ณ กาลครั้งหนึ่ง

 
opanayigo
วันที่  20 ก.ย. 2552
หมายเลข  13624
อ่าน  1,559

ณ กาลครั้งหนึ่ง

วลี สั้นๆ

ที่ท่านอ.สุจินต์ กล่าวเตือนใจในวันนี้

..............

เป็นวลี ที่หลายคนรู้จัก

เป็นคำขึ้นต้น เวลากล่าวถึง

เรื่องราว ที่ผ่านไปแล้วในอดีต

...............

(แล้วเกี่ยวกับชั่วโมง ปฎิบัติธรรม อย่างไร)

หากนัยของสภาพธรรม

รูป จิต เจตสิก

ที่เกิด ดับ ทุกขณะ

....................

จิตที่เกิดขึ้นทำกิจ

ก็เป็นเพียง ณ กาลครั้งหนึ่ง

ของแต่ละขณะ ที่ผ่านไป หมดแล้ว

ไม่มีอะไร.....ว่างเปล่า

....................

ณ กาลครั้งหนึ่ง

(ของวันนี้)

กราบอนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 21 ก.ย. 2552

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 ก.ย. 2552

ที่สำคัญคือขณะปัจจุบัน มีโอกาสได้ทำความดี ได้ฟังธรรม ได้อบรมปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 23 ก.ย. 2552

ณ. กาลครั้งหนึ่ง ของท่านพระสารีบุตรเมื่อ สองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว ขณะก่อนได้พบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นเพียงจิต เจตสิก รูปที่เกิดขึ้นสืบต่อจากอดีตอนัตชาติ... ณ. กาลครั้งหนึ่ง ของท่านพระสารีบุตรในอดีตอนันตชาติก็เป็นเพียงจิต เจตสิก รูปที่เป็นไปเท่านั้น...ได้สะสมอะไรมาบ้าง...ได้สะสมกุศลหรืออกุศลมามากมาย ได้สะสมความเห็นถูกเข้าใจถูกมาบ้างหรือเปล่า จนกระทั่งได้มาพบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ฟังพระสัทธรรม กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จนได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับขั้น ซึ่งมีแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฎเกิดขึ้นและดับไปสืบต่อจนกว่าจะดับกิเลสหมดสิ้นเป็นสมุจเฉท ณ. กาลครั้งหนึ่งของเราเมื่อสิบปี เมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อวานนี้... ณ กาลครั้งหนึ่ง (ของวันนี้) เมื่อได้ฟังพระสัทธรรม ได้มีความเข้าใจว่า ทุกๆ ขณะไม่มีเรา มีแต่เพียงจิต เจตสิก และรูปเท่านั้น ควรที่จะอบรมความเห็นถูกเข้าใจถูกในพระสัทธรรม เป็น ณ. กาล ครั้งหนึ่ง (ของวันนี้) ธรรมะปฏิบัติธรรมะ ไม่ใช่เรา

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 ก.ย. 2552

ณ กาลครั้งหนึ่ง...เป็นวลีทีพบในพระไตรปิฎกหลายหน้า..


เป็นข้อความที่กล่าวถึงอดีต...ปัจจุบันเป็นอย่างไรก็เป็นผลของการกระทำในอดีต ปัญญาที่มีหรือไม่มีในวันนี้มาจากเหตุในอดีต..และวันนี้จะเป็นกาลครั้งหนึ่งในวันหน้า.. หากวันนี้ไม่มีการสะสมปัญญาที่เริ่มต้นด้วยการฟังธรรม (ปริยัติ) .... ปฏิบัติและปฏิเวธจะมีได้อย่างไร

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 691

พระไตรปิฎก ชื่อว่า ปริยัติ, การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ, ปฏิปทา
ชื่อว่า ปฏิบัติ. ในคำเหล่านั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ มีอยู่บ้าง ไม่มีอยู่บ้าง จริงอยู่ ภิกษุผู้เป็นพหูสูตผู้ทำซึ่งปฏิเวธ มีอยู่ในกาลครั้งหนึ่ง ที่บัณฑิตพึงเหยียดนิ้วมือออก แสดงว่า ผู้นี้ไม่เป็นภิกษุปุถุชนดังนี้ ในกาลนั้นมีอยู่. ได้ยินว่า ในเกาะนี้นั่นแหละ ในครั้งหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน มิได้มีแล้ว. แม้ภิกษุผู้บำเพ็ญปฏิบัติ ในกาลบางครั้งก็มีมากบางครั้งก็มีน้อย ด้วยประการฉะนี้ ปฏิเวธ และปฏิบัติ จึงชื่อว่า มีอยู่บ้างก็ปริยัติ ชื่อว่าเป็นประมาณในกาลตั้งอยู่แห่งพระศาสนา. จริงอยู่ บัณฑิต ฟังพระไตรปิฎก แล้วก็ย่อมยังปฏิบัติและปฏิเวธแม้ทั้งสองให้เต็ม.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
hadezz
วันที่ 23 ก.ย. 2552

เวลาได้ผ่านไปเป็นปกติในความรู้สึกของคนบางคนว่าเร็วไปบ้าง บางคนก็ว่าช้าไปบ้างบางคนใช้เวลาผ่านไปอย่างไร้คุณค่า เพียงแค่ให้เวลาผ่านไปหมดไปวันๆ โดยเปล่าประโยชน์ บางคนรู้แต่ว่าเวลาช่างมีน้อยเหลือเกินจะบริหารเวลาอย่างให้พอดีเพื่อจะทำกิจธุรต่างๆ ให้เสร็จก่อนเวลาหรืออย่างน้อยก็ให้ทันเวลาพอดี บางคนก็ว่าเวลาเป็นของมีค่าในแง่ธุรกิจ...เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 2 ค่ะ ว่า ณ ปัจจุบันสำคัญที่สุด

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 23 ก.ย. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 24 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่มีประโยชน์สูงสุด คือ ขณะที่่เข้าใจพระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 24 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 5 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ