อุเบกขา ปล่อยวาง และว่าง หมายความว่าอย่างไร

 
audience
วันที่  15 มิ.ย. 2549
หมายเลข  1343
อ่าน  3,234

"ขอเป็นกำลังใจให้ สู้ต่อไป อย่าเพิ่งท้อ บางครั้งต้อง วางอุเบกขา ..ปล่อยวางในบางเรื่อง อย่าแบกไว้มาก หนัก วาง แล้วจะ ว่ า ง... " ได้ยินข้อความเช่นนี้ค่อนข้างบ่อย ถ้าทำได้ทุกคนก็คงไม่เป็นทุกข์ใจ แต่คงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในบังคบบัญชาของใคร จึงอยาก ขอความกรุณาให้ช่วยอธิบาย ว่าจะอุเบกขาอย่างไร จะปล่อยวางอย่างไร และว่างอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 มิ.ย. 2549

การปล่อยวาง การวางอุเบกขา หรือจิตจะว่างจากอกุศลเป็นเรื่องของปัญญาทั้งนั้น ถ้ายังเป็นอกุศลย่อมมีการยึดถือ และเป็นอุเบกขาที่ประกอบความไม่รู้ สำหรับพระอรหันต์เป็นผู้ที่ดับอกุศลได้ทั้งหมดแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปล่อยวาง (ปลงภาระ) วางเฉยต่ออารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง ๖ และเป็นผู้ที่ว่างจากอกุศลทั้งปวง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornchai.s
วันที่ 16 มิ.ย. 2549

อุเบกขาเวทนา เป็นความรู้สึกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่โทมนัสเวทนา (รู้สึกเศร้าใจ) ไม่ใช่โสมนัสเวทนา (รู้สึกสุขใจ) อุเบกขาเวทนาเกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับอกุศลจิตก็ได้ เนื่องจากไม่ใช่โทมนัส ไม่ใช่โสมนัส จึงรู้ได้ยากมาก ถ้าปัญญาไม่เกิด จิตขณะนั้นเป็นอกุศล ก็คิดว่าเป็นกุศล ชีวิตประจำวันของเราคุ้นเคยกับอุเบกขาซึ่งเกิดกับโลภะเป็นส่วนมาก ตั้งแต่เช้าตื่นมา อาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟัน ก็ทำไปด้วยโลภะที่เป็นอุเบกขาทั้งนั้น หรือถ้ารู้สึกสดชื่น กะปรี้กะเปร่า ก็เป็นโลภะที่เกิดกับโสมนัส เห็นฝุ่นนิดหน่อยก็เป็นโทสะ เป็นโทมนัสอีก สิ่งเหล่านี้เป็นอกุศลธรรมที่เบาบาง จนเราเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นปรกติ พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้เรารู้จักกับอกุศลธรรมในชีวิตประจำวันนี่เองแต่ไม่ได้ทรงสอนให้หลีกหนีจากอกุศลธรรมต่างๆ เหล่านี้ เพราะจะหนีอย่างไรก็หนีไม่พ้น

ถ้าวิปัสสนาปัญญาไม่เกิด สติปัฏฐานไม่เกิด ไม่มีทางที่จะดับกิเลสได้ ทรงสอนให้เห็นโทษของอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย เพราะอกุศลเล็กๆ น้อยๆ สามารถที่จะสะสมเป็นอกุศลที่ใหญ่ได้ ไฟที่หัวไม้ขีด สามารถเผาบ้านเผาเมืองได้ฉันใด อกุศลที่สะสมมาเรื่อยๆ เมื่อได้เหตุปัจจัย ก็ย่อมกระทำอกุศลกรรมได้ วันนี้ตบยุง ฆ่ามด วันหน้าก็ฆ่าคนได้ ตราบใดที่ยังไม่บรรลุเป็นพระโสดาบัน ปุถุชนทั้งหลาย ยังมีเหตุปัจจัยให้กระทำอนันตริยกรรมได้ทุกท่าน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ