ธรรมของสัตบุรุษ..สัปปุริสธรรม ๗

 
JANYAPINPARD
วันที่  16 ก.ย. 2552
หมายเลข  13574
อ่าน  2,715

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

[๓๓๑] สัปปุริสธรรม ๗ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. ธัมมัญญู เป็นผู้รู้จักเหตุ ๒. อัตถัญญู เป็นผู้รักจักผล ๓. อัตตัญญู เป็นผู้รู้จักตน ๔. มัตตัญญู เป็นผู้รู้จักประมาณ ๕. กาลัญญู เป็นผู้รู้จักกาลเวลา ๖. ปริสัญญู เป็นผู้รู้จักบริษัท ๗. ปุคคลัญญู เป็นผู้รู้จักบุคคล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

สปฺปุริสานํ ธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ. ชนใดรู้ธรรม ใน บรรดาสัปปุริสธรรมเหล่านั้น มีสุตตะและเคยยะเป็นต้น เพราะ เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ธัมมัญญู (รู้จักเหตุ) . ชนใด รู้อรรถแห่งภาษิตนั้นๆ นั่นแล เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อ ว่า อัตถัญญู (รู้จักผล) ชนใด รู้จักตน อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีประมาณเท่านี้ ด้วย ศีล สมาธิปัญญา เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตตัญญู (รู้จักตน) . ชนใดรู้จักประมาณในการรับและการบริโภค เพราะเหตุนั้น ชน นั้น ชื่อว่ามัตตัญญู (รู้จักประมาณ) . ชนใด รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลแสดง นี้กาลไต่ถาม นี้กาลบรรลุ โยคธรรม เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า กาลัญญู (รู้จักกาล) . ก็ บรรดากาลเหล่านั้น กาลแสดง ๕ ปี กาลไต่ถาม ๑๐ ปี.นี้นับว่า คับแคบยิ่งนัก. กาลแสดง ๑๐ ปี กาลไต่ถาม ๒๐ ปี. เบื้องหน้าต่อ แต่นั้นไป บัณฑิตพึงกระทำกรรมในการประกอบเถิด. ชนใด รู้จักบริษัท๘ อย่าง เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ปริสัญญู (รู้จักบริษัท) . ชนใดรู้จักบุคคลที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ เพราะเหตุนั้น ชน นั้น ชื่อว่า. ปุคคลัญญู (รู้จักบุคคล) .


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 17 ก.ย. 2552

อรรถกถาของพระสูตรนี้ อธิบายความหมายของ กาลัญญู ว่า

ชนใด รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลแสดง นี้กาลไต่ถาม นี้กาลบรรลุโยคธรรม เพราะเหตุนั้นชนนั้น ชื่อว่า กาลัญญู (รู้จักกาล) . ก็บรรดากาลเหล่านั้น กาลแสดง ๕ ปี กาลไต่ถาม ๑๐ปี.นี้นับว่า คับแคบยิ่งนัก. กาลแสดง ๑๐ ปี กาลไต่ถาม ๒๐ ปี. เบื้องหน้าต่อแต่นั้นไปบัณฑิตพึงกระทำกรรมในการประกอบเถิด

แต่ผมชอบความหมาย ดังต่อไปนี้ มากกว่า

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 236

๔. ธัมมัญญูสูตร

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑ อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑ อัตตัญญู รู้จักตน ๑ มัตตัญญู รู้จักประมาณ ๑ กาลัญญู รู้จักกาล ๑ ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑ ปุคคลโรปรัญญู รู้จักเลือกคบคน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ... ..

ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น

หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นการประกอบความเพียร นี้เป็นการหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู ... ... ..

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ