ธรรมสำหรับผู้บริหาร

 
เจริญในธรรม
วันที่  14 ก.ย. 2552
หมายเลข  13533
อ่าน  1,102

มีข้อธรรมใดบ้างที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหาร?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 15 ก.ย. 2552
ควรทราบว่าพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้นมีประโยชน์แก่ชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทั้งผู้บริหาร และผู้ไม่บริหาร ก็เป็นประโยชน์ขอเพียงฟัง และศึกษาโดยละเอียด จะเกื้อกูลทั้งประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ครับขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่ คุณธรรมกับการบริหาร
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ธนกฤต
วันที่ 15 ก.ย. 2552

ลองพิจารณาดูนะครับ เทียบเคียงในพระไตรปิฎกครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 297 กปิชาดก

๙. ว่าด้วยคุณธรรมของผู้บริหารคณะ [๑๐๒๘] ผู้จองเวรอยู่ ณ ที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่

ณ ที่นั้น ในที่มีคนจองเวร อยู่คืนเดียวหรือ ๒ คืน ก็เป็นทุกข์.

[๑๐๒๙] คนที่เป็นหัวหน้าใจเบา เมื่อคนใจเบา คล้อยตามจะทำหน้าที่จองเวร เพราะเหตุแห่ง กระบี่ตัวเดียว เขาได้ทำความย่อยยับให้กระบี่ทั้งฝูง.

[๑๐๓๐] ก็คนพาลแต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตบริ- หารหมู่คณะลุอำนาจความคิดของตน คงนอน ตายเหมือนกระบี่ตัวนี้ฉะนั้น.

[๑๐๓๑] คนโง่แต่มีกำลังบริหารหมู่คณะก็ไม่ดี ไม่ เป็นประโยชน์แก่เหล่าญาติเหมือนนกต่อ ไม่ เป็นประโยชน์แก่นกทั้งหลายฉะนั้น. [๑๐๓๒] ส่วนคนฉลาด มีกำลังบริหารหมู่คณะดี เป็นประโยชน์แก่เหล่าญาติ เหมือนท้าววาสวะ เป็นประโยชน์แก่ทวยเทพชาวไตรทศฉะนั้น.

[๑๐๓๓] อนึ่ง ผู้ใดเห็นศีล ปัญญาและสุตะ มี ในตน ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์แก่คนทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น.

[๑๐๓๔] เพราะฉะนั้น ธีรชนควรชั่งใจดูตัวเอง เหมือนชั่งใจดูศีล ปัญญาและสุตะฉะนั้นแล้ว จึงบริหารหมู่คณะบ้าง อยู่คนเดียวเว้นการ บริหารบ้าง. จบ กปิชาดกที่ ๙

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 ก.ย. 2552

ผู้บริหารควรรู้ธรรมของสัตบุรุษเชิญคลิกอ่าน...

ธรรมของสัตบุรุษ..สัปปุริสธรรม ๗

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ups
วันที่ 16 ก.ย. 2552

เจริญพรหมวิหาร 4 ครับ

1. เมตตา เป็นมิตรกับทุกท่าน

2. กรุณา ให้ความช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่เวลามีปัญหาเรื่องงาน รวมถึง เรื่องส่วนตัว (ถ้าทำได้) แนะนำสิ่งใหม่ ที่จะทำให้เขาก้าวหน้าเรื่องงาน

3. มุทิตา ร่วมยินดีกับเขาเมื่อหัวหน้าและผู้ใต้บังคับบัญชา ได้รับผลตอบแทนที่ดีใน หน้าที่การงาน หรือ เรื่องส่วนตัว

4. อุเบกขา ไม่โกรธแค้นเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่เชื่อฟัง ควรพิจารณาว่าทำไมเขา จึงโกรธแค้น และไม่เชื่อฟัง

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ