ความเคารพ [มังคลัตถทีปนีแปล]

 
Sam
วันที่  31 ส.ค. 2552
หมายเลข  13425
อ่าน  2,105

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๔ - หน้าที่ 2

ภาวะแห่งบุคคลผู้หนัก ชื่อว่า คารวะ ได้แก่ การทำให้หนัก ในคารวบุคคลมีมารดาและบิดาเป็นต้นเหล่านั้น. เหตุนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงกล่าวว่า "การทำให้หนัก คือความเป็นผู้มีความเคารพ ตามสมควร ในบุคคลเป็นต้นว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ พระสาวกของพระตถาคต อาจารย์ อุปัชฌายะ มารดาบิดา พี่ชาย พี่หญิง ผู้ควรแก่การประกอบความทำให้หนัก ชื่อว่า ความเคารพ" ความเคารพนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งอิฏฐผลมีไปสุคติเป็นอาทิ. ก็ความที่อคารวะนั้นไม่เป็นมงคลเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ด้วยการตรัสความที่คารวะนั้นเป็นมงคล.

บาลีจูฬกัมมวิภังคสูตร ในจตุตถวรรค อุปริปัณณาสก์. มาณพ ส่วนสตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้เย่อหยิ่ง ไม่เป็นผู้ถือตัว ย่อมกราบไหว้ บุคคลผู้ที่ตนควรกราบไหว้ ย่อมลุกรับบุคคลผู้ที่ควรลุกรับย่อมให้อาสนะ แก่บุคคลผู้ควรแก่อาสนะ ย่อมให้ทาง แก่บุคคลผู้ควรแก่ทางย่อมสักการะ บุคคลผู้ที่ควรสักการะ ย่อมทำความเคารพ บุคคลผู้ที่ควรทำความเคารพ ย่อมนับถือบุคคลผู้ที่ควรนับถือ ย่อมบูชา บุคคลผู้ที่ควรบูชา. บุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันตนให้บริบูรณ์แล้วอย่างนั้น สมาทานแล้วอย่างนั้น หากเขาจะไม่เข้าถึงฯ ล ฯ เพราะกายแตกไซร้ ถ้าว่า เขามาสู่ความเป็นมนุษย์ เกิดในที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นผู้มีสกุลสูงในที่นั้นๆ มาณพ ข้อที่บุคคลเป็นผู้ไม่เย่อหยิ่งไม่ถือตัว ฯ ล ฯ ย่อมบูชา บุคคลผู้ที่ควรบูชา เป็นปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อมีสกุลสูง " ดังนี้.

[๒๖๔] อีกอย่างหนึ่ง คารวะ ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุบรรลุความเป็นผู้ไม่เสื่อม (จากคุณมีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น) . เพราะเหตุนั้นเทพดาองค์ใดองค์หนึ่ง จึงกล่าวในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแห่งภิกษุ. ธรรม ๗ ประการนั้นเป็นไฉน? ธรรม ๗ ประการนั้น คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแห่งภิกษุ๑"ดังนั้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 3 ก.ย. 2552

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ