อรรถกถา อัปปสุตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัปปสุตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อนุปปนฺโน แปลว่า ไม่เข้าถึง ในบทมีอาทิว่า สุตฺต นี้ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกปริวาร สุตตนิบาต มงคลสูตร รตนสูตร นาลกสูตร ตุวฏกสูตร พระดำรัสของพระตถาคตแม้อื่นมี ชื่อว่า สุตตะ พึง ทราบว่า สุตตะ พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ. โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในสังยุตตนิกาย สคาถวรรคแม้ทั้งหมด อภิธรรมปิฎกแม้ทั้งสิ้น สูตรที่ ไม่มีคาถา พระพุทธพจน์แม้อื่นที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับองค์ ๘ เหล่าอื่น พึงทราบว่า เวยยากรณะ ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ไม่มี ชื่อพระสูตรในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา พระสูตร ๘๒ สูตร ที่ประกอบ ด้วยคาถาอันสำเร็จมาแต่โสมนัสญาณ พึงทราบว่า อุทาน
พระสูตร ๑๑๐ สูตร อันเป็นไปโดยนัยเป็นอาทิว่า วุตฺตมิท ภควตา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดังนี้ พึงทราบว่า อิติวุตตกะ ชาดก ๕๕๐ ชาดก. มีอปัณณกชาดก เป็นต้น พึงทราบว่า ชาดก พระสูตรที่ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี แม้ ทั้งหมด อันเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัจฉริยอัพภูตธรรม ๔ ของเรามีอยู่ พึงทราบว่า อัพภูตธรรม
พระสูตรแม้ทั้งปวง ที่ถามแล้ว ได้ความรู้ และความยินดี มี จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร มหาปุณณมสูจร เป็นต้น พึงทราบว่า เวทัลละ
บทว่า น อตฺถมญฺาย ธมฺมมญฺาย ความว่า ไม่รู้อรรถกถา และบาลี.
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติธรรม สมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ คือข้อปฏิบัติเบื้องหน้า พร้อมทั้งศีล พึงทราบ เนื้อความในทุกวาระโดยอุบายนี้ ส่วนวาระที่หนึ่ง ในพระสูตรนี้ ตรัสถึง บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่ทุศีล ในวาระที่สอง ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เป็น พระขีณาสพ ในวาระที่สาม ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะมากแต่ทุศีล ในวาระที่สี่ ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเป็นพระขีณาสพ
บทว่า สีเลสุ อสมาหิโต ความว่า ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย.
บทว่า สีลโต จ สุเตน จ ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมติเตียนผู้นั้น ทั้งโดยส่วนศีล ทั้งโดยส่วนสุตะ อย่างนี้ว่า คนนี้ทุศีล มีสุตะน้อย
บทว่า ตสฺส สมฺปชฺชเต สุต ความว่า สุตะของบุคคลนั้น ชื่อว่าสมบูรณ์ เพราะเหตุที่กิจคือสุตะอันเขาทำแล้วด้วย สุตะนั้น
บทว่า นาสฺส สมฺปชฺชเต ได้แก่ ความว่า สุตกิจ ชื่อว่าไม่สมบูรณ์ เพราะกิจคือสุตะอันเขามิได้ทำ
บทว่า ธมฺมธร ได้แก่ เป็นผู้ทรงจำธรรม ที่ฟังแล้วไว้ได้
บทว่า สปฺปญฺ ได้แก่ มีปัญญาดี
บทว่า เนกฺข ชมฺโพนทสฺเสว ความว่า ทองคำธรรมชาติ เขาเรียกว่า ชมพูนุท ดุจแท่งทอง ชมพูนุทนั้น คือ ดุจลิ่มทองเนื้อ ๕
จบ อรรถกถาอัปปสุตสูตรที่ ๖