จิต เจตสิก [อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา]

 
JANYAPINPARD
วันที่  19 ส.ค. 2552
หมายเลข  13268
อ่าน  1,641

อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 21

ธรรมชาติที่ชื่อว่าเจตสิก เพราะอรรถว่า มีในจิต โดยมีความเป็นไปเนื่องด้วยจิตนั้น ฯ ความจริง เจตสิกนั้น เว้นจากจิตเสีย ไม่สามารถจะรับอารมณ์ได้ เพราะเมื่อจิตไม่มีก็เกิดขึ้นไม่ได้ทั้งหมด ฯ ส่วนจิต แม้เว้นจากเจตสิกบางประการ ก็ยังเป็นไปได้อารมณ์ เพราะฉะนั้นเจตสิกนั่นแหละ จึงชื่อว่ามีความเป็นไปเนื่องกับจิต ฯ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน ๑ดังนี้ ฯด้วยบทว่า ตทายตฺตวุตฺติตาย นี้ ท่านห้ามแม้ซึ่งความปฏิบัติผิด มีความที่สุขเวทนาเป็นต้นเป็นสภาพหาเจตนามิได้ และเป็นสภาพเที่ยงเป็นต้น ฯ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาตที่ประกอบในจิต ชื่อว่าเจตสิก ฯ

อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 83

ธรรมที่ชื่อว่า ผัสสะ ด้วยอรรถว่าถูกต้อง ฯ ผัสสะนี้นั้น มีการถูกต้องเป็นลักษณะ ฯ แท้จริง ผัสสะนี้แม้เป็นอรูปธรรมก็เป็นไปโดยอาการถูกตองอารมณ์ได้เท่านั้น แต่ความเป็นไปโดยอาการถูกต้องแห่งผัสสะนั้น พึงเห็นตัวอย่าง เช่น คนอื่นมองดูคนรับประทาน ของเปรี้ยวเป็นต้น เกิดน้ำลายสอขึ้นเป็นต้น ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่า รับรู้ คือเสวยรสแห่งอารมณ์ ฯ เวทนานั้น มีการับรู้เป็นลักษณะ ฯ จริงอยู่ จริงอยู่ สัมปยุตธรรมที่เหลือ ถึงการเสวยรสของอารมณ์ ก็เสวยโดยเพียงเอกเทศเท่านั้น ฯแต่เวทนาเท่านั้น ย่อมเสวยโดยแน่นอน เพราะมีความเป็นใหญ่ ฯจริงอย่างนั้น เวทนานี้ท่านอาจารย์กล่าวว่า เหมือนพระราชาผู้เสวยรสโภชนะดี ฯ ก็ท่านอาจารย์จักกล่าวประเภทแห่งเวทนานั้น ด้วยอำนาจสุขเวทนาเป็นต้น เสียเองทีเดียว ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าสัญญา เพราะอรรถว่า รู้จำอารมณ์ ต่างโดยอารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น คือทำเครื่องหมายรู้ (คือรู้ทำเครื่องหมาย) ฯสัญญานั้น มีความรู้จำเป็นลักษณะ ฯ จริงอยู่ สัญญานั้นเมื่อจะเกิดถือเอาอาการที่เป็นเหตุแห่งความจำในภายหลังเกิด เหมือนพวกช่างไม้เป็นต้น ทำเครื่องหมายที่ไม้เป็นต้นฉะนั้น ฯ ท้วงว่า ก็คำนี้ใช้ได้สำหรับสัญญา ผู้ทำเครื่องหมายก่อน แต่สำหรับสัญญาที่รู้จำด้วยเครื่องหมายจะใช้ได้อย่างไร ฯ แก้ว่า สัญญาที่จำได้ด้วยเครื่องหมายแม้นั้น ก็ถือเอาการที่เป็นเครื่องหมายแห่งความจำได้ ของสัญญาใหม่เกิดขึ้นอีก เพราะฉะนั้น จึงไม่มีความผิดอะไรในสัญญาที่รู้จำด้วยเครื่องหมายนี้ ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าเจตนา เพราะอรรถว่า มุ่งหวัง คือจัดสรรให้ธรรมที่สัมปยุตด้วยตนเป็นไปในอารมณ์ หรือถึงความขวนขวายในการปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ ฯ จริงอย่างนั้น เจตนานี้แล 


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 29 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ