มุสาวาทและองค์ของมุสาวาท

 
JANYAPINPARD
วันที่  18 ก.ย. 2552
หมายเลข  13604
อ่าน  5,933

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ในคำว่า มุสาวาทํ ปหาย นี้ คำว่า มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือกายประโยค ที่ทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน. ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อนของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน

ชื่อว่า มุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง คำว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้.

คำว่า วาท ได้แก่กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่องจริง เรื่องแท้.

ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้

ชื่อว่า มุสาวาท. มุสาวาท นั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นน้อย มีโทษมากเพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย ที่เป็นพยานกล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก.

สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์ เช่นว่า วันนี้ น้ำมันในบ้านไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็นแล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่แท้

๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.

มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึงเห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทำกิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อมผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว. ก็เพราะเหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้วโยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความพึงรู้อย่างนี้ ดังนี้ ก็มีโดยทำนองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วยกายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวรประโยค ก็ย่อมควรในมุสาวาทนี้. แต่เพราะประโยคทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้มาในอรรถกถาทั้งหลาย จึงต้องพิจารณาก่อนแล้วพึงถือเอา.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
munlita
วันที่ 9 ส.ค. 2555

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ