หลับๆ ตื่นๆ ก็ไม่พ้นไปจากจิต
พื้นฐานพระอภิธรรม
อาทิตย์ ๒๖ ต.ค. ๕๑
อรวรรณ ถ้าอย่างนั้นก็มาสอดคล้องกับพระสูตรเมื่อวาน ที่ว่า ชำแรกกิเลส หมายความว่า เริ่มต้นจากการที่รู้และเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่มีหนทางอื่น ถ้ายังไม่รู้จักกิเลสก็เป็นไปไม่ได้ที่จะไปละหรือไปชำแรกกิเลส ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเหตุเป็นผล อย่างคนบางคนที่บอกว่า สนใจธรรม แสวงหาธรรม แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร แล้วจะไปหาเจอได้อย่างไร ซึ่งที่นี้จะให้ความชัดเจนตรงนี้มากว่า คือต้องรู้จักก่อนว่า “เห็น” นี้ รู้จักหรือยัง ได้ยินมีปรากฏอยู่นี่ ถ้าไม่รู้สิ่งเหล่านี้แล้วจะไปรู้อะไรก็ไม่มีอย่างอื่นนอกจากสิ่งเหล่านี้
อาจารย์ ทุกคนไม่มีข้อข้องใจ เรื่องกามแล้วใช่ไหมคะ ความใคร่ในสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเป็นโลกามิส พ้นไม่ได้เลย สิ่งที่มีจริงที่เป็นโลกที่ปรากฏทางตา เกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้น ขณะที่มีเวทนาความรู้สึกในสิ่งที่ปรากฏ โดยที่ก็เป็นอย่างนี้ทุกขณะที่มีการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด จะขาดเวทนาไม่ได้เลย ลืม “อาสวะ” เห็นไหมชื่อ “อาสวะ” มีเยอะ กล่าวถึงอาสวะ แต่ขณะนี้ “อาสวะ” คืออะไร ใครพ้นความติดข้องในรูป เสียง โผฏฐัพพะ บ้าง ตื่นมาก็ไม่พ้นเลยรูป นอกจากติดข้องในรูป เสียง โผฏฐัพพะ ยังต้องการมากกว่านั้นอีก ต้องสวยใช่ไหมคะตั้งแต่เช้ามานี้ ทุกอย่างก็ต้องดี แม้แต่อาหารในจานก็ต้องสวยมีใครหยิบผัก หยิบอะไร มาสุมๆ จะพอใจบ้างไหม หรือว่าต้องจัดให้ดูดี น่ารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ เป็นปลา เป็นผักเป็นอะไร ก็ต้องทำให้มากมายเลย นี่คือ “อาสวะ” หมายความว่าทันทีที่มีสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่รู้ แล้วติดข้องสะสมไป ทุกคนมีความยินดี พอใจ ในรูป เสียง ...โผฏฐัพพะ เร็วแสนเร็วมากมายก่ายกอง เป็น “อาสวะ” และ “อนุสัย” ไม่เกิด สิ่งใดที่เกิดแล้วเช่น โลภะดับแล้วจิตนั้นมีโลภะเกิดแล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดแล้วในจิตจะไม่หายไปไหน แต่สืบต่อในขณะต่อไปโดยเป็นเชื้อที่สะสมที่จะให้เกิด เมื่อมีการเห็น การได้ยินแล้วก็จะมีความพอใจ
เพราะฉะนั้น สิ่งที่สะสม ในขณะที่แต่ละขณะที่ไม่มีการเห็นการได้ยินพวกนี้ แม้มีก็ไม่ปรากฏ กำลังนอนหลับสนิท เหมือนกันทุกคน พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ปุถุชน ขณะนั้น ไม่มีธรรมอื่นนอกจาก ภวังคจิตคือจิตที่ต่างๆ กันไปหลากหลายมากที่ได้สะสมแล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสเลย มีกาม ความยินดีพอใจในรูป เสียง ....โผฏฐัพพะ เป็น “อนุสัย” สะสมอยู่ จึงทำให้มีการเห็น มีการได้ยิน เร็วแสนเร็ว เป็นโอกาสที่จะเกิดได้เมื่อไร เกิดขึ้นทันที เป็นอาสวะ” ซึ่งไม่รู้
เพราะฉะนั้น ให้รู้จักธรรมที่กล่าวถึง ที่ฟังให้ละเอียดว่าขณะนี้เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น หนทางที่จะชำแรก หรือว่าดับกิเลสเป็นสมุจเฉท จะต้องเป็นปัญญาที่รู้จริงๆ ค่อยๆ รู้ในสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏนี้เอง ถ้าคลาดเคลื่อนไปจากนี้ ก็ไม่มีทางที่จะรู้สภาพธรรมได้ ไม่สามารถที่จะได้ดับกิเลสได้
ด้วยเหตุนี้ การฟังเข้าใจขึ้นตามลำดับ มีใครจะลืมบ้างไหม ในสิ่งที่กำลังเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ใครไม่เป็นอย่างนี้บ้าง นี่คือธรรม ไม่ต้องใช้คำอะไรก็ได้ แต่ว่าให้เข้าใจ แต่ว่าที่ใช้ก็เพื่อที่จะให้เข้าใจสิ่งที่มีที่หลากหลายอย่าง เวลานี้ไม่ต้องพูดอะไรเลย ก็ธรรม แล้วจะรู้ว่าธรรมไหน จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คำ เพื่อที่จะให้เข้าใจความหลากหลายของสภาพธรรมนั้นเองแต่ไม่ต้องไปกังวลหรือไปติดในภาษาบาลี ถ้ามีความเข้าใจว่าขณะที่ไม่มีการเห็น การได้ยิน ...การคิดนึก ก็ยังมีจิต แล้วจิตทำอะไร เกิดมาทำอะไร ก็คือ เกิด - ดับ ดำรงภพชาติ ใช้คำว่า “ภวังค์” ต่อไปนี้พอได้ยินคำว่า “ภวังค์” ถ้าเข้าใจถูกตามความเป็นจริง หมายเฉพาะจิตเจตสิก ซึ่งไม่มีการเห็นการได้ยิน ...การคิดนึก และไม่ได้หมายถึงจิตขณะแรกซึ่งเกิดดับสืบต่อจากชาติก่อน เพราะว่ากิจของจิตที่เป็นขณะแรกของชาตินี้ซึ่งเกิดสืบต่อจากชาติก่อนนี้ไม่ใช่ภวังค์ ยังไม่มีจิตอะไรเลยทั้งสิ้นนอกจากจิตซึ่งเกิดต่อจากจุติจิตของชาติก่อน
เพราะฉะนั้น จิตนั้นเป็นผลของกิจธุระ ทำให้เกิดต่อจากจุติจิตของชาติก่อน จึงเป็นปฏิสนธิจิต ทำปฏิสนธิกิจ เพราะว่าเป็นผลของกิจธุระที่ทำให้เกิดต่อจากจุติจิต และหลังจากนั้นแล้ว เปลี่ยนไม่ได้เลย จะต้องเป็นผลของกิจธุระนั้น ที่ทำให้ภวังคจิตเกิดขึ้น เกิด - ดับสืบต่อดำรงภพชาติ ระหว่างที่ยังไม่เห็น ไม่ได้ยิน--ไม่ได้คิดนึก อาจจะมีชื่อภวังค์ในหนังสือหลายเล่ม ซึ่งคนอื่นนักจิตวิทยาหรือใครก็ตามคิดเองเขียนเอง แต่ว่าถ้าตามความเป็นจริง ต้องเข้าใจความหมายของคำนี้ ภว+อังคะ องค์ของภพ สภาพธรรมซึ่งดำรงภพชาติ จนกว่าจะถึงความสิ้นสุดของความเป็นบุคคลนี้ ในระหว่างที่ยังไม่ได้เห็น ยังไม่ได้ยินพวกนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ถ้าได้ยินแล้วเข้าใจแล้วจะต้องท่องหรือเปล่า มีใครไปท่องว่าภวังค์คืออะไรหรือเปล่า ท่องไปแล้วมีประโยชน์อะไร ถ้าไม่รู้จักว่าขณะไหนเป็นภวังค์ เป็นจิตซึ่งไม่ใช่วิถีจิต เพราะไม่มีการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด แต่ขณะใดก็ตามที่มีการรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ไม่ใช่ภวังค์ ไม่ได้ทำกิจของภวังค์ จะไปพบคำนี้ในหนังสือเล่มไหนก็ตาม ก็แล้วแต่ผู้เขียนจะเข้าใจธรรมระดับไหน แต่ตามความเป็นจริงศัพท์นี้ คำนี้คือสภาพของนามธรรมคือ จิต เจตสิก ซึ่งเกิดต่อจากปฏิสนธิแล้วก็ทำภวังคกิจ แล้วก็จิตประเภทเดียวกันซึ่งเป็นผลของกิจธุระนี้ จะทำกิจครั้งสุดท้ายขณะสุดท้ายคือทำจุติกิจ เคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ ไม่มีทางที่ทรัพย์สินเงินทองใดๆ จะไปซื้อได้ ขอผลัดขอเปลี่ยนให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้
นี่แสดงให้เห็นความเป็นธรรมไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้เลย