ควรศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาหรือไม่

 
Sam
วันที่  7 ก.ย. 2552
หมายเลข  13479
อ่าน  969


" วัตถุประสงค์ โดยย่อของมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา คือศึกษา

ปฏิบัติธรรม เผยแพร่พระธรรมตามแนวพระไตรปิฎก และจัดพิมพ์เอกสารประกอบการ

ศึกษาพระไตรปิฎก เผยแพร่เป็นสาธารณกุศล "

ผมยกเนื้อความ มาจากหน้าแรก (Intro Page) ของเวบไซต์ บ้านธัมมะ เพื่อนำ

เข้าสู่ประเด็นคำถามครับว่า ผู้ศึกษาพระธรรม ควรศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกและ

อรรถกถาหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 ก.ย. 2552


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ไม่ลืมในเรื่องจุดประสงค์ของการศึกษาธรรม คือเป็นไปเพื่อละ ขัดเกลากิเลสและรู้สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ การศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อความเข้าใจถูก อันเป็นไปเพื่อความเจริญของปัญญาและขัดเกลากิเลส รู้ความจริงในขณะนี้

พระไตรปิฎก คือ พระธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงแสดง อันเกิดจากพระปัญญา ของพระพุทธเจ้า อันลึกซึ้ง สุดประมาณ ดังนั้น ในการศึกษาพระไตรปิฎก คือศึกษาคำสอนของพระปัญญาพระพุทธเจ้าจึงต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้รู้ อ่านเอง คิดเองไม่ได้ครับ เหมือนจะเข้าใจ แต่ก็ไม่เข้าใจเพราะพระธรรมละเอียดลึกซึ้ง หากแต่ว่าความจริงคือพระไตรปิฎกก็คือ การแสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ โดยนัยต่างๆ อันสมควรแก่อุปนิสัยของสัตว์โลก ดังนั้น เมื่อศึกษาพระไตรปิฎก ก็คือเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้และขัดเกลากิเลสทุกๆ ประการ นี่คือจุดประสงค์ที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็จำได้ แต่ไม่เป็นไปเพื่อการน้อมประพฤติปฏิบัติ คือเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้และเป็นไปเพื่อการละทั้งหมด ที่สำคัญต้องรู้กำลังของตนว่าสามารถรู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของพระ-พุทธเจ้าได้ทั้งหมดหรือว่าควรรู้ในสิ่งที่พอจะรู้ได้ ซึ่งกำลังมีในขณะนี้ ขออนุโมทนา เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ จุดประสงค์ในการอ่านพระไตรปิฎก อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 7 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ผู้ศึกษาพระธรรมควรศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาหรือไม่.

.
.
.

ทุกวันนี้ ทางมูลนิธิฯ ก็ ศึกษาพระธรรม จากพระไตรปิฎก ค่ะ.แต่ข้อควรพิจารณา "สำหรับแต่ละบุคคล"คือ
พระวินัย ลึกซึ้ง โดย กิจ.หากศึกษาไม่ดี...ย่อมถึงความเป็น ผู้ทุศีล.พระสูตร ลึกซึ้ง โดย อรรถ.หากศึกษาไม่ดี...ย่อมถึงความเป็น มิจฉาทิฏฐิ.พระอภิธรรม ลึกซึ้ง โดย สภาวะ.หากศึกษาไม่ดี...ย่อมถึงความเป็น ผู้ฟุ้งซ่าน.
.
เท่าที่เคยมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับท่านอาจารย์และสหายธรรมไม่มีใครเคยห้ามไม่ให้อ่านพระไตรปิฎกเลยค่ะมีแต่สนับสนุนให้อ่านพระไตรปิฎก และ อรรถกถา ด้วยตัวเอง.
และ ไม่มีใครห้ามไม่ให้ฟังการแสดงธรรมจากที่อื่นๆ แต่ ให้ฟัง โดยพิจารณา เทียบเคียง กับพระไตรปิฎก และ อรรถกถาด้วยความละเอียด รอบคอบ...ไม่คิดเอาเอง ค่ะ.
.
ข้าพเจ้าเคยเรียนถามท่านอาจารย์ ว่าหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป นี้...เรียบเรียงขึ้น เพื่อจุดประสงค์อะไร.ท่านตอบว่าเพื่อ "เป็นพื้นฐาน" สำหรับผู้ที่จะศึกษาพระธรรม (อ่าน) โดยตรง จากพระไตรปิฎก ต่อไป ค่ะ.
(ขออภัยที่ต้องอ้างชื่อของท่านอาจารย์...แต่เป็นความจริงค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 8 ก.ย. 2552


"...เมื่อศึกษาพระไตรปิฎกก็คือเพื่อเข้าใจสภาพ

ธรรมที่มีในขณะนี้และขัดเกลากิเลสทุกๆ ประการ นี่คือจุดประสงค์ที่ถูกต้อง

ไม่เช่นนั้นก็จำได้ แต่ไม่เป็นไปเพื่อการน้อมประพฤติปฏิบัติคือเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้

และเป็นไปเพื่อการละทั้งหมด..."

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 8 ก.ย. 2552


ขอขอบคุณทุกๆ ความคิดเห็นครับ เป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์มาก สำหรับผม

เพราะตลอดระยะเวลาที่ศึกษาพระธรรมจากมูลนิธิฯ ท่านอาจารย์ไม่เคยห้ามหรือบังคับ

ให้ผู้ศึกษาทำสิ่งใด หรือไม่ให้ทำสิ่งใด แต่ท่านแสดงว่าสิ่งใดควรทำ และสิ่งใด

ไม่ควรทำ และที่สำคัญที่สุดคือควรมีความเข้าใจ (ด้วยตนเอง) ว่าที่ทำหรือไม่ทำ

สิ่งใดนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ หรือมิใช่ประโยชน์

ด้วยเหตุนี้เอง การศึกษาของผมตลอดมาจึงเป็นไปด้วยความปลอดโปร่ง เป็น

ที่สบาย ไม่อึดอัดใจเลยครับ

ขอกราบระลึกถึงพระคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ฯ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ก.ย. 2552

ด้วยเหตุนี้เอง การศึกษาของผมตลอดมาจึงเป็นไปด้วยความปลอดโปร่ง เป็น

ที่สบาย ไม่อึดอัดใจเลยครับ

ขอกราบระลึกถึงพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ฯ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
.
.
.
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เมตตา
วันที่ 9 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
กิเลสเน่าหนา
วันที่ 12 ก.ย. 2552

อันนี้แน่นอนครับนาย

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 20 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ