บัญญัติเป็นกามหรือไม่
อยากทราบว่า บัญญัติเป็นกามหรือไม่
คำว่า กาม มี ๒ อย่าง คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑สิ่งใดเป็นที่ติดข้องของตัณหา ได้แก่ โลกียธรรมทั้งหมด เป็นวัตถุกามส่วนโลภเจตสิก เป็นกิเลสกาม เมื่อจำแนกสิ่งที่จิตรู้ คือ อารมณ์ บัญญัติไม่ใช่กาม แต่บัญญัติ เนื่องด้วยกามเพราะมีกาม บัญญัติต่างๆ จึงมีได้ และบัญญัติเป็นสิ่งที่ตัณหาติดข้องด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อจะกล่าวว่า บัญญัติเป็นกาม ก็ควรแต่ท่านไม่ได้กล่าวไว้ครับ
ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนาครับ
ชื่อว่าตัญหาย่อมยินดี ภวตัญหาคือยินดีพอใจในความมีสิ่งนั้น สิ่งนี้ การได้เป็นนั้น เป็นนี้ ถามว่าวิภวตัญหาในการไม่มีสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งนี้ การไม่ได้เป็นนั้น ไม่ได้เป็นนี้เล่า แล้วก็จะความยินดี พอใจด้วยนั้น จะมีความยินดีอย่างไร? ขอท่าน prachern.s โปรดตอบปัญหาด้วยคำอันประเสริฐเถิด
วิภวตัณหา คือความติดข้องในความเห็นว่าขาดสูญ โลภะและทิฏฐิเกิดพร้อมกันค่ะ
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ
แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย
กามมี 2 อย่างคือ วัตถุกามและกิเลสกาม
กิเลสกามคือโลภะ ความติดข้องเป็นปรมัตถธรรมไม่ใช่บัญญัติ ส่วนวัตถุกาม
คือที่ตั้งของโลภะ โลภะติดข้องได้ทุกอย่าง กามจึงมีความหมายว่า เป็นที่ตั้งของ
ความใคร่ โลภะติดข้องได้ทั้งปรมัตและบัญญัติ ดังนั้นบัญญัติจึงเป็นกามด้วย
เพราะเป็นที่ตั้ง ให้โลภะติดข้องนั่นเอง บัญญัติจึงเป็นกาม คือเป็นกามโดยฐานะ
ที่เป็นวัตถุกาม ตามที่กล่าวมา ไร่ นา ทรัพย์ ติดข้องได้ ทรัพย์ ไร่ นา เป็นบัญญัติ
แต่เป็นที่ตั้งของโลภะให้ติดข้องจึงเป็นกามที่เป็นวัตถุกาม สาธุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 32
วัตถุถามเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าพอใจเครื่อง
ลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน
ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบทฉางข้าว เรือน คลัง วัตถุ-
อันชวนให้กำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวัตถุกาม....... ธรรมอัน
เป็นวัตถุแห่งตัณหา ธรรมอันเป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่า กาม เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม.
นโม ฌานาทิสงฺกิเลสาทิญาณสฺส
ขอนอบน้อมฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
สวัสดีครับ ทุกท่าน, ขอโอกาสเข้าห้องมาร่วมสนทนาด้วยคน ครับ.
ในเรื่อง "บัญญัติเป็นกามหรือไม่" นี้ ผมขอเสนอความเห็นว่า เราควรมาไล่องค์ธรรมกันดู ครับ.
ธรรมที่เป็นกามาวจร ท่านระบุไว้ว่าได้แก่.-
1. กามจิต 54
2. เจตสิก 52 ที่เกิดร่วมกับกามจิตนั้น
3. รูป 28
จากองค์ธรรมข้างต้น จะเห็นได้ว่า บัญญัติไม่สามารถจัดลงในกามธรรมใดๆ ได้เลย, ฉะนั้น บัญญัติจึงไม่ใช่กามธรรม ครับ.
ตามที่ยกมาจะไปตรงกับเรื่องที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์กล่าวไว้ในเล่ม 75 หน้า 620 คัมภีร์ ชื่อ อัฏฐสาลินี ว่า :
"ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นธรรมกล่าวลงไปไม่ได้ (นวัตตัพพธัมมภูตัง) " นี้
ที่ว่าตรงนั้น เพราะคำว่า"ธรรมที่กล่าวลงไปไม่ได้"นั้น ท่านพระอานันทาจารย์ (อภิ.ธ.มูลฏี.350) อธิบายไว้ว่า :
"จริงทีเดียว ลักษณะแยกถือเอาว่า อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา นั้น มีคติเป็นบัญญัติ เพราะความที่เป็นอวิชชมานธรรม คือ ไม่มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์, (บัญญัติ) กล่าวลงไปไม่ได้เลยว่า เป็นปริตตธรรมเป็นต้น (กามาวจร รูปาวจร หรือ อรูปาวจร) " ดังนี้.
เป็นอันชัดแจ้งทั้งโดยองค์ธรรมและทั้งหลักฐานจากคัมภีร์ว่า บัญญัติจัดลงไม่ได้ในภูมิใดเลย ครับ.