บริโภคเจดีย์ ธัมมเจดีย์.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คำว่าเจดีย์ มีหลายความหมายดังนี้
1. ควรก่อ
2. ควรบูชา
3. วิจิตร
[เล่มที่ 39]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313
ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา ชื่อว่า เจติยะ เพราะวิจิตรแล้ว.
บริโภคเจดีย์ หมายถึง บรรดาสิ่งต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย เช่น บาตร จีวร ต้นโพธิ เป็นต้น บริโภคเจดีย์ มีต้นโพธิ เป็นต้น จึงควรแก่การบูชา เคารพเพราะเป็นเหมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า
ธรรมเจดีย์ หมายถึง การเคารพธรรม ธรรมที่ควรเคารพก็คือพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่สามารถนำหมู่สัตว์ออกจากทุกข์ได้ ธรรมนั้นก็คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีการเจริญสติปัฏฐาน เป็นต้น
[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
บทว่า ธมฺมเจติยานี เป็นคำบอกถึงการทำความเคารพพระธรรม. จริงอยู่ เมื่อกระทำความเคารพในรัตนะหนึ่ง ในบรรดารัตนะทั้ง ๓ ก็ย่อมเป็นอันกระทำในทุกรัตนะทีเดียว.เพราะฉะนั้นเมื่อกระทำความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ย่อมเป็นอันกระทำความเคารพในพระธรรมด้วย เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรมเจดีย์ทั้งหลาย.
[เล่มที่ 73] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 666
บทว่า ธมฺมเจติย สมุสฺเสตฺวา ได้แก่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำเร็จด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗.
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งกำลังแสดงธรรมะ พระพุทธเจ้าก็ยังไม่เสด็จเข้าไป พระพุทธเจ้าทรงหยุดฟังธรรมะ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเคารพธรรมะค่ะ
ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งกำลังแสดงธรรมะ พระพุทธเจ้าก็ยังไม่เสด็จเข้าไป พระพุทธเจ้าทรงหยุดฟังธรรมะ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเคารพธรรมะค่ะ
สูตรไหน ท่านใดทราบบ้างครับ
เรียนความเห็นที่ ๕
อยูในพระไตรปิฎกเล่ม ๓๗ มีข้อความย่อดังนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกายนวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 713
๔. นันทกสูตร
[๒๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระนันทกะชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ในอุปัฏฐานศาลา. ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับยืนรอจนจบกถาอยู่ณ ซุ้มประตูด้านนอก..