เจริญสติ

 
วิริยะ
วันที่  27 ส.ค. 2552
หมายเลข  13363
อ่าน  1,302

อยากทราบว่า ถ้าเรามีการเจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวันเป็นปกติ หรือมีการ

ระลึกอยู่เนืองๆ ถึงสภาพธรรมที่ปรากฏ นั่นย่อมหมายถึงเรามีการเจริญสมถะไปในตัว

ด้วยใช่หรือไม่คะ เช่นโกรธแล้วระลึกได้ แล้วไม่โกรธ หรือความโกรธค่อยๆ ลดระดับ

ลงจนสงบแล้วเรารู้ความต่างกันระหว่างเมื่อสักครู่ที่โกรธ และเมื่อความโกรธจางลง

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 27 ส.ค. 2552

เข้าใจว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ขณะนั้นจิตก็สงบจากอกุศลคือมีสมถะด้วย โดยองค์สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นสมถะก็เกิดร่วมด้วย แต่ไม่ใช่

สมถภาวนาที่อบรมจนจิตสงบเป็นฌานขั้นต่างๆ ดังนั้นการอบรมเจริญสติปัฏฐานเป็น

ภาวนาประเภทวิปัสสนา แต่การอบรมเจริญสมถภาวนาอันมีอารมณ์สี่สิบประเภท เป็น

สมถภาวนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันใหม่
วันที่ 27 ส.ค. 2552

จากกระทู้ในที่นี้คงหมายความว่าเมื่อเจริญสติปัฏฐานแล้วก็เจริญสมถภาวนาไปในตัวด้วย ซึ่งตามความเป็นจริง สติปัฏฐาน (วิปัสสนา) กับสมถภาวนานั้นเป็นคนละส่วนกันเลย ขณะที่สติปัฏฐานเกิดปัญญารู้ความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่าเรา แต่ขณะนั้นไม่ใช่สมถภาวนาที่เป็นปัญญาที่อบรมกุศลให้มั่นคงเกิดติดต่อกันไป แต่ไม่สามารถรู้ความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา จึงต้องแยกระหว่างคำว่า สมถ และสมถภาวนา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็มีทั้ง สมถและวิปัสสนา แต่ไม่ได้มีสมถภาวนาเกิดพร้อมกับสติปัฏฐาน เมื่อเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ว่าขณะที่สติปัฏฐานเกิดก็มีทั้งสมถและวิปัสสนา จึงไม่จำเป็นจะต้องไปอบรมสมถภาวนาก่อนแล้วจึงเจริญสติปัฏฐาน ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ค่อยๆ ศึกษาด้วยความเห็นถูกโดยไม่รีบร้อนแต่ขอให้

ค่อยๆ เข้าใจถูกทีละเล็กละน้อย ย่อมเป็นการดีที่สุด สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 1

เมื่อเจริญสติในชีวิตประจำวันแล้วจิตสงบจากอกุศล ความสงบนั้นๆ ต้องเป็นไป

ตามกำลังปัญญา ใช่หรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเจริญ

สมถภาวนาเพื่ออบรมให้จิตสงบจนได้ฌานขั้นต่างๆ ที่กล่าวมาถูกหรือไม่

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Pongpat
วันที่ 28 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่สาม

พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้เจริญกุศลทุกประการครับ สติปัฏฐานไม่ได้เกิดบ่อยๆ

การอบรมเจริญสมถในชีวิตประจำวัน เช่น พุทธานุสสติ มรณสติ เป็นต้น ทำให้เวลาของ

กุศลเพิ่มขึ้น เวลาของอกุศลลดลง ที่สำคัญต้องศึกษาให้เข้าใจจริงๆ เสียก่อนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 5

อันที่จริงแล้ว การเจริญสมถภาวนาที่ถูกต้อง นับว่าเป็นสิ่งที่ยากสำหรับดิฉันมาก

เพราะเคยเริ่มจากการนั่งสมาธิและเดินจงกรม ต่อมาเมื่อเริ่มศึกษาพระธรรม ได้ฟังคำ

บรรยายจากท่านอาจารย์สุจินต์จึงเข้าใจว่า สิ่งที่ปฏิบัติอยู่นั้น เป็นการปฏิบัติที่มีโลภะ

อยู่ในจิตและ อานาปานสติก็ควรจะปฏิบัติในที่สงัดและไม่ใช่การจดจ้อง ปัจจุบันนี้ ที่

จริงก็ยังหลงทางอยู่ คือดิฉันก็ไม่รู้ตัวเองหรอกค่ะว่า ตัวเองกำลังเจริญสมถภาวนาอยู่

หรือไม่

ได้แต่ฟังธรรมจากเว็บไซค์และจากแผ่นที่ดาวน์โหลดลงในเอ็มพีสาม เมื่อฟังแล้ว

รู้สึกเข้าใจ รู้สึกซาบซึ้งในพระปัญญาและพระกรุณาของพระพุทธองค์ ขณะนั้นเข้าใจว่าเป็นความสงบของจิต และเมื่อใดที่จิตขุ่นมัวและระลึกได้ ดิฉันก็เข้าใจว่า อกุศลจิตเป็น

เช่นไร จิตส่วนลึกที่เป็นอกุศลเป็นเช่นไร และน่ารังเกียจอย่างไร เหล่านี้เป็นต้น

การเจริญกุศลอื่นๆ ก็เป็นไปในทานและศีลเท่านั้น ส่วนเรื่องการเจริญสมะภาวนา

ยังคงมีสิ่งที่ค้างคาใจอยากสอบถามอีกมากมาย ด้วยเหตุที่ว่าถ้าดิฉันจะอธิบายให้เพื่อนและคนรู้จัก ในเรื่องการนั่งสมาธิที่ถูกต้อง ตัวดิฉันเองต้องมีความเข้าใจที่มั่นคงเสียก่อน

และทุกวันนี้ ก็เข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นถึงคำว่า ความเข้าใจที่มั่นคงนั้นเป็นอย่างไรคือ ตัว

เรายังไม่มีความมั่นคงเพียงพอ นั่นเอง

อยากเรียนถามว่า อารมณ์กรรมฐาน 40 ที่เป็นพรหมวิหาร 4 นั้น สามารถเจริญได้

เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ใช่หรือไม่ และความสงบจากการเจริญพรหมวิหาร จะเจริญ

ขึ้นอย่างไร

ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาต่อความเห็นที่สองด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่สอง

ดิฉันได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาจากความเห็นของท่าน ที่ว่าให้แยก สมถะ และ สมถภาวนา ทำให้เข้าใจว่า ถ้าคิดจะเจริญสมถภาวนาก็เจริญไปเลย แต่ต้องศึกษาว่าเจริญอย่างไรจึงจะถูกต้อง และถ้าการเจริญสติปัฏฐานมีทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วย ดิฉันก็คงจะมุ่งไปที่การเจริญสติปัฏฐานก่อน ส่วนในเรื่องอื่นๆ ดิฉันจะทำตามคำแนะนำว่า ให้ค่อยๆ ศึกษาไป เท่าที่ศึกษาเรื่องอารมณ์กรรมฐานในสมถภาวนานั้นอย่างคร่าวๆ ยังมองไม่

ออกว่าจะเจริญได้อย่างไร มีแต่พรหมวิหารสี่ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และอนุสสติบางหัวข้อ

เท่านั้นซึ่งจะค่อยๆ ศึกษาให้ละเอียดเพื่อให้มีความเข้าใจไปตามลำดับ

ขอขอบพระคุณในความเมตตาที่ได้ให้ความรู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yupa
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เวลาสภาพธรรมกำลังปรากฏ (ความไม่ถูกใจ) ก็แสดงอาการ โมโห โกรธ ทันที

และเมื่อสภาพธรรมนั้นผ่านไปแล้ว คิดได้ ว่าไม่ควรแสดงอาการ เช่นนั้น เพราะไม่มีประ-โยชน์อะไรเลย ลักษณะเช่นนี้ เราควรจะเจริญสติอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prachern.s
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่หก

พรหมวิหารทั้ง ๔ เมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องสามารถอบรมเจริญในชีวิตประจำวันได้

แต่เนื่องจากยังมีปลิโพธอยู่มากและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จิตจะสงบถึงระดับฌานไม่ได้แต่ใช่ว่าจะไม่ควรอบรมเจริญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 9

ดิฉันก็เคยเป็นเช่นนั้นค่ะ แต่ฟังธรรมและพิจารณาธรรมแล้วดีขึ้นค่ะ ดีขึ้นตรงที่ว่า รู้ตัวเร็วขึ้น และรู้เท่าทันอกุศลจิตที่ซ่อนอยู่ลึกๆ ในจิตใจ วิธีที่จะเจริญสติก็ไม่มี ไม่เคยมีวิธีอะไรเลย รู้แต่ว่า การฟังธรรมและการพิจารณาธรรม ช่วยได้มาก คุณ Yupa ก็ยังรู้ตัวเองนี่คะว่า โกรธไปแล้ว บางคนและหลายๆ คน ไม่เคยรู้ตัวเลย และที่เลวร้ายกว่านั้นคือ อกุศลจิตตัวเองมี แต่กลับคิดว่าเป็นกุศล น่ากลัวมาก น่าจะมีผู้รู้ท่านอื่นๆ ช่วยให้คำแนะนำนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 1

เวลาพูดถึงการได้ฌานจากการเจริญสมถภาวนา ดิฉันมักจะคิดถึงแต่การเจริญอานาปานสติเท่านั้น แต่การเจริญสมถภาวนาด้วยอารมณ์กรรมฐานอื่นๆ ยังนึกไม่ออก โดยเฉพาะที่ได้เรียนถามไปเกี่ยวกับการเจริญพรหมวิหาร เพราะคิดว่าเราสามารถทำได้โดยไม่ต้องหลีกเร้นกายไปยังที่อื่นๆ สรุปว่า ขอให้มี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ว่าจะเป็นฌานได้อย่างไร กรุณาอธิบายได้ไหมคะ คือมิใช่อยากจะได้ฌานนะคะ ดิฉันเพียงแต่ข้องใจ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วันใหม่
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 9

ความโกรธเกิดขึ้นเพราะยังมีกิเลสอยู่ เมื่อความโกรธเกิดขึ้นและดับไป สติไม่เกิดระลึกรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แสดงถึงความเป็นอนัตตา บังคับให้สติเกิดไม่ได้ จึงไม่ใช่ให้ทำอย่างไร เมื่อโกรธเกิดขึ้น แต่ค่อยๆ เข้าใจขั้นการฟังว่าเป็นธรรมและเป็นอนัตตา ทั้งความโกรธและสติปัฏฐาน บังคับให้เกิดหรือไม่เกิดไม่ได้ ขณะนี้กำลังมีธรรม ที่ผ่านมาก็ผ่านไปแล้ว หนทางเดียวคือฟังธรรมต่อไป เมื่อมีเหตุปัจจัยโกรธก็เกิดขึ้นเอง

เมื่อเข้าใจความเป็นอนัตตาก็เบา เพระไม่มีเราจะไปบังคับให้ไม่เกิดโกรธ หรือไป

บังคับที่จะทำสติเจริญสติ เพราะสติเป็นอนัตตา เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วปรับ

ปรุงตัวเองใหม่ แล้วเข้าใจว่าเป็นธรรมทุกอย่างเป็นอนัตตา ฟังพระธรรมต่อไป เพราะ

ไม่มีใครที่จะไปเจริญสติ อนัตตา สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
วันใหม่
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 12

การอบรมสมถภาวนาเป็นเรื่องของปัญญา ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ใดก็ตามในอารมณ์ 40 ต้องมีปัญญาจึงเจริญได้ สมถคือขณะที่เป็นกุศล เช่น ขณะที่มีเมตตา หวังดี แต่เมื่อเป็นสมถภาวนา ภาวนาคือทำให้มีทำให้เจริญมากขึ้น สมถภาวนาคือการอบรมเจริญกุศลประเภทนั้นให้เจริญมากขึ้น มั่นคงติดต่อกันไป ซึ่งการทำเช่นนั้นจะต้องมีปัญญาคือมีปัญญารู้ว่าขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล รู้สภาพจิตนั้น เพราะเมื่อไม่รู้ว่าขณะใดเป็นกุศล ก็ไม่สามารถอบรมเจริญกุศลให้มั่นคงติดต่อกันได้

ยกตัวอย่างเช่น เมตตาเมื่อเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ยังไม่ใช่สมถภาวนา เพราะ

ยังไม่มีปัญญาที่จะอบรมให้เกิดติดต่อกันไป ซึ่งผู้ที่จะอบรมเจริญสมถภาวนา ต้อง

แยกออกคือรู้ลักษณะของเมตตาว่าเป็นอย่างไร จึงอบรมเจริญเมตตาเป็นสมถภาวนา

ได้ ไม่เช่นนั้นก็จะปนระหว่างอกุศลที่เป็นโลภะและเมตตาได้ ดังนั้นการจะได้ฌานก็

ต้องมีความเห็นถูกมีปัญญาเบื้องต้นตามที่กล่าวมาซึ่งไม่ใชเรื่อง่ายเลย สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
พุทธรักษา
วันที่ 29 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 14

ขอเรียนถามดังนี้ค่ะ คือประโยคที่ว่า ปัญญารู้ว่าขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็น

อกุศลนั้น ดิฉันจะได้ยินบ่อยมากจากคำบรรยายของท่านอาจาย์ และในความเป็นจริง

แล้ว รู้กุศล อกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ยากหรืออย่างไรคะ ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่เกิด

กับตัวเองเพื่อให้ท่านพิจารณานะคะ ขับรถเฉี่ยวลูกแมวในบ้านโดยไม่ทราบว่าแมวอยู่ตรงนั้น พอเห็นแมวกระโดดออกมาจากใต้ท้องรถ ดิฉันตกใจมาก มือสั่น แล้วรีบให้ รถมอร์เตอร์ไซค์ เอาแมวไปที่โรงพยาบาลสัตว์ทันที หลังจากที่รู้ว่า แมวปลอดภัย ดิฉันโล่งใจมาก คอยดูแลป้อนยา เป็นอย่างดี

ภายหลังมาพิจารณาจิตตัวเองว่า เราเป็นคนดีมีเมตตาต่อสัตว์จริงหรือ ตอบตัว

เองว่าไม่จริง ที่จริงคือกลัวแมวบาดเจ็บแล้วตายแล้วเราจะบาป กลัวตกนรกเพราะฆ่า

สัตว์ ที่จริงแล้ว รักตัวเองก่อน ความสงสารมาทีหลัง ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ที่ยังไม่ได้เริ่ม

ฟังธรรม ดิฉันคงนั่งอิ่มบุญ อยู่นานว่าเรานั้นมีความกรุณาต่อสัตว์โลกเหลือเกิน เช่น

นี้เรียกได้ว่า รู้กุศล อกุศลได้ไหมคะ ขอเรียนถามค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
วันใหม่
วันที่ 29 ส.ค. 2552


อิทมฺปิ พุทฺเธ รัตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลายเรียนความเห็นที่ 16

การรู้กุศลหรืออกุศล คือรู้ตัวสภาพจิตที่เกิดในขณะนั้น ไม่ใช่การนึกถึงเรื่องราว

ของตัวสภาพธรรมที่ดับไปนานแล้ว เพราะไม่มีลักษณะของสภาพธรรมที่ให้รู้ ดังนั้น

การรู้ลักษณะของกุศลและอกุศลคือรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะที่เกิดขึ้น ด้วยสติ

และปัญญาในขณะนั้น ซึ่งถ้าเป็นเรื่องราวที่ยาวและผ่านไปนานแล้ว เราก็คิดเอา

เองว่าขณะกรุณาเป็นกุศล ขณะกลัวเป็นอกุศล แต่รู้ตัวลักษณะของสภาพธรรมที่เป็น

กุศลขณะกรุณา สงสารในขณะนั้นไหม หรือรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอกุศล ใน

ขณะที่เกิดความกลัวในขณะนั้นไหม

การอบรมสมถภาวนา จึงต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นกุศลหรืออกุศล

โดยไม่ใช่การจำชื่อหรือเรื่องราว แต่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นกุศลจริงๆ ว่ามี

ลักษณะอย่างไร เมื่อมีปัญญาแยกออกรู้ลักษณะของกุศล จึงสามารถระลึกตัวสภาพ

ธรรมที่เป็นกุศลบ่อยๆ กุศลจึงเกิดต่อๆ กันได้บ่อยขึ้นจนแนบแน่น จนสามารถได้ฌาน

ซึ่งถ้าเรานึกถึงเรื่องราวขณะเป็นกุศล กุศลก็ไม่เจริญขึ้นต่อเนื่องเพราะไม่ได้ระลึกรู้ตัว

ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นกุศล สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 17

การระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้นว่าเป็นกุศล อกุศล เช่นนี้คือ

การเจริญสติขั้นต้นใช่ไหมคะ เหตุการณ์ที่ยกตัวอย่างไปนั้น หมายถึงว่า ดิฉันไม่ได้

ระลึกถึงสภาพธรรมในขณะนั้นเลย ทั้งๆ ที่มีจิตที่เป็นกุศล อกุศล เกิดขึ้นมากมาย

เมื่อไม่ได้ระลึกย่อมหมายความว่า ดิฉันไม่ได้รู้ กุศล อกุศล ในขณะที่สภาพธรรมเกิด

และในการเจริญสมถภาวนานั้น ถ้าไมรู้สภาพธรรมที่เป็นกุศล หรือ อกุศลในขณะนั้น

อาจทำให้หลงทางและหลงผิด เป็นเช่นนั้นหรือไม่ ขอเรียนถามค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
wannee.s
วันที่ 29 ส.ค. 2552
ถ้าไม่รู้ว่าขณะใดเป็นกุศลหรือขณะใดเป็นอกุศล ก็ไม่สามารถเจริญสมถภาวนาได้ค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
petcharath
วันที่ 29 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
tegg2008
วันที่ 29 ส.ค. 2552

สาธุ

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
วันใหม่
วันที่ 29 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 18

ถ้าไม่รู้ลักษณะของกุศลและอกุศล ย่อมสำคัญผิดคิดว่าอกุศลเป็นกุศล จึงเจริญ

อกุศลเป็นหนทางที่ผิด ไม่ใช่การอบรมสมถภาวนา เป็นมิจฉาสมาธิ ดังเช่น สำคัญว่า

จิตอิ่มเอิบเพราะโลภะเป็นกุศล เป็นต้น จึงพยายามให้จิตอิ่มเอิบบ่อยๆ แล้วเข้าใจว่าเป็น

การอบรมสมถภาวนา สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 19

ถ้าไม่รู้ว่าขณะใดเป็นกุศล และ ขณะใดเป็นอกุศล แล้วยังคงจะเจริญสมถภาวนา จะมีผลอย่างไรคะ ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
วิริยะ
วันที่ 30 ส.ค. 2552

ขอบคุณความเห็นที่ 19 ขอบคุณความเห็นที่ 22

เริ่มกระจ่างขึ้นมาระดับหนึ่ง แสดงว่า การรู้กุศล อกุศล สำคัญเช่นนี้เอง แต่ยังมี

ประเด็นที่อยากเรียนถาม คือ ที่ท่านได้กล่าวในความเห็นที่ 14 ว่า "เมตตาที่เกิดขึ้น

ในชีวิตประจำวัน ยังไม่ใช่สมถภาวนา เพราะยังไม่ปัญญาที่จะอบรมให้เกิดติดต่อกันไป"

และได้กล่าวในความเห็นที่ 17 ว่า "เมื่อมีปัญญาแยกออก รู้ลักษณะของกุศล จึง

สามารถระลึกตัวสภาพธรรมที่เป็นกุศลบ่อยๆ กุศลจึงเกิดต่อๆ กันได้บ่อยขึ้น จนแนบ

แน่น จนสามารถได้ฌาณ"

อยากเรียนถามว่า ลักษณะที่ว่าเกิดบ่อยๆ และเกิดติดต่อกันไป คือเช่นไรคะ ถ้า

เป็นการเจริญอานาปานสติ อาจจะยังพอเข้าใจได้ แต่การเจริญเมตตา ที่เกิดติดต่อกัน

ไปนั้น ยังไม่เข้าใจค่ะ

ขอเรียนถามเพื่อเป็นความรู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
wannee.s
วันที่ 30 ส.ค. 2552

ถ้าไม่รู้ว่าขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล แล้วยังเริญสมถภาวนา ผลก็คือ

ความไม่รู้ เพราะไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา ส่วนการเจริญเมตตาที่ต่อเนื่อง ก็คือ

เมตตาเกิดบ่อยๆ หรือการเจริญเมตตาบ่อยๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
วันใหม่
วันที่ 30 ส.ค. 2552


อิทมฺปิ พุทฺเธ รัตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย

เรียนความเห็นที่ 24

ขณะที่เมตตาเกิดขึ้นก็ดับไป ไม่ได้เกิดขึ้นติดต่อกันไปในชีวิตประจำวัน ผู้ที่มี

ปัญญารู้ลักษณะของเมตตาว่าเป็นอย่างไร จึงนึกถึงอารมณ์คือลักษณะที่เป็นกุศลของ

เมตตาที่เกิดขึ้นขึ้นบ่อยๆ กุศลก็เกิดต่อเนื่องกันไป จะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเข้าใจลักษณะ

ของสภาพธรรมที่เป็นกุศลที่มีจริงในขณะนี้ แต่ขอเรียนถามว่า ที่กล่าวในความเห็นที่

24 ที่ว่าถ้าเป็นการเจริญอานาปานสติ อาจจะยังพอเข้าใจได้ เข้าใจในเรื่องอานา

ปานสติว่าอย่างไร พอเข้าใจได้อย่างไร ขอร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
วิริยะ
วันที่ 31 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 26

ก่อนหน้าที่จะมาศึกษาพระธรรม ได้เคยนั่งสมาธิและเดินจงกรม เวลาที่จิตตั้งมั่น

ดิ่งลึกติดต่อกันไป ดิฉันเข้าใจว่า นั่นคือการต่อเนื่อง เวลาเดินจงกรมก็เช่นเดียวกันค่ะ

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ได้เรียนถามว่า การเจริญเมตตาในชีวิตประจำวันที่เกิดต่อเนื่องกันนั้น

มีลักษณะเช่นไร เพราะคิดแบบตรงๆ แบบผู้ที่ไม่รู้น่ะค่ะว่า เมตตาแล้วก็จบแล้วจะต่อเนื่องอย่างไร เป็นเช่นนั้นน่ะค่ะ ปัจจุบันนี้ไม่ได้นั่งสมาธิและเดินจงกรมแล้ว เพราะมีจิตคิดว่า ถ้ายังไม่เข้าใจว่า การเจริญสมถภาวนาที่ถูกต้อง เป็นเช่นไร ก็จะไม่นั่ง เพราะว่า กลัวการเห็นผิดและปฏิบัติผิด

และปัจจุบันก็กำลังฟังหัวข้อสมภถาวนาอยู่ เป็นรอบที่สอง เพราะครั้งแรกที่ฟัง

ไม่เข้าใจ และเครียดเหลือเกิน อีกทั้งเพื่อนก็บอกว่า อย่าละทื้งการนั่งสมาธิ ฝึกเอา

ไว้จะได้เป็นพละ จึงมีความสับสนอยู่ค่ะ ขอเรียนมาเพื่อให้ท่านได้ให้คำแนะนำด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
วันใหม่
วันที่ 31 ส.ค. 2552

อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลายเรียนความเห็นที่ 27

จากที่คุณไปนั่งและเข้าใจคำว่าต่อเนื่องกันไป คือ มีจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้น ซึ่ง

การที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ ไม่ได้หมายความว่าจิตจะต้องเป็น

กุศล (สมถภาวนา) เพระสมาธิคือความตั้งมั่นหากศึกษาแล้วจะเข้าใจได้คือเกิดกับจิตที่

เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ ดังนั้นขณะที่จดจ้องอยู่กับลมหายใจ มีความต้องการที่จะ

จดจ้องซึ่งขณะนั้นเป็นโลภะที่ต้องการจะจดจ่อยู่ที่ลมหายใจ แต่ขณะนั้นไม่ได้มีปัญญา

รู้อะไรเลย เพียงแต่ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น จึงเป็นการต่อเนื่องกันไปในฝ่ายอกุศลที่เป็น

มิจฉาสมาธิ ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากปัญญาความเข้าใจถูกขั้นการฟังเสียก่อนไม่ว่าจะทำ

เรื่องอะไร

ส่วนที่คุณเข้าใจว่าต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนนั้นเป็นการถูกต้อง ไม่ใช่ไปทำโดย

เขาบอกให้ทำก็ทำ โดยไมได้มีความเข้าใจอะไรเลย ดีแล้วที่ไม่ทำตามเพื่อนที่เพื่อน

แนะนำให้นั่งต่อ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
วิริยะ
วันที่ 1 ก.ย. 2552

ขอขอบคุณและอนุโมทนาความเห็นที่ 28 ค่ะ อยากเรียนถามต่ออีกสักนิดค่ะ ว่า

การนั่งสมาธิเพื่อให้จิตตั้งมั่น และ การเจริญสมถภาวนา สามารถบอกได้ไหมคะว่า เป็น

คนละเรื่องกัน และการเจริญสมถภาวนานั้น ต้องเจริญอารมณ์ที่เป็นกุศลล้วนๆ ซึ่งยาก

ที่จะปฏิบัติด้วยเหตุที่ว่า ยังไม่รู้ว่า อารมณ์ที่เป็นกุศลที่มีความสงบนันเป็นเช่นไร เพราะ

ในชีวิตประจำวันนั้น อกุศลเกิดบ่อยกว่ากุศล เป็นเช่นนั้นหรือไม่ ขอเรียนถามค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
วันใหม่
วันที่ 1 ก.ย. 2552

อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย

เรียนความเห็นที่ 29

การนั่งสมาธิเพียงแค่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง โดยไม่รู้ลักษณะ

ของกุศลกับในเรื่องสมถภาวนาที่มีปัญญาความเข้าใจถูก รู้ว่าขณะใดเป็นกุศล อกุศล

จึงอบรมเจริญสมถภาวนาจึงต่างกันสิ้นเชิง ดังนั้นการนั่งสมาธิเพียงจิตตั้งมั่นแต่ปัญญาไม่รู้อะไร จะกล่าวว่าเป็นการอบรมสมถภาวนาไมได้เพราะเจริญอกุศลอยู่ การอบรม

สมถภาวนาจึงเป็นสิ่งที่ยากเพราะเป็นเรื่องของปัญญาอย่างแท้จริง เพราะต้องรู้ว่าขณะ

ใดเป็นกุศ รู้ลักษณะของสภาพกุศลและยังต้องมีปัญญาอีกว่าจะอบรมให้กุศลเกิดต่อ

เนื่องอย่างไร

อยากจะแนะนำว่า ควรอบรมเข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้ (วิปัสสนา) อกุศลมีจริง

ควรรู้ว่าเป็นธรรม กุศลมีจริง ควรรู้ว่าเป็นธรรม โดยอาศัยเบื้องต้นคือการฟังธรรมให้

เข้าใจโดยเฉพาะในเรื่องธรรมคืออะไร เข้าใจพื้นฐานให้ถูกต้อง พื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ

หากเข้าใจพื้นฐานถูกแม้แต่คำว่าธรรม ก็จะทำให้อบรมปัญญา สามารถดับกิเลสได้

ส่วนสมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้เลย สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
วิริยะ
วันที่ 1 ก.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 30

ดิฉันจะทำตามที่ท่านได้บอกมาคือ ฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้องเสียก่อน

ขอบพระคุณที่ท่านได้ให้ความรู้และคำแนะนำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
tegg2008
วันที่ 20 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
เมตตา
วันที่ 21 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
phawinee
วันที่ 9 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ