พุทธพจน์ที่ว่าด้วยสุขจากกามว่าอย่างไรครับ
เคยได้ยินว่าเปรียบดัง น้ำผึ้งเคลือบยาพิษ ฯลฯ อยากได้ที่เป็นพุทธพจน์เป็นอย่างไรครับ
ขอบคุณครับ
ข้อความตอนหนึ่งจากอรรถกถาที่แสดงโทษของกามมีว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 987
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นไม่รู้ทุกข์ กล่าวคือ ผลบุญแม้เกลือกกลั้วด้วยโทษไม่น้อยมีชาติ ชรา โรค มรณะเป็นต้น โดยวิเศษเพราะไม่รู้การไม่ละในสัจจะ ๔ ด้วยอวิชชานั้น โดยความเป็นทุกข์ย่อมปรารภปุญญา-ภิสังขารอันมีประเภทเป็นกายสังขาร วจีสังขารและจิตสังขาร เพื่อบรรลุทุกข์นั้น......แล้วอันมีทุกข์นั้นเป็นปัจจัย ดุจตั๊กแตนปรารภถึงการตกไปในเปลวไฟฉะนั้น. และดุจบุคคลอยากหยาดน้ำผึ้ง ปรารภการเลียคมศัสตราอันฉาบไว้ด้วยน้ำผึ้ง ฉะนั้น. ไม่เห็นโทษในทุกข์พร้อมวิบาก มีการเสพกามเป็นต้น..
ดุจตั๊กแตนปรารภถึงการตกไปในเปลวไฟฉะนั้น.
และดุจบุคคลอยากหยาดน้ำผึ้ง ปรารภการเลียคมศัสตราอันฉาบไว้ด้วยน้ำผึ้ง ฉะนั้น. ไม่เห็นโทษในทุกข์พร้อมวิบาก มีการเสพกามเป็นต้น..
อนุโมทนา ขอบคุณครับ
กามเปรียบเหมือนคบเพลิงที่ถือทวนลม กามเปรียบหอก กามเปรียบเหมือนผลไม้ที่มี
พิษ กามเปรียบเหมือนโครงกระดูก กามเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงหนทางที่จะละกิเลส คือการเจริญอริยมรรคมีองค์แปดเป็นหนทางเดียวค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 430
ขึ้นชื่อว่า กามเหล่านี้ บัณฑิตพึงเห็นว่าเหมือนลอบที่มารดักไว้เพราะนำมาแต่
ความพินาศแก่สัตว์ทั้งหลาย. บทว่า อนนฺตาทีนวา ได้แก่ มีอาทีนพโทษไม่มีที่สิ้นสุด คือมีโทษมาก.....บทว่า พหุทุกฺขา ได้แก่ ติดตามทุกข์หลายอย่าง มีทุกข์ในอบายเป็นต้น.บทว่า มหาวิสา ได้แก่ เสมือนมหาพิษที่ร้ายกาจเป็นต้นเพราะมีผลเผ็ดร้อน.บทว่า อปฺปสฺสาทา ได้แก่ อร่อยน้อย เหมือนหยาดน้ำผึ้งที่ไหลตามคมมีด. บทว่า รณฺการา ได้แก่ ทำความกำหนัดนักเป็นต้นให้เพิ่มทวี. บทว่าสุกฺกปกฺขวิโสสนา ได้แก่ ทำความพินาศแก่ส่วนแห่งธรรมฝ่ายไม่มีโทษให้สัตว์ทั้งหลาย. อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความสุขที่เกิดจากกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจนั้น เป็นความสุขที่ไม่สะอาด เป็นเพียงสิ่งชั่วคราวที่ได้มาแล้วก็หมดไป ไม่ยั่งยืนผู้ที่ไม่เข้าใจความจริง นับวันก็ยิ่งจะแสวงหาความสุขที่ไม่สะอาดนี้ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในชีวิตประจำวัน ความสุขที่ไม่สะอาด จึงมีมาก แต่ความสุขที่สะอาด อันเกิดจากกุศลในชีวิตประวำวัน นั้น มีน้อยและเกิดยากมาก ด้วยเหตุนี้จึงต้องอาศัยพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา รู้จักความจริง เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ความสุข ในแต่ละวันๆ นั้น เป็นความสุขที่สะอาดหรือไม่สะอาด แล้วจะมีความสุขที่สะอาด ด้วยปัญญาได้อย่างไร ซึ่งก็มีทางเดียวเท่านั้น คือ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ซึ่งเป็นการอบรมเจริญปัญญา นั่นเอง.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...