ขณะที่นั่งแล้วเมื่อยปรมัตถ์อะไรปรากฏครับ

 
bom8813
วันที่  6 ก.ย. 2552
หมายเลข  13464
อ่าน  1,099

ขณะที่นั่งแล้วเมื่อย ลักษณะที่เมื่อย คือปรมัตถ์อะไรครับ

ขณะรูปกระทบกายปสาท สังเกตว่า มีแข็งมากกับแข็งน้อย ที่ว่าอ่อนคือแข็งน้อย หรือ เปล่าครับ เย็นร้อน อ่อนแข็งพอรู้จัก แต่ ตึงใหวผมไม่รู้จัก ช่วยยกตัวอย่างให้ด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ลักษณะเมื่อย เป็นความรู้สึกไม่สบายทางกาย เป็นปรมัตถธรรม คือเวทนาเจตสิก ขณะที่นั่ง แล้วเมื่อย กายกระทบกับโผฏฐัพพะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ว่าอ่อน ก็คือแข็งน้อยถูกแล้ว ส่วนลักษณะ ตึงหรือใหวในชีวิตประจำวันก็มีมาก เช่น เวลาหิ้วของหนัก หรือโหนบาเดี่ยว ที่แขนตึงไหมส่วนลักษณะไหว ก็คือ ขณะที่หายใจ ขณะที่กระพริบตา ขณะที่เดิน วิ่ง เป็นต้นครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
majweerasak
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ที่กายมีธรรมะเกิดดับ (อย่างรวดเร็ว) หลายอย่าง แต่มีโผฏฐัพพารมณ์ เพียงอย่าง

เดียวเท่านั้น ที่ปรากฎที่กาย (กายทวาร) ธรรมะนอกนั้นถึงจะเกิดที่กาย แต่ต้องรู้โดยมโน

ทวาร (ทางใจ) ในวาระต่อๆ มา แม้แต่เวทนาก็ปรากฎกับ มโนทวาร ไม่ปรากฎกับกายทวาร โผฏฐัพพารมณ์ มีลักษณะที่หลากหลาย หากมัวแต่ใส่ชื่อก็จะไม่ทันกับสภาว-ธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว

โผฏฐัพพารมณ์ มีลักษณะที่ปรากฎอย่างไร ก็รู้ตามเป็นจริงเช่นนั้น ไม่ต้องห่วงเรื่องชื่อ

เช่นเดียวกับขณะที่รู้รส มีเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ฯลฯ มากมายหลายอย่าง ทยอย เกิดดับ

สลับกันปรากฎ หากมัวใส่ชื่อ ก็ไม่ทันกับสภาวธรรมที่เกิดดับอย่างเร็ว ปรากฎอย่างไร เป็นจริงอย่างไร ก็รู้ตามอย่างนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 7 ก.ย. 2552

อยากให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ประกอบด้วยครับ

ปรมัตถธรรมปรากฎกับอะไร?

สภาพเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว ที่ปรากฎที่กายนั้น ไม่ได้ปรากฎที่กายของเรา

และไม่ใช่ที่แขน ขา หลัง ท้อง ฯลฯ ครับ แต่ปรากฎที่กายปสาทรูป โดยมีสภาพ

ธรรมหนึ่งเกิดขึ้น รู้โผฏฐัพพารมณ์เหล่านั้น ซึ่งจะเรียกว่าสภาพรู้ จิต หรือกาย-

วิญญาณจิตก็ได้ ทั้งกายปสาทรูปและกายวิญญาณจิตนั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

บังคับให้เป็นไปตามความต้องการไม่ได้ เพราะต้องเป็นไปตามปัจจัยทั้งหลายที่เป็น

เหตุให้กายวิญญาณจิตเกิดขึ้นรู้โผฏฐัพพารมณ์ที่กายปสาทรูปนั้น

รู้ปรมัตถธรรมได้เมื่อไร?

รู้ปรมัตถธรรมได้ ในขณะที่ปรมัตถธรรมนั้นกำลังปรากฎให้จิตรู้ได้ครับ หากขณะนี้ไม่

เมื่อย ก็รู้ลักษณะเมื่อยไม่ได้ และหากขณะนี้สติพร้อมด้วยปัญญาไม่เกิด แม้จะกำลัง

เมื่อยอยู่ ก็รู้ความเมื่อยนั้นโดยความเป็นปรมัตถธรรมไม่ได้ครับ (คิดเพียงว่าเราเมื่อย

หรือเราเมื่อยแขน เมื่อยขา เมื่อยหลัง ฯลฯ)

ปรมัตถธรรมปรากฎอย่างไร?

แม้จะทรงแสดงไว้ว่า สภาพที่ปรากฎที่กายคือเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง และตึง-ไหว

แต่ในขณะที่ปรมัตถธรรมปรากฎที่กายนั้น เป็นสภาพที่เพียงปรากฎ และเป็นอย่างนั้น

คือเป็นอย่างที่ปรากฎที่กายนั่นเอง (ไม่ได้ปรากฎทางทวารอื่น) โดยไม่ต้องใส่ชื่อ

หรือหาคำมาอธิบายเลยครับ เพราะขณะนั้นปรมัตถธรรมกำลังปรากฎให้สติระลึกศึกษา

ลักษณะของเขาจริงๆ ไม่ใช่เพียงการคิดถึงชื่อและเรื่องราวครับ

ขณะนี้กำลังมีปรมัตถธรรมปรากฎที่กาย ลองพิจารณาลักษณะที่กำลังปรากฎดูสิครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
majweerasak
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ถ้าระลึก ศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฎโดยละเอียดแล้ว จะทราบได้ว่า

(กว่าจะ) รู้ว่าเมื่อยนั้น ประกอบไปด้วย การรู้โผฏฐัพพารมณ์หลายวาระ และมีโผฏฐัพพารมณ์หลายอย่างทยอยกันเกิดขึ้น ปรากฎและก็หมดไป

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันใหม่
วันที่ 7 ก.ย. 2552


อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย

ประเด็นจากกระทู้ มีสิ่งควรพิจารณาร่วมกันดังนี้

1.ลักษณะเมื่อยคือปรมัตอะไร

2.ร้อน อ่อนแข็งพอรู้จัก แต่ ตึงไหวผมไม่รู้จัก (เรื่องคำว่ารู้จักและไม่รู้จัก)

การอบรมสติปัฏฐานคือการอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริงที่เป็นปรมัตคือการรู้ความ

จริงที่มีในขณะนี้ที่กำลังปรากฎ เมื่อยมีจริง ปรากฎให้ รู้ เป็นความรู้สึก การอบรมสติ-

ปัฏฐาน ต้องมั่นคงเสมอว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติปัฏฐานก็เป็นอนัตตาที่จะเกิด

ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมหรือไม่ บังคับให้เกิดหรือไม่ให้เกิดก็ไมได้ แต่ที่สำคัญ

เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้ว ต่างกับขณะที่สติไม่เกิดอย่างไร นี่จะต้องเป็นปัญญาของผู้ที่

เกิดสติจริงๆ จึงสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสติเกิดและไม่เกิดได้

ดังนั้นสติปัฏฐานไม่ใช่เป็นอนัตตาเฉพาะตัวสติที่เกิดเท่านั้น แม้อารมณ์ของสติที่จะ

ระลึกรู้ก็เป็นอนัตตา สติจะเลือกระลึกรู้เฉพาะเมื่อยก็ไม่ได้ แล้วแต่สติจะเกิดระลึกรู้อะไร

สติปัฏฐานไม่ใช่การเจาะจง ไม่ใช่การคิดนึก แต่เป็นการรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่

มีจริงในขณะนี้ โดยไม่เลือกเจาะจงสภาพธรรมใดเพระเป็นหน้าที่ของธรรมไม่ไช่เรา

การรู้จักอ่อน แข็ง จึงไม่ใช่การรู้จัก โดยกายวิญญาณ ที่เกิดรู้โดยทั่วไป แต่เป็น

การรู้จักโดยสติปัฏฐานที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้น โดยรู้ว่าเป็น

ธรรมไม่ใช่เรา การรู้อย่างนี้ชื่อว่าเป็นการรู้จักสภาพธรรมที่เป็นอ่อน แข็งที่แท้จริง จึงจะ

เป็นการรู้จักด้วยปัญญานั่นเอง สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
bom8813
วันที่ 8 ก.ย. 2552

การเลือกระลึกรู้เฉพาะเจาะจงทางทวารใดทวารหนึ่ง มักจะเกิดขึ้นเสมอ
แต่การไม่เลือกเจาะจงสภาพธรรมใดเพราะเป็นหน้าที่ของธรรมไม่ไช่เราตามที่คุณวันใหม่บอก ผมแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ถูกต้อง แต่อยากทราบว่าขณะนั้นที่ไม่ถูกต้องมันเกิดอะไรขึ้นครับ และมีอะไรเป็นเหตุครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 8 ก.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันใหม่
วันที่ 8 ก.ย. 2552


อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลายเรียนความเห็นที่ 7

จากที่กล่าวว่า มีการเลือกระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมทางทวารใด ทวารหนึ่ง

เช่น เมื่อเห็นเกิดก็พยายามจดจ้อง ซึ่งไม่ถูกต้อง

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจว่า ไม่ถูกต้องเพราะอะไร เพราะขณะนั้นไม่ใช่สติที่เกิดแต่เป็น

โลภะที่มีความต้องการที่จะจดจ้องเลือกรู้ เมื่อเป็นโลภะจะถูกต้องไม่ได้

ส่วนที่คุณถามว่า เกิดจากเหตุอะไรนั้น ในการเลือกรู้ทวารใด ทวารหนึ่ง ก็เกิดจากที่

ยังมีกิเลสอยู่นั่นเอง โลภะเมื่อเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น ก่อนศึกษาธรรมก็มีโลภะในเรื่องต่างๆ

เมื่อศึกษาธรรมแล้วโดยเฉพาะในเรื่องของสติปัฏฐาน ก็มีเหตุปัจจัยให้โลภะเกิดขึ้น

เลือกที่จะรู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้น โดยไม่ใช่หน้าที่ของสติ จึงควรเข้าใจว่าเป็นธรรมดา

เพียงแต่ขอให้เข้าใจถูกว่า ขณะใดที่เลือกขณะนั้นผิด ย่อมจะเป็นปัจจัยให้สติเกิดได้

และต้องไม่ลืมอีกว่าขณะที่จดจ้องก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งคือโลภะ จนกว่าสติจะเกิดระลึกรู้จริง สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
bom8813
วันที่ 9 ก.ย. 2552


ต้องไม่ลืมอีกว่า ขณะที่จดจ้องก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งคือ โลภะ

ขออนุโมทนา คุณวันใหม่ และทุกท่านมากๆ ครับ ที่กรุณา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
bom8813
วันที่ 18 ก.ย. 2552

ขอถามเพิ่มเติมครับว่า ขณะที่เรารู้สึกถึงอิริยาบถนั่ง นอน ยืน นั่นคือเรารู้สภาวะ ตึง ใช่หรือไม่ครับ และขณะเดินหรือเคลื่อนไหวอวัยวะใดคือรู้ไหว ใช่หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
bom8813
วันที่ 18 ก.ย. 2552
ขอโทษครับที่ถามซ้ำเพราะ พี่ prachern.s ตอบแล้วที่ ความคิดเห็นที่ 1
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ