การละ

 
Khaeota
วันที่  15 ก.ย. 2552
หมายเลข  13540
อ่าน  1,381


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

วินัย ๒ อย่าง จริงอยู่วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. และวินัยแต่ละอย่าง ในวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ แยกออกเป็น ๕. จริงอยู่ แม้สังวร- วินัยมี ๕ คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร เละวิริย- สังวร. แม้ปหานสังวร ก็มี ๕ อย่างเหมือนกัน คือ ตทังคปหานวิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน. ปหานะ ๕

อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ย่อมมีด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้น ดุจการกําจัดความมืด ย่อมมีได้เพราะแสงสว่างแห่งประทีปฉะนั้น. คือ ละสักกาย-ทิฏฐิ ด้วยการกําหนดนามรูป, ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัย, ละความสงสัยด้วยการข้ามความสงสัย อันเป็นส่วนภายหลัง แห่งการกำหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง ละความยึดถือว่าเราของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ (กลุ่ม, กอง) , ละสัญญาในธรรมที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดมรรคและอมรรค, ละอุจ- เฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น, ละสัสสตทิฏฐิด้วยการพิจารณาเห็นความเสื่อม, ละความสำคัญว่าไม่น่ากลัวในสิ่งที่น่ากลัวด้วยการพิจารณา เห็นภัย, และความสำคัญว่าชอบใจ (ยินดี) ด้วยการพิจารณเห็นโทษ, ละอภิรติสัญญา (ความสำคัญว่าน่ายินดียิ่ง) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา, ละความเป็นผู้ไม่อยากจะหลุดพ้นด้วยญาณคือความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป, ละการไม่เพ่งด้วยอุเบกขาญาณ, ละปฏิโลมในธรรมฐิติ และในพระนิพพานด้วยอนุโลม, ละความยึดนิมิตในสังขารด้วยโคตรภู อันนี้ ชื่อว่าตทังคปหานะ. อนึ่ง การละนีวรณธรรม เป็นต้น นั้นๆ ด้วยสมาธิแยกออกเป็นอุปจารสมาธิ เพราะห้ามความเป็นไป (แห่งนีวรณ์) ดุจการแหวกสาหร่ายบนผิวน้ำ โดยใช้หม้อแหวกฉะนั้น อันนี้ชื่อว่าวิกขัมภนปหานะ. ส่วนการละกองกิเลสในสันดานของตน อันนับเนื่องในสมุทัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายโดยที่กองกิเลสนั้นกลับเป็นไปไม่ได้อีกอย่างเด็ดขาด แห่งพระโยคาวจรผู้ชื่อว่า มีมรรคนั้น เพราะเหตุที่เจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว อันนี้ชื่อว่าสมุจเฉทปหานะ. อนึ่ง ข้อที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผล อันนี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหานะ. พระนิพพานที่ชื่อว่าละเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงได้เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงแล้ว อันนี้ ชื่อว่า นิสสรณปหานะ. อนึ่ง เพราะเหตุที่การละทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ปหานะ โดยอรรถว่าสละ ชื่อว่า วินัย โดยอรรถว่า กำจัด ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปหานวินัย. อีกอย่างหนึ่ง เพราะการละกิเลสนั้นด้วย เพราะทำให้เกิดมีการกำจัด (กิเลส) นั้นๆ ด้วย การละทั้งหมดนั้น ท่านเรียกว่า ปหานวินัย. แม้ปหานวินัย พึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ประการ ด้วยประการฉะนี้.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ