ปัญญา และ สีลัพพตปรามาส [ธรรมสังคณี]
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332
ปชานาตีติ ปญฺญา ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่าย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลายโดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. ปัญญานี้นั้นมีการส่องแสงเป็นลักษณะ. และมีการรู้ทั่วเป็นลักษณะ ฯลฯ ปัญญา เมื่อเกิดขึ้นย่อมกำจัดความมืดคือ อวิชชา ย่อมยังโอภาสคือวิชชาให้เกิด ย่อมยังแสงสว่างคือญาณให้รุ่งโรจน์ และย่อมทำอริยสัจจะทั้งหลายให้ปรากฏ มหาบพิตร ปัญญามีการส่องสว่างเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้แล. อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ที่เลวและประณีต ทีดำและขาว และที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เหมือนแพทย์ผู้ฉลาดย่อมรู้เภสัชเป็นต้นที่เป็นที่ สบายและไม่สบายแก่บุคคลผู้ป่วย ฉะนั้น. สมดังคำพระธรรมเสหาบดีกล่าวไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส ธรรมชาติใดย่อมรู้ทั่ว เพราะเหตุนั้น ธรรมชาตินั้นจึงชื่อว่า ปัญญา ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วว่า นี้ทุกข์เป็นต้น ข้อความนี้บัณฑิตพึงให้พิสดาร พึงทราบความที่ปัญญานั้นมีความรู้ทั่วเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้ อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดสภาวะเป็นลักษณะ หรือการแทงตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะดุจการแทงของลูกศรที่นายขมังธนูผู้ฉลาดยิงไป ฉะนั้น มีการส่องให้เห็นอารมณ์เป็นรสดุจประทีป มีการไม่หลงใหลเป็นปัจจุปัฏฐานดุจผู้ชี้ทางแก่บุคคลไปมา ฉะนั้น
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
[๖๗๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต ของสมณพราหมณ์ในภายนี้แต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส อันมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส