กัณฐกอัศวราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 614
ลำดับนั้น อัศวราชนั้น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น พระมหาสัตว์ทรงรับบาตร และจีวรที่ฆฏิการมหาพรหมน้อมถวาย ทรงผนวชแล้วปล่อยให้กลับกบิลพัสดุ์พร้อมกับฉันนอำมาตย์ ใช้ลิ้นของตนเลียพระยุคลบาทของพระมหาบุรุษ ด้วยหัวใจที่หนักด้วยความรัก ลืมตาทั้งสองซึ่งมีประสาทเป็นที่พอใจ แลดูชั่วทัศนวิสัยที่จะเห็นได้ แต่เมื่อพระโลกนาถ (ลับตา) ไปแล้วมีใจเลื่อมใสว่า เราได้พาพระมหาบุรุษผู้เป็นนายกชั้นยอดของโลกชื่ออย่างนี้ ร่างกายของเรามีประโยชน์หนอ อดกลั้นวิโยคทุกข์ไว้ไม่ได้เพราะอำนาจความรักที่เกาะเกี่ยวกันมาช้านาน ยังถูกธรรมดาเตือนด้วยอำนาจทิพยสมบัติที่น่ายกย่องอยู่อีก ก็ทำกาละตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.
คำว่า ปุณฺณมาเส ยถา จนฺโท ฯ เป ฯ อหํ กปิลวตฺถุสฺมึเป็นต้น ท่านกล่าวหมายถึงเทพบุตรนั้น. บทว่า ครุกาพาธํ ได้แก่ ป่วยหนัก คือมาก อธิบายว่า ทุกข์ถึงตาย ด้วยเหตุนั้น เทพบุตรจึงกล่าวว่า ขิปฺปํ เม มรณํ อหุข้าพเจ้าก็ได้ตายอย่างฉับพลัน ด้วยว่ากัณฐกอัศวราชนั้น มีความภักดีมั่นคงกับพระมหาสัตว์มาหลาบชาติ จึงมิอาจอดกลั้นวิโยคทุกข์ไว้ได้ และพอได้ยินว่า ออกบวชเพื่อบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็เกิดปีติโสมนัสอย่างยิ่งปราศจากอามิส ดังนั้น พอตายจึงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และทิพยสมบัติได้ปรากฏแก่เขาเป็นอันมาก เหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่าตสฺเสว อานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่สำเร็จด้วยความเลื่อมใสอันถึงที่แล้ว
บทว่า เทโว เทวปุรมฺหิว ความว่า เหมือนท้าวสักกเทวราชในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. บทว่า ยญฺจ เม อหุ วา หาโส สทฺทํ สุตฺวาน โพธิยาความว่า ข้าพเจ้ามีความร่าเริงในคราวนั้น เพราะได้ยินเสียงว่า โพธิ เข้าก่อน ในบทว่า ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํ ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ อันอุดม ดังนี้ ความเกิดแห่งความร่าเริง ชื่อว่าความยินดี. บทว่าเตเนว กุสลมูเลน ได้แก่ ด้วยพืชคือกุศลนั่นเอง. บทว่า ผุสิสฺสํแปลว่า จักถูกต้อง คือถึง (สำเร็จ) เทพบุตรกล่าวถึงกุศลกรรมของตน ซึ่งเป็นเหตุแห่งภวสมบัติส่วนอนาคตตามที่ได้บรรลุแล้วอย่างนี้ บัดนี้ ถึงตนเองประสงค์จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฝากการไหว้พระศาสดาไปกับพระเถระ จึงกล่าวคาถาว่า สเจ เป็นต้น.