คำหลากหลายในพระไตรปิฎก...เป็นคำรวมของสภาพธรรม

 
พุทธรักษา
วันที่  8 ก.ย. 2552
หมายเลข  13492
อ่าน  1,822

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่ประเทศอินเดียณ พระคันธกุฎี พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ตุลาคม ๒๕๔๒

คุณบุตรสาวงษ์ ผมคิดถึงคำว่า "ขันติ" ขันติ นี้ ใน เจตสิก ๕๒ ประเภท ไม่มี "ขันติเจตสิก" โดยมาก บอกว่า มี "อโทสเจตสิก" นี้ก็เป็น "ขันติ" และ ผมคิดว่า "วิริยเจตสิก" บางครั้งก็ควรเป็น "ขันติ" ด้วย ถูกต้องหรือไม่ครับ

ท่านอาจารย์ ในพระอภิธรรม มีเจตสิก ๕๒ ประเภท แต่ ในพระสูตร มีชื่อ หลายชื่อมากอย่างที่เราเคยสนทนากันถึง "คำ"ๆ หนึ่งท่านผู้ฟัง จำได้ไหมคะ คำว่า "ธตา" หมายความถึงอะไร

ท่านผู้ฟัง คำว่า "ธตา" หมายถึง ความทรงจำ

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะที่ สัญญาเจตสิก เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิกกับ ขณะที่สัญญาเจตสิก ไม่ได้เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิกมีความต่างกันไหมคะ สัญญาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ อกุศลจิตกับ สัญญาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ ปัญญาเจตสิก ต่างกันไหม

คุณบุตรสาวงษ์ ต่างกัน โดยชาติ ครับเช่น ขณะที่ สัญญาเจตสิก เกิดร่วมกับ อกุศลจิตขณะนั้น สัญญาเจตสิก เป็นชาติ อกุศล.

ท่านอาจารย์ คุณบุตรสาวงษ์ เห็นเทียน แล้ว จำได้ไหมคะ

คุณบุตรสาวงษ์ จำได้ครับ

ท่านอาจารย์ ต้องมี วิริยะ อะไรหรือเปล่า

คุณบุตรสาวงษ์ ในการเห็น ไม่ต้องมี วิริยะ ครับ

ท่านอาจารย์ แต่ ขณะที่คุณบุตร สาวงษ์ ฟังพระธรรม และ ไตร่ตรอง พิจารณาแล้วก็ค่อยๆ มั่นใจขึ้นๆ ขณะที่ สัญญาเจตสิก กระทำกิจ จำ และ ปัญญา เข้าใจในสภาพธรรมขณะนั้น ต่างกับ สัญญาเจตสิกที่เกิดขึ้น ในขณะที่เห็นเทียนแล้วจำได้ต่างกันใช่ไหมคะ

คุณบุตรสาวงษ์ ต่างกันครับ

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในพระสูตร มีคำหลายๆ คำ ที่มากกว่า ๕๒ คำสำหรับ เจตสิก ๕๒ ประเภท ที่ทรงแสดงในพระอภิธรรม นั้นก็เพราะว่า เจตสิก แต่ละประเภท มีการเกิดร่วมกัน กับสภาพธรรมอื่นๆ เมื่อเกิดร่วมกับสภาพธรรมอื่นๆ ก็ทรงแสดงถึง "ความต่างกัน" แม้แต่คำว่า "สัญญาเจตสิก" ซึ่ง เมื่อ มีสภาพธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วย เช่น "ปัญญาเจตสิก"และ ปัญญาเจตสิก ก็มีหลายระดับ เช่น ปัญญา "ขั้นฟัง" ปัญญา "ขั้นอบรม" โดยการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ปัญญา "ขั้นประจักษ์แจ้ง"

เพราะฉะนั้น สัญญาเจตสิก นั้น แม้ว่าจะเป็น "สภาพที่จำ" แต่ก็มี "ความต่าง" ตรงที่ว่า สัญญาเจตสิกขณะนั้นๆ เกิดร่วมกับเจตสิกอะไร คำหลากหลายในพระไตรปิฎก เป็น คำรวมของ "สภาพธรรม" ซึ่งแสดงว่า จิตแต่ละขณะ ประกอบด้วยสภาพธรรมหลากหลาย เช่น สัญญาเจตสิก ที่เกิดกับ จิตทุกขณะบางขณะก็มี วิริยเจตสิก เกิดร่วมด้วยและ บางขณะ สัญญาเจตสิก ก็มี ทั้ง วิริยเจตสิกและ ปัญญาเจตสิก (ซึ่งต่างระดับขั้น) เกิดร่วมด้วย

เพราะฉะนั้น คนที่อ่านพระสูตร แล้วศึกษาพระอภิธรรมจะไม่มีคำที่บอกชัดเจนลงไปเลย ว่า คำนี้ หมายถึงเจตสิกไหนเพราะว่า มี เจตสิกอื่นๆ (หลากหลาย) เกิดร่วมกัน ในขณะนั้น จึงไม่มีคำที่บัญญัติ หรือแสดงว่า เป็นระดับของเจตสิก ที่เกิดร่วมกัน ในสถานะใด เมื่อไม่ทรงแสดงไว้ แล้วเราจะมาบอกได้ไหมคะ ว่าขณะนั้น เป็น "อโทสเจตสิก" หรือ ขณะนั้น เป็น "วิริยเจตสิก" ในเมื่อขณะนั้น เป็นจิต ซึ่งมี วิริยเจตสิก ที่เกิดร่วมกับ อโทสเจตสิก

คุณบุตรสาวงษ์ เพราะฉะนั้น ขณะที่มี ขันติ ก็มี อโทสเจตสิก และ มีวิริยเจตสิก เกิดร่วมด้วย

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ คุณแม่ และ สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วิริยะ
วันที่ 9 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 9 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 9 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ