ทราบได้อย่างไรว่าเป็นวิปัสสนาภาวนา

 
Sam
วันที่  8 ก.ย. 2552
หมายเลข  13487
อ่าน  1,251

ผู้ที่ถึงวิปัสสนาญาณ เป็นผู้ที่มีปัญญาอันอบรมมามาก และไม่เข้าใจผิดว่า

เป็นวิปัสสนาญาณหรือไม่ แต่สำหรับผู้เจริญสติปัฏฐาน ที่ยังไม่ถึงวิปัสสนาญาณ

จะทราบได้อย่างไรว่า ไม่เข้าใจผิดในการเจริญวิปัสสนาภาวนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 9 ก.ย. 2552

จะทราบได้ด้วยการเทียบเคียงกับพระธรรมคำสอนว่า วิปัสสนาญาณคืออะไร

วิปัสสนาญาณรู้อะไร วิปัสสนาญาณรู้อย่างไร..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 9 ก.ย. 2552

ขอเรียนถามนิดนึง....ทำไมจึงสงสัยเรื่องนี้ละคะ.?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันใหม่
วันที่ 9 ก.ย. 2552

อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย

ผู้ที่ได้วิปัสสนาญาน เป็นปัญญาที่แทงตลอดสภาพธรรมที่มีจริง โดยแยกขาดจาก

กันว่าเป็นนามธรรมและรูปธรรม นี่โดยนัยวิปัสสนาญานที่ 1 แต่เมื่อพูดถึงการเจริญสติ-

ปัฏฐานอันเป็นเหตุให้ถึงวิปัสสนาญานแล้ว ก็ต้องย้อนกลับมาเสมอว่า สติปัฏฐานคือ

อะไร ซึ่งการเจริญสติปัฏฐานก็คือการเจริญวิปัสสนานั่นเอง ใช้เพียงคำที่ต่างกัน แต่

อรรถ ความหมายเหมือนกัน การเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง หรือการเจริญวิปัสสนาที่ถูก

ต้อง ก็คือการรู้ความจริง ขณะนีกำลังมีความจริง ทำไมถึงกล่าวว่าเป็นความจริงเพราะ

ปรากฎให้รู้ ที่ปรากฎให้รู้เพราะมีลักษณะ ถ้าไม่มีลักษณะ ก็ไม่สามารถรู้สิ่งนั้นและ

ปรากฏเกิดขึ้นได้เลย ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้องคือรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมใน

ขณะนั้น โดยไม่ใช่การคิดนึกถึงสภาพธรรมที่ดับไปแล้ว แต่มีลักษณะให้รู้ เมื่อรู้ตรง

ลักษณะก็แสดงให้เห็นถึงตัวธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ถ้าสติปัฏฐานเกิดจริงๆ ปัญญา

ย่อมมีความเห็นถูกในสภาพธรรมตามที่กล่าวมา ย่อมไม่เข้าใจผิดในขณะนั้น แต่อย่าลืม

ว่า ยังไมได้ดับความเห็นผิดหมด จึงย่อมหลงทางได้ หลงที่จะหาชื่อ ทั้งที่สภาพธรรม

กำลังปรากฎให้รู้ หลงที่จะรู้ในสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ ถูกโลภะที่เหมือนเพื่อนสนิท

คอยกระซิบโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้นจะรู้ว่าถูกต้องไม่ถูกต้อง คือรู้ตัวจริงที่กำลังปรากฎหรือไม่ และปัญญาเข้าใจว่าเป็นธรรมในขณะนั้นเพราะระลึกตรงลักษณะนั่นเอง ปัญญาเท่านั้นที่จะไม่เข้าใจผิด สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
yupa
วันที่ 10 ก.ย. 2552

ได้อ่านกระทู้ในแนวนี้มาพอสมควร ขอเรียนถามว่า ปัญญา เป็น นามธรรม หรือไม่ และการเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องปัญญา เท่านั้น ใช่ไหม ยอมรับว่า มีข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมมากมาย แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนดี ตอนนี้ก็ขอฟังไปก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 10 ก.ย. 2552

ปัญญา เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ ปัญญามีหลายขั้น ตั้งแต่ขั้นความเห็นถูก ความ

เข้าใจถูก จนถึงขั้นประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรม รูปธรรม ตามความเป็นจริงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 10 ก.ย. 2552

ขอบคุณและขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นครับ

เรียนความคิดเห็นที่ ๒ ที่ผมสงสัยในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานนั้น เป็นเพราะความ

สงสัยและยังไม่แน่ใจในธรรมยังไม่หมดไป ซึ่งจากการศึกษาทำให้ทราบว่า วิปัสสนา-

ญาณเป็นความรู้ชัดในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ทำให้รู้ชัดในลักษณะที่ธรรมะ

เป็นธรรมะอย่างไร แต่สำหรับผู้ที่กำลังศึกษานั้น ผมคิดว่าเหมือนคนที่อยู่ในที่มืด

สนิท มีเพียงพระธรรม และคำแนะนำจากท่านผู้รู้ ที่เป็นเสมือนแสงไฟนำทาง แสง

นั้นยังริบหรี่อยู่แสนไกลนัก เราจึงยังกล่าวว่า"เห็น"แล้วไม่ได้ จึงต้องค่อยๆ คลำทาง

เพื่อเดิน (คลาน?) ไปที่แสงนั้น และระหว่างทาง ก็ต้องศึกษาและถามตอบกันไปเรื่อยๆ

เหมือนการเงยหน้าไปดูแสงนั้นเรื่อยๆ ไม่เช่นนั้นก็จะหลงทิศไปได้ง่ายเหลือเกินครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ลูกจีนหัวใจไทย
วันที่ 10 ก.ย. 2552

ขอร่วมแบ่งปัน ตามความเข้าใจของตนเอง ดังนี้

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ที่ยังไม่ถึงวิปัสสนาญาณ จะไม่เข้าใจผิดว่า สติที่เกิดขึ้น

ระลึกรู้สภาพธรรม (สติปัฏฐาน) เป็นวิปัสสนาญาณ โดยต้องรู้ว่า ปัญญาขั้นวิปัสสนา

ญาณ เป็นปัญญาที่รู้ชัดสภาพธรรมตามความเป็นจริง ทางมโนทวาร หมายความว่า

ขณะนั้น มโนทวาร ปรากฎ ปัญญารู้ชัดความต่างกันของ สภาพธรรมทางปัญจทวาร

และมโนทวารอย่างชัดเจน

ส่วน ปัญญาขั้นสติปัฏฐานนั้น เป็นการที่สติระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฎ โดย

เป็นการรู้ว่าสิ่งที่ปรากฎ เป็นเพียงธรรม ที่เกืดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดเท่า

นั้น ไม่ใช่เรา และไม่ต้องเรียกชื่ออะไรเลย โดย มีสภาพธรรม 2 อย่าง คือ สภาพธรรม

ที่รู้อารมณ์ (จิต) และ สภาพ ธรรมที่ถูกรู้ (อารมณ์) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และทาง

ใจ จนกว่าปํญญา จะสมบูรณ์พร้อมประจักษ์ความต่างกันของ สภาพธรรมทั้ง 2 อย่าง

อย่างชัดเจน โดยมโนทวารปรากฏเป็น ปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณ

และอบรมเจริญปัญญาต่อไป จนกระทั่งเห็นโทษภัยของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและ

ดับไป น่าเปื่อหน่าย เป็นทุกข์ จนปัญญาน้อมไปประจักษ์สภาพธรรมที่ตรงกันข้ามคือ

สภาพธรรมที่ไม่มีเหตุ ปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น (นิพพาน) จึงไม่มีการดับ เที่ยง และ

เป็นสุข ปัญญาที่ประจักษ์ นิพพาน นี่เองจะกระทำกิจประหารกิเลส ตามลำดับขั้น จน

หมด

เป้าหมายที่แท้คือ การอบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้ความจริงว่า สภาพธรรมที่เกิดขึ้น

และดับไปนี้ เป็นทุกข์ หลงยึดถือว่า เป็นเรา ความสุขที่แท้จริงคือ การดับเหตุ ปัจจัย

ที่ทำให้สภาพธรรมเกิด ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

หากผิดพลาดประการใด ขอเรียนเชิญท่านผู้รู้ช่วยแก้ไข

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ก.ย. 2552

สมมติว่า.......

คุณแซม ใช้มีดที่ "คมกริบที่สุด" เฉือนลงไปบนเนื้อที่วางอยู่บนเขียงเนื้อที่วางอยู่เขียงนั้น แยกขาดออกจากกัน อย่างเด็ดขาด-ชัดเจน-ไร้ตำหนิ ไหมคะ.?
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นมีที่คมน้อยลงๆ ๆ ตามลำดับ....เชือดเนื้อบนเขียงเนื้อจะเป็นอย่างไรคะ.?

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 16 ก.ย. 2552

มีดยังทื่อ แรงเชือดก็น้อย

เนื้อคงแค่เป็นรอยบุบตื้นๆ

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คุณ
วันที่ 29 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สามารถ
วันที่ 30 ก.ย. 2552

โลกจะเปลี่ยนไป

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ