มหากุศลจิต 8 ดวง

 
วิริยะ
วันที่  27 ส.ค. 2552
หมายเลข  13366
อ่าน  2,936

เรียนถามค่ะว่า ในมหากุศลจิต 8 ดวง มีสี่ดวงที่เป็น ญาณวิปยุตต ไม่ประกอบด้วยปัญญา อยากทราบว่า คำว่า ไม่ประกอบด้วยปัญญานั้น หมายถึงโมหะจิต ใช่หรือไม่ ขอเรียนถามเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหัวข้อสมถภาวนาต่อไปค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 28 ส.ค. 2552

ควรทราบว่าสภาพของจิตต่างกันหลายประเภท บางประเภทมีปัญญาเกิดร่วมด้วยบางประเภทไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ประเภทที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มี ไม่มีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็มี ในมหากุศลญาณวิปยุตนั้นไม่ได้หมายถึงมีโมหะ แต่เพราะไม่ประกอบด้วยปัญญา จึงเป็นญาณวิปยุต และเพราะเป็นโสภณจิต ไม่มีอกุศลธรรมเกิดร่วมด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

ขอเรียนถามความเห็นที 1 ต่อค่ะว่า มหากุศลญาณวิปยุต 4 ดวง เป็นโสภณจิตไม่มีอกุศลธรรมเกิดร่วมด้วย หมายถึง ไม่มีโลภะ ไม่มี โทสะ เท่านั้น เป็นเหตุที่ดีที่เกิดร่วมด้วยจึงเป็นโสภณจิต เพียงแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ใช่หรือไม่คะ แต่ถ้าเป็นญาณสัมปยุต จะมีเหตุที่ดีครบทั้งสามเหตุคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ถูกต้องไหมคะ แล้ว อโมหะใน ญาณวิปยุต หายไปไหน กรุณาอธิบายด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
hadezz
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Pongpat
วันที่ 28 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่สอง

โสภณจิตทั้งหมดไม่มีอกุศลธรรมใดๆ เกิดร่วมด้วยเลยและญาณสัมปยุตมีโสภณเหตุทั้งสาม ญาณวิปยุตไม่มี อโมหะเพราะอโมหเหตุ คือปัญญาเจตสิกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 28 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 5

ดิฉันจะยึดคำนี้ไว้ค่ะว่า มหากุศลจิตเป็นโสภณจิตทั้งหมด จึงไม่อกุศลธรรมใดๆ เกิดร่วมด้วย มิฉะนั้นจะสับสน เพราะคอยแต่จะคิดว่า ญาณวิปยุต หมายถึง ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ต้องหมายความว่า มีโมหเจตสิก

เมื่ออโมหเหตุ คือปัญญาเจตสิก อยากทราบว่า การเจริญสมถภาวนาต้องเป็นจิตที่เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตเท่านั้น หมายถึงทั้ง 4 ดวง หรือไม่ เพราะ ยังมีความต่างที่เวทนาและ การชักจูง ขอเรียนถามค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 29 ส.ค. 2552
ถูกต้องครับ ภาวนากุศลทั้งหมด จิตจะต้องประกอบด้วยปัญญาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 7

สังเกตว่า การเจริญกุศลทุกอย่าง รวมทั้งการภาวนา จะไม่พ้นคำว่าปัญญา ราวกับเป็นเครื่องวัดกุศลทุกชนิดที่กำลังเจริญอยู่ว่า จะนำไปในทางใด ถ้าเป็นเช่นนั้น ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ด้วยการฟังพระสัทธรรมที่ถูกต้องแล้วนำมาพิจารณา ใช่ไหมคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ไม่ระบุ
วันที่ 29 ส.ค. 2552

ในมัชฌิมนิกาย มีกล่าวถึง วิปัสสนาภาวนา ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ในกาลที่ชำนาญแล้ว ก็มีครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 29 ส.ค. 2552
ทาน ศีล ไม่ประกอบด้วยปัญญาได้ แต่สมถภาวนาและสติปัฏฐานต้องประกอบด้วยปัญญา
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ups
วันที่ 30 ส.ค. 2552

เรียนอาจารย์ prachern.s

วิปัสสนาภาวนา ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญามีด้วยหรือครับ

ช่วยกรุณาอธิบาย ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 30 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 10 ค่ะ

เข้าใจว่า คำว่า ปัญญา เป็นคำที่สำคัญมากจริงๆ เคยคิดเช่นกันว่า ผู้ที่ทำทาน และประพฤติอยู่ในศีล ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา สุดท้ายแล้ว ผู้นั้นจะได้รับอะไร เพราะตั้งแต่เริ่มศึกษาพระธรรมซึ่งเริ่มด้วยการฟังนั้น จะได้ยินคำว่า ปัญญา ประกอบอยู่ในหลายๆ เรื่อง หลายๆ หัวข้อ เช่นในหัวข้อเรื่อง บารมี 10 เรื่องสมถภาวนา เป็นต้น เข้าใจว่า ถ้าไม่ประกอบด้วย ปัญญา ย่อมหมายถึง ไม่ได้เป็นไปในการละ และจะไม่พ้นวัฏฏะ เป็นเช่นนั้นหรือไม่

ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prachern.s
วันที่ 31 ส.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ ๙ และ ๑๑

ในบางครั้งท่านกล่าวรวมๆ ว่าภาวนากุศลที่เป็นกามาวจรได้แก่ มหากุศลทั้ง ๘ ดังนี้ก็มี คือ มีมหากุศลญาณวิปยุตเกิดสลับได้ แต่ทั้งหมดเรียกว่า ภาวนา ครับ แต่ถ้าเจาะจงจริงๆ แยกเป็นขณะจิตก็ต้องมหากุศลญาณสัมปยุต

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ไม่ระบุ
วันที่ 31 ส.ค. 2552

บางอย่างทำบ่อยและชิน ก็จะไม่ประกอบด้วยปัญญา ครับ เหมือนพระอรหันต์ที่มีกิริยาญาณวิปปยุตไว ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ก.ย. 2552

เรียนถามอาจารย์ประเชิญ

อยากทราบว่า กามาวจรกุศลจิต กับ มหากุศลจิต เหมือนกันหรือไม่คะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
prachern.s
วันที่ 15 ก.ย. 2552

ถูกต้องครับ กามาวจรกุศลจิต กับ มหากุศลจิต เหมือนกัน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ