อธิบายคำว่าจิต [ธรรมสังคณี]

 
Sam
วันที่  31 ส.ค. 2552
หมายเลข  13419
อ่าน  2,319

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๒๘

อธิบายคำว่าจิต

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมคิด คือ ว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศลฝ่ายโลกีย์ อกุศลและมหากิริยาจิต จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี. ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติอันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็เมื่อว่าโดยลักษณะเป็นต้น จิตมีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะ (วิชานนลกฺขณํ) มีการเป็นหัวหน้าเป็นรส (ปุพฺพงฺคมรสํ) มีการเกี่ยวข้องกันเป็นปัจจุปัฏฐาน (สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ) มีนามรูปเป็นปทัฏฐาน (นามรูปปทฏฺฐานํ) จริงอยู่ จิตที่เป็นไปในภูมิ ชื่อว่า ไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์เป็นลักษณะก็หาไม่ จิตทั้งหมดมีการรู้แจ้งอารมณ์ทั้งนั้น. ก็เพ่งถึงทวารแล้ว จิตก็เป็นหัวหน้า คือ มีปกติเที่ยวไปก่อนในที่เป็นที่กระทำให้แจ่มแจ้งซึ่งอารมณ์ จริงอยู่ บุคคลย่อมรู้แจ้งรูปารมณ์อันเห็นด้วยจักษุ ด้วยจิตนั่นแหละ ฯลฯ ย่อมรู้แจ้งธรรมารมณ์ อันรู้แล้วด้วยใจ ด้วยจิตนั่นแหละ เหมือนอย่างว่า


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ