วิถีจิต - วิถีจิตแรกเป็นโลภมูลจิตทุกภพชาติ
พื้นฐานพระอภิธรรม
อาทิตย์ ๒๖ ต.ค. ๕๑
บุษกร มีความสงสัยคำว่า วิถีจิตแรกที่เกิดทางมโนทวาราวัชชนจิต ทำไมต้องเป็นโลภมูลจิตเกิดขึ้นทันทีละคะ
ธิดารัตน์ คงจะเป็นคำถามที่เมื่อวานนี้ที่ว่า จิตอะไรที่เกิดก่อนโลภะ พี่บุษกรก็ตอบว่า จิตที่เป็นมโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจอาวัชชนะทางมโนทวาร หรือว่าเกิดก่อนโลภชวนะ ทางปัญจทวารก็ทำโวฏฐัพพณะกิจ ทีนี้คำถามว่าทำไมต้องมีจิตดวงนี้ก่อนเพราะว่าจิตดวงนี้เป็นอเหตุกกิริยา และเป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ คือจิตที่เกิดขึ้นแล้วกระทำทางให้วิถีจิตเกิด ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโลภะ โทสะ โมหะ หรือกุศลจิตก็ได้ หรือเป็นมหากิริยาจิตของพระอรหันต์ก็ได้ แต่ที่ยกตัวอย่างโลภะ เพราะปกติในชีวิตประจำวันวันนี้นะคะ จะยินดีพอใจในอารมณ์ทุกประเภทเลยโลภะจะเกิดบ่อยติดข้องในทุกๆ อย่างก็เลยยกตัวอย่างโลภะ
อาจารย์ คุณบุษกร หมายความถึงในชาติหนึ่งๆ ใช่ไหมคะ
บุษกร ขณะที่เกิด
อาจารย์ หมายความถึงปฏิสนธิจิตเกิด แล้วต่อจากนั้นจะเป็นมโนทวารวิถีจิตซึ่งเป็นโลภมูลจิตทุกภพชาติ จะไม่เป็นวิถีอย่างอื่นเกิดได้เลย
บุษกร หมายความถึงปฏิสนธิจิตเกิดและดับไปแล้ว
อาจารย์ ต่อจากนั้นจะต้องเป็นภวังค์จิต จิตอื่นเกิดสืบต่อไม่ได้เลย หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับ ภวังค์จิตเกิดดับสืบต่อ ต่อจากนั้นมโนทวารวิถีจิตเกิด ไม่ใช่ปัญจทวารวิถี และเมื่อมโนทวารวิถีจิตเกิดนี้ โลภมูลจิตเกิดสืบต่อ ลองคิดดูนะคะ คุณบุษกรหมดโลภะ หรือยังค่ะ
บุษกร ... ยัง
อาจารย์ มากไหมคะ
บุษกร ... มากค่ะ
อาจารย์ โลภะในอะไร ... ทุกสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ไม่เห็นก็ยังคิด คิดมากว่าที่เห็นด้วยซ้ำไปแล้วก็มากกว่าที่ได้ยินด้วย มากกว่ากลิ่น มากกว่ารส ที่เกิดปรากฏจริงๆ ดับไปแล้วจริงๆ เป็นแต่ละทวารจริงๆ ก็เป็นโลกของความคิด และก็เป็นโลกของความติดข้องอย่างมาก เมื่อคืนนี้ก่อนจะหลับมีใครรู้บ้างไหมคะว่าคิดเรื่องอะไร ...
บุษกร ไม่รู้ค่ะ
อาจารย์ ไม่ได้สนใจ คนที่รู้มีไหม บางคนก็มีเรื่องที่กังวลมาก คิดแล้วหลับไปเมื่อไรก็ไม่รู้ บางคนอาจจะโกรธขุ่นเคืองใจนะคะ มีแต่เรื่องแค้นเคือง คิดโน่น คิดนี่ หลับไปเมื่อไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก่อนจะหลับจริงๆ ไม่รู้ แต่ว่าการสะสมที่ทุกคนมีแน่นอนที่สุดที่ทุกคนมี คือ ความยินดีในภพชาติ
เพราะฉะนั้น ตราบใดก็ตามที่ยังมีการเกิดอยู่ หลังจากที่จุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อ จะเกิดภพไหนภูมิไหนก็ตาม ปฏิสนธิจิตไม่ใช่วิถีจิต เป็นจิตขณะแรกซึ่งกิจธุระเป็นปัจจัยให้เกิดไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลย แต่รับอารมณ์สืบต่อจากจิตใกล้จะจุติ แล้วแต่ว่าจิตใกล้จะจุติจะมีอะไรเป็นอารมณ์ ปกติธรรมดาหลังจากที่ปัญจทวารวิถีจิตดับไปแล้ว มโนทวารวิถีจิต จิตที่เกิดสืบต่อทางใจ แม้ไม่มีสิ่งนั้นแล้วก็ยังรู้สิ่งนั้นสืบต่อ เหมือนในขณะนี้เลย ไม่ใช่มีแต่เห็น ยังมีการรู้อารมณ์ต่อจากขณะที่เห็นเหมือนกันเลย ทำให้แยกไม่ออกว่าขณะไหนเป็นจักขุทวารวิถีและขณะไหนเป็นมโนทวารวิถี เพราะเป็นอารมณ์เดียวกันเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่ว่าสำหรับทางปัญจทวารวิถีนั้นต้องเป็นอารมณ์ที่ยังไม่ดับ แต่ความรวดเร็วแม้ว่ามีภวังค์คั่นมโนทวารวิถีทางใจ ไม่ต้องมีใครไปบอกอะไรเลย เกิดขึ้นรับรู้ต่อเหมือนกับอารมณ์นั้นเลย ด้วยเหตุนี้ปฏิสนธิจิตจึงมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติจิตของชาติก่อน ซึ่งถ้าปกติจุติจิตไม่เกิดก็จะเป็นจิตที่รู้อารมณ์นั้นต่อทางใจ แต่เมื่อจุติจิตเกิดดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิด ไม่มีอารมณ์ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจแต่เป็นอารมณ์ใกล้จุติของชาติก่อน ใครรู้ได้ ถ้ารู้ได้ก็รู้ว่าชาติก่อนเป็นใคร อยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร มีอารมณ์อะไรเห็นหรือได้ยิน หรือคิดนึก แต่จุติจิตก็เหมือนประตูที่ปิดสนิท ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าชาติก่อนมีอะไรบ้าง สุข ทุกข์ เหมือนชาตินี้ไหม ชาตินี้พอถึงชาติหน้าก็ไม่รู้เลย ชาตินี้กำลังเป็นอย่างนี้สุขทุกข์ แค่ไหน เรื่องอะไร มีอะไรต่างๆ ก็ไม่รู้เลย
เพราะฉะนั้น หลังจากที่ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับ จิตที่เกิดสืบต่อก็เป็นผลของกิจธุระเดียวกัน ที่ทำให้เป็นจิตประเภทเดียวกันเกิดดับดำรงภพชาติ จนกว่ามีการรู้สึกตัว เป็นมโนทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรกเกิด เร็วแสนเร็ว คือ ความติดข้องในภพในความมีในความเป็น ไม่ว่าจะเป็นในภพไหนก็ตาม ต่อจากนั้นก็แล้วแต่ว่า จะมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้อะไรเกิดดับสืบต่อไป แต่ที่แสดงไว้ก็คือว่า วาระแรกที่เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ก็คือโลภะ ไม่ต้องใช้คำว่า “ชวนะ” ได้ไหมคะ ไม่ต้องใช้คำว่า “วิถี” ได้ไหม ก็รู้อยู่แล้ว ฟังแล้วต้องเข้าใจ แล้วก็ไม่ทิ้ง ไม่ลืมสิ่งที่เข้าใจแล้วด้วย พอพูดถึงโลภะเป็นชวนวิถี เป็นวิถีนี่รู้แน่ แต่ “ชวนะ” นี้ถ้าไม่ได้ศึกษาเรื่อง "วิถีจิต" ก็คือ การเกิดดับสืบต่อของจิตที่รู้อารมณ์เดียวกันทางหนึ่งทางใดนั่นเอง
เพราะฉะนั้น จิตแต่ละขณะ ซึ่งทำกิจแต่ละอย่าง ก็มีชื่อซึ่งแสดงให้เห็นว่าขณะนั้นเป็นจิตขณะไหน เช่น ถ้าใช้คำว่า สัมปฏิจฉันนะ เป็นวิถีจิตหรือเปล่า ไม่ใช้คำว่าวิถีได้ไหม? ได้นะคะแล้วสัมปฏิจฉนะไม่ใช่ภาษาไทย แต่ว่าเมื่อจิตเห็นดับแล้วมีจิตเกิดต่อไหม? มีจิตนั้นรู้อารมณ์เดียวกับจิตเห็นไหม เพราะฉะนั้นภาษาบาลีใช้คำว่า "สัมปฏิจฉันนะ" จะใช้คำว่ารู้ต่อ คือ รับรู้ก็ได้ขณะต่อไปใช้คำว่า สัมปฏิจฉันนะ เราไม่จำเป็นต้องจำ ถ้าไม่อยากจำชื่อ แต่ให้รู้ความเป็นจริงว่าจิตเกิดดับเร็วมาก และใครก็เปลี่ยนจิตไม่ได้เลย ทุกขณะนี้เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยมากมายหลายขณะ ซึ่งไม่มีใครไปบังคับบัญชาหรือไปเปลี่ยนแปลงได้
สัมปฏิจฉนจิตเกิดต่อจากจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณก็ตาม ดับแล้วมีจิตเกิดต่อไหมคะ?
บุษกร ... มีค่ะ
อาจารย์ รู้อารมณ์เดียวกันหรือเปล่า
บุษกร ... อารมณ์เดียวกันค่ะ
อาจารย์ แต่ไม่ได้รับต่อจากจักขุวิญญาณหรือโสตวิญญาณ เพราะฉะนั้น สัมปฏิจฉนะรับต่อแล้ว จิตที่เกิดต่อก็รู้ใช้คำว่าพิจารณาภาษาไทยเรา เวลาใช้คำว่า "พิจารณา" นานเลยใช่ไหมคะ แต่หนึ่งขณะจิตที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่รับต่อจากจักขุวิญญาณ แต่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉันนะ เพราะฉะนั้น ก็ใช้คำว่าพิจารณาต่อรู้ว่าอารมณ์เดียวกัน และต่อจากนั้น ก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะเกิดได้จะต้องมีจิตที่ไม่ใช่วิบากและไม่ใช่กุศล เพราะว่าจักขุ-วิญญาณเป็นวิจารณญาณจิต สัมปฏิจฉันนะเป็นวิจารณญาณจิต "สันตีรณะ" เป็นวิจารณญาณจิต กิจธุระทำให้จิตเหล่านี้ที่จะรู้อารมณ์เดียวกันนี้ เกิดสืบต่อกันหมดแล้ว แค่นั้นของวิจารณญาณต่อจากนั้น กุศลและอกุศลก็ยังเกิดไม่ได้เป็นคนละชาติก็มีจิตที่เกิดคั่น คือ หลังจากที่สันติรณะเกิดแล้ว จิตที่เกิดต่อใช้คำว่าจิตที่เกิดต่อ ไม่ได้เกิดความยินดีพอใจในทันที เป็นโลภะหรือโทสะทันที แต่ว่าเป็นจิตที่เป็นปัจจัยที่จะให้กุศลหรืออกุศลที่สะสมมากมายของแต่ละคนนี้ ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าจะปรุงแต่งให้จิตขณะต่อไป หลังจากที่จิตที่เกิดที่ไม่ใช่กุศลและอกุศลใช้คำว่า "โวฎฐ์พพนจิต" แปลตรง ก็เหมือนกับตัดสินตามภาษาบาลี
คำปั่น โวฎฐ์พพนจิต ตามภาษาบาลี ก็แปลว่าตัดสิน แต่จริงๆ โดยสภาพธรรมแล้วก็เป็นจิตประเภทหนึ่ง เป็นกิริยาจิต ซึ่งกระทำทางให้ชวนจิตเกิดขึ้นเป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ ซึ่งโดยสภาพธรรมแล้ว ก็คือ มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งโวฎฐ์พพนกิจทางปัญจทวาร
อาจารย์ จริงๆ แล้วคนที่ไม่ได้เรียนมาก่อนไม่รู้หรอก ชื่อต่างๆ เหล่านี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราใช้ภาษาไทยให้เข้าใจก่อน แล้วให้เขารู้ภาษาบาลีทีหลัง เพราะว่าถ้าสามารถจะเข้าใจแต่ละคำ ก็จะไม่ลืม อย่างคุณคำปั่นใช้คำว่า “ชวนะปฏิปาทกมนสิการ” ไม่ใช่ภาษาไทยเลย แต่แสดงให้เห็นแต่ละคำ “ชวนะ” คือจิตซึ่งเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นโดยไม่ต้องเห็นมารับอะไรเลย พอใจในสิ่งนั้น ที่จิตก่อนๆ รับแล้วรู้แล้ว
เพราะฉะนั้น เราค่อยๆ พูดตามลำดับว่าเวลาที่จักขุวิญญาณหรือโสตวิญญาณดับไปแล้ว จิตที่เกิดต่อรับรู้ต่อขณะหนึ่งชื่อว่าสัมปฏิจฉันนะ จะจำก็ได้ และเมื่อดับไปแล้วก็มีจิตที่เกิดต่อสืบต่อวิบากอีกขณะหนึ่งก็เป็นสันติรณะ จะจำก็ได้ ไม่จำก็ได้ ต่อจากนั้น ก่อนที่กุศลหรืออกุศลที่สะสมมาจะเกิดได้ นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องรู้ชาติของจิต จิตนี้ต่างกันเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ซึ่งเป็นเหตุ เป็นผลคือวิบากก็มี และเป็นจิตที่ไม่ใช่เป็นเหตุคือไม่ใช่กุศล อกุศล ไม่ใช่วิบาก จิตนั้นเป็นกิริยา นี่เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดแต่โดยนัยของพระสูตร ที่เรากล่าวถึงเมื่อกี้นี้ ไม่ได้พูดถึงเลยเพราะว่าแม้ขณะนี้เป็นอย่างนี้ ก็เร็วแสนเร็ว ที่ทรงแสดงให้เห็นก็คือพระปัญญาคุณ ที่ทรงอุปการะเพื่อที่จะให้เห็นว่า อย่าเข้าใจว่าทันทีที่เห็นแล้วจะเป็นโลภะ โทสะ ได้ แต่ต้องมีจิตอื่นเกิดคั่นแต่เมื่อไม่ปรากฏให้รู้ ก็สามารถที่จะกล่าวได้เฉพาะสิ่งที่สามารถจะเข้าใจได้
แต่ก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะเกิดได้ก็มีจิตหนึ่งขณะที่เกิดก่อนจิตนี้เกิดก่อน ชวนปฏิปาทมนสิการ ลบชื่อนี้ออกไปก่อนก็ได้ จิตนี้เกิดก่อน โลภะ โทสะ โมหะ หรือกุศลจิต หรือจิตอื่น ซึ่งไม่ใช่วิบาก เริ่มเป็นเหตุ เพราะว่าไม่ใช่ผลแล้ว ผลหมดเพียงแค่จักขุวิญญาณสัมปฏิจฉนะ สันติรณะหมดสภาพธรรมที่เป็นวิบาก เป็นผลของกิจธุระที่ทำให้รู้รูป รู้เสียงที่ปรากฏต่อจากนั้น จะมีความยินดีติดข้องพอใจหรือจะเป็นกุศลก็แล้วแต่หรือว่าจะเป็น กิริยาจิตของพะอรหันต์ ซึ่งไม่มีกุศล อกุศล แล้ว แต่ก่อนที่จะเกิดขึ้นได้จะต้องมี กิริยาจิต เกิดก่อนใช้คำว่า มนสิการ ปฏิปาทก ชวนะ ภาษาบาลีก็เป็น ชวนปฏิปาทกมนสิการจิตนี้ทำอะไร ปฏิปาทก ชวนะ ปฏิ =เฉพาะ ปาทก=เป็นบาทหมายความว่าเป็นเบื้องต้น เป็นบาทเฉพาะที่จะให้ กุศลจิต และอกุศลจิตก็เกิดไม่ได้ แม้ว่ามีสะสะมมาด้วยเหตุนี้จิตนี้จึงทำกิจนี้ที่จะต้องเกิดก่อน เป็นบาทเฉพาะของกุศลจิต และอกุศลจิตกิริยาจิต จึงมีชื่อว่า ชวนะ ซึ่งหมายความถึงกุศล อกุศล กิจธุระถ้าเป็นเหตุใหม่ ไม่ใช่ผลของกิจธุระที่ได้กระทำแล้ว ที่ทำให้สิ่งนี้ปรากฏ เพราะฉะนั้น ชวนปฏิปาทมนสิการ จิตนี้เกิดเป็นบาทเฉพาะเหมือนกับกระทำทาง เป็นทางที่จะให้กุศลจิตและอกุศลจิตที่สะสมมาเกิดได้ จึงเป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ มนสิการก็กล่าวถึงแล้วนะคะ ๓ ประการ แต่วันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องไปกล่าวถึงอีกก็ได้ เดี๋ยวจะข้ามสิ่งที่กำลังกล่าวถึง
เรียนท่านผู้รู้
วิถีจิตที่เกิดขึ้นไม่ครบทั้ง 7 วิถี เช่น เป็นโมฆะวาระ นอกจากตัวอย่างที่มีในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ที่กล่าวว่า ปลุกผู้ที่นอนหลับอยู่ แต่ก็ยังไม่รู้ตัว ไม่ทราบว่ามีตัวอย่างอืนๆ อีกไหมคะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนความเห็นที่ 4
ตัวอย่างเพียงที่ท่านยกมาก็พอเข้าใจได้ เพราะชีวิตจริงๆ ปัญญาของเราไม่สามารถรู้โมฆวาระ ได้ แต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ รู้ได้ใช่ไหมว่า เป็นเพียงธัมมะอย่างหนึ่ง สิ่งใดที่มีปรากฏควรศึกษาสิ่งนั้นครับ
เรียนความเห็นที่ 5
ตามที่ท่านได้กล่าวมาหมายความว่า โมฆะวาระนั้น จรืงๆ แล้วไม่อาจรู้ได้ อยากทราบว่า แล้ววาระอื่นๆ ที่ยังไม่ถึงชวนวิถี จะรู้ได้หรือไม่ ดิฉันสงสัยในลักษณะเท่านั้นค่ะ อย่างเช่น อาการเหม่อลอย เป็นต้น
ขอบพระคุณค่ะ
ยินดีมากครับ ที่มีโอกาสมาเป็นสมาชิกของบ้านธัมมะ ขออนุญาติเกริ่นเรื่องนิดคือหลายปีไม่เคยได้อ่านข้อคิดข้อเห็นของพระปรมัตถ์ธรรมเลยเพิ่งจะได้เห็นเป็นครั้งแรก ความรู้ของพระพุทธศาสนาเรานั้นที่ว่าลึกล้ำกันจริงก็คงเป็นพระปรมัตถ์ธรรมลองเอาตำราแพทย์เรื่องประสาทและอวัยวะภายนอกมาเทียบดูเถิดครับจะรู้ว่าพระปรมัตถ์นั้นกับ"โลกวิทู"ของพระพุทธองค์นั้นคืออะไร
สาธุ............ครับทั้งคนโพสต์และคนแสดงธรรม