ปัญญาที่รู้จริงๆ ต้องรู้ไม่ผิด !

 
พุทธรักษา
วันที่  11 ก.ย. 2552
หมายเลข  13501
อ่าน  1,035

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่ประเทศอินเดียณ พระคันธกุฎี พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ตุลาคม ๒๕๔๒

ถ้าไม่รู้ ลักษณะของ นามธรรม และ รูปธรรม ว่า เป็นเพียง นามธรรม และ รูปธรรมก็ไม่มีโอกาส ที่จะรู้ ว่า เวทนา (ความรู้สึก) นั้น เกิดขึ้น เพราะ ผัสสะ เป็น ปัจจัย สติ ที่ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ตามปกติ ตามความเป็นจริงต้องมีการอบรม จนกระทั่ง "คมกล้า" พอที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่เกิดสืบต่อกันได้

เพราะฉะนั้น สติสามารถระลึกรู้ได้ ว่า ความรู้สึก ที่กำลังปรากฏในขณะนั้นๆ เป็นความรู้สึก ที่เกิดขึ้นทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ขณะที่ ไม่รู้ ก็คือ ไม่รู้แต่ ขณะที่รู้ ก็คือ รู้ อย่างนี้ ขณะที่ รู้ ลักษณะของเวทนา (ความรู้สึก) ที่กำลังปรากฏ สืบต่อจากทางตาเป็นต้น นั้น ขณะนั้น เป็นสติปัฏฐาน.คือ สติ เกิดขึ้น ระลึก ตรง "ลักษณะของเวทนา" ซึ่งเป็น ปรมัตถธรรม ความต่าง ก็คือว่า ก่อนที่จะ รู้ ลักษณะที่เป็น ปรมัตถธรรมก็คือ รู้ เรื่องราว เช่น ขณะเห็นดอกไม้ แล้ว รู้สึกชอบความรู้สึกชอบขณะนั้น เกิดจาก "เห็น" หรือเปล่า

นี่เป็นสิ่งธรรมดาๆ ที่ทุกคนรู้ ใช่ไหม ถ้า "ไม่เห็น" ดอกไม้ ก็คงไม่มีความรู้สึกชอบ หรือ พอใจ แต่เมื่อ "เห็น" แล้ว รู้สึกชอบ "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง" ขณะนั้น รู้เรื่องราว ซึ่งเกิดจาก "เห็น" และมีการรู้ โดยคิดนึกต่อ ว่า สิ่งนั้น เป็นอะไร แต่ ถ้าเป็นขณะที่ "เห็น" แล้ว สติ ระลึก ได้ความรู้สึกชอบ-เกิดขึ้น-ปรากฏกับสติ สติ-ก็ระลึก-สืบต่อทันที

แล้วจะสามารถรู้ได้ไหมคะ ว่า เป็นเวทนา หรือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นทางไหน ความรู้สึก เกิดขึ้นทางไหน ก็เพราะมีการกระทบ (ผัสสะ) อารมณ์-ทางทวารนั้น เพราะฉะนั้น เรื่องราวที่ฟัง ดูเหมือนเป็นเรื่องแต่จริงๆ แล้ว ก็คือ "สภาพธรรม" แต่ละขณะๆ ซึ่งต้องเป็นไปอย่างนั้น ก็แล้วแต่ว่า ปัญญา ที่อบรมมาแล้วนั้นเป็น ปัญญา ที่สามารถที่จะ รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ในระดับไหนซึ่ง ระดับของการรู้ชัด มีหลายระดับ โดยเป็น วิปัสสนาญาณ-แต่ละขั้นมิฉะนั้น ก็จะไม่มีสภาพธรรม ที่เป็น วิปัสสนาญาณและจะเป็นเพียง "การคิดนึกถึงเรื่องวิปัสสนาญาณ" เท่านั้น

ปัญญา ที่ รู้จริงๆ ต้อง รู้ ไม่ผิด คือ รู้ ว่า ขณะที่เห็น ก็เป็นขณะหนึ่งขณะที่รู้สึกชอบ ก็เป็นอีกขณะหนึ่งและ ขณะที่รู้สึกชอบ ขณะนั้นๆ เกิดจากขณะ "เห็น" ไม่ใช่ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ฯลฯ "ปัญญา" รู้ ว่า การกระทบ (ผัสสะ) รูปารมณ์ ทางตา เป็นปัจจัยให้ ความรู้สึก (เวทนา) เกิดขึ้นแล้วแต่ว่า สามารถที่จะรู้ สภาพของเวทนานั้นได้ ใน "วาระไหน" และ รู้ สภาพของเวทนานั้นได้ ใน "ลักษณะไหน" แต่ ต้อง "รู้ทั่ว" ถ้าไม่รู้ทั่ว ก็เป็นเรา

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ คุณแม่ และ สรรพสัตว์.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ก.ย. 2552

กรุณาขยายความข้อความนี้ด้วยค่ะ..

แต่ ต้อง รู้ทั่วถ้าไม่รู้ทั่ว ก็เป็นเรา

รู้ทั่ว คืออย่างไร รู้ไม่ทั่ว คือ อย่างไร?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 11 ก.ย. 2552

รู้ทั่วคือ ไม่ใช่รู้เพียงรูปเดียว หรือนามเดียว ศึกษารูปธรรมและนามธรรมที่ปรากฏ ทั้งหมด ทุกทวาร ทุกอารมณ์ ไม่เลือก ไม่เจาะจง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ก.ย. 2552

ในกรณีที่เป็นคนตาบอดแต่กำเนิด ไม่มีจักขุปสาทย่อมไม่รู้ สภาพธรรม ทาง จักขุทวาร ไม่มีทางที่จะรู้ รูปารมณ์ได้เลยเมื่อเป็นเช่นนี้ ถึงแม้ว่าบุคคลผู้ตาบอดแต่กำเนิดนั้นจะได้ฟังพระธรรมและเข้าใจและ สามารถระลึกรู้สภาพธรรม ทางอื่น ๕ ทาง ได้หมด เว้นทางตา เขาจึงไม่สามารถ "รู้ทั่ว" และ เป็นเครื่องกั้นต่อการเจริญสติปัฏฐานอย่างนั้นหรือคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 11 ก.ย. 2552

เขาก็รู้ทั่วตามฐานะ แม้ในพรหมโลก ก็มีเพียง ๓ ทวาร ก็รู้ทั่วตามสมควรแก่ฐานะ ในอรูปพรหม มีเพียง ๑ ทวาร ก็รู้ทั่วเพียงมโนทวาร ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 12 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ