ติณกัฏฐสูตร ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร

 
orawan.c
วันที่  19 ส.ค. 2552
หมายเลข  13269
อ่าน  1,448

ชาติแรกของคนและสัตว์ทั้งหลายพระพุทธองค์มิได้แสดงไว้ แต่แสดงว่ากำหนดเบื้องต้นที่สุดไม่ได้เพราะยาวมาก ดังข้อความที่ยกมา.....

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒๖ หน้าที่ 506 ๓. อนมตัคคสังยุต

๑. ติณกัฏฐสูตร

ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร

[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่า

สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยว

ไปมาอยู่ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ. ฯลฯ

อรรถกถาติณกัฏฐสูตรที่ ๑

บทว่า อนทตคฺโค แปลว่า มีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคลไป

ตามอยู่รู้ไม่ได้. อธิบายว่า สงสารแม้จะตามไปด้วยญาณร้อยปี พันปี

มีที่สุดรู้ไม่ได้ คือมีที่สุดอันทราบไม่ได้. สงสารนั้นใครไม่อาจรู้ที่สุด

ข้างนี้ หรือ ข้างโน้นได้ คือ มีเบื้องต้นเบื้องปลายกำหนดไม่ได้

บทว่า สํสาโร ได้แก่ ลำดับแห่งขันธ์เป็นต้นที่เป็นไปกำหนดไม่ได้

บทว่า ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺญายติ ได้แก่ เขตแดนเบื้องต้น ไม่

ปรากฏ ก็ที่สุด เบื้องต้นของสงสารนั้น ย่อมไม่ปรากฏด้วยที่สุดใด

แม้ที่สุดเบื้องปลาย ก็ย่อมไม่ปรากฏด้วยที่สุดนั้นเหมือนกัน.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ