต้องทำกิจ คือปรุงแต่งให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ต่าง เช่น ปัญญาเห็นประโยชน์และคุณของความอดทน ต้องปรุงแต่งให้มีความอดทนมากขึ้น ในสถานการณ์ที่ไม่เคยอดทนมาก่อน ปัญญาเข้าใจความเป็นโทษของกิเลส ต้องปรุงแต่งให้เกิดสัมมาวายามะ สัมมาสติ ระสึกได้ในขณะที่กิเลสนั้นเกิดขึ้น ยับยั้งไม่ให้เกิดการกระทำที่เป็นโทษต่างๆ โมหะมีหน้าที่ปกปิดไม่ให้รู้ความจริง ไม่มีเหตุและผล ทิฏฐิมีความเห็นว่าสภาพธรรมเป็นเรา สภาพธรรม ทุกอย่างเกิดแล้วต้องทำกิจแล้วดับไป เมื่อดับไปแล้วยังเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น ไม่มีสภาพธรรมใดเกิดแล้วอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Buppha
วันที่ 13 มิ.ย. 2549

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prapas.p
วันที่ 15 มิ.ย. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prapas.p
วันที่ 15 มิ.ย. 2549

เชิญคลิกอ่าน.......

สัจจบรรพ - ทุกขอริยสัจ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prapas.p
วันที่ 15 มิ.ย. 2549

เมื่อยังไม่ได้ศึกษาอริยสัจ ๔ ให้เข้าใจเสียก่อน ก็จะเข้าใจสติปัฏฐานไม่ได้เพราะ สติปัฏฐานคือ การเจริญปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจทั้ง ๔ ที่กล่าวว่าหน้าที่ของเรามีเพียงรู้ ไม่ต้องละกิเลส หากศึกษาให้ดีแล้วก็จะทราบว่า ในพระไตรปิฏกไม่มีคำกล่าวว่า กิเลสเกิดก็ดับเอง เพียงแต่รู้โดยไม่ต้องละกิเลส และทุกข์ ความเข้าใจนี้คงเกิดจาก การฟังเพียงบางส่วนของศัพท์ในพระไตรปิฏกที่ชื่อ ทุกข์ ว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปตามแต่เหตุและปัจจัย ก็ไปเข้าใจเอาเองว่ามันเกิดแล้วก็ดับเอง แต่พระธรรมนั้นละเอียดกว่าที่จะคิดต่อได้เอง เพราะทรงแสดงไว้ว่าทำไมจึงต้องมีทุกข์ใหม่เกิดดับขึ้นอีกโดยไม่ขาดสาย เพราะยังไม่ได้ละทุกขสมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์) จึงทรงแสดงให้รู้จักตัวการ คือกิเลส (โลภะ) โดยต้องมีธรรมที่ดับเหตุแห่งทุกข์ดับ (พระนิพพาน) และต้องโดย (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์) คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ สติปัฏฐานนั้นเอง เมื่อศึกษาให้ละเอียดโดยไม่ข้ามข้อความและอรรถ ในพระไตรปิฏก ก็จะเห็นว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดง ทุกขสัจทั้ง๔ ฉะนั้น ได้ยินเพียงปริยัติธรรม ว่าทุกข์เกิดดับ แล้วคิดเองยังไม่ได้ ต้องศึกษาเรื่องของทุกข์ คือสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนอีกมากเพราะที่เป็นจริง แล้วพิสูจน์ได้ว่าตัวเรายังมีกิเลสและยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน โดยยังไม่รู้ว่าทุกอย่างเป็นเพียงธรรมะ เพราะแค่คิดเรื่องชื่อของธรรมะว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่สติปัฏฐานเลย ยังมีตัวตนคิดและเรื่องชื่อของธรรมก็เป็นเพียงชื่อไม่ใช่ของจริงที่เรียกว่า สภาวธรรมะ หากได้ฟังพระธรรมจากผู้รู้ที่นำมาให้ข้างบนก็จะเข้าใจได้มากขึ้น และการไต่ถามผู้รู้ทั้งหลายว่าถูกหรือผิดอย่างนี้เป็นความดี เพื่อเกิดการพิจารณาธรรมให้เข้าใจเพิ่มขึ้นโดยเคารพ ขออนุโมทนาทุกท่านที่ให้ความรู้อย่างละเอียด ทั้งสื่อเสียงพระธรรม และข้อความธรรมะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ