กรรมฐานมีธาตุเป็นอารมณ์.. จตุธาตววัฏฐาน [วิสุทธิมรรคแปล]

 
JANYAPINPARD
วันที่  29 ก.ย. 2552
หมายเลข  13759
อ่าน  3,909

ย่อหัวข้อมาจาก วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ หลักสูตรเปรียญ หน้า16

จตุธาตววัฏฐาน คือ ธาตุมนสิการ (ความทำในใจโดยความเป็นธาตุ) ธาตุกรรมฐาน (กรรมฐานมีธาตุเป็นอารมณ์) จตุธาตุววัฏฐาน (การวิเคราะห์ดูธาตุ ๔) มีความหมายอันเดียวกัน จตุธาตุววัฏฐานนี้นั้น มี ๒ อย่าง คือ อย่างสังเขป ๑ อย่างพิสดาร ๑ จตุธาตุววัฏฐานอย่างสังเขปนั้นมีในมหาสติปัฏฐานสูตร โดยเป็นธรรมสำหรับผู้เจริญธาตุกรรมฐานที่มีปัญญากล้า อย่างพิสดารมีในมหาหัตถิปทุปมสูตร ราหุโลวาทสูตร และธาตุวิงภังคสูตร โดยเป็นธรรมสำหรับผู้เจริญธาตุกรรมฐานที่มิใช่ผู้มีปัญญากล้านัก

ภาวนานัย - การเจริญภาวนา

1. โดยสังเขป

2. โดยพิสดาร แยกการเจริญกรรมฐานโดยอาการ ๔ อย่าง

2.1 โดยสสัมภารสังเขป (สังเขปโกฏฐาสทั้งหลายเข้าเป็นหมู่ๆ ตามอาการของธาตุนั้นๆ )

2.2 โดยสสัมภารวิภัติ (จำแนกโกฏฐาสแห่งธาตุนั้นๆ ออก กำหนดอาการไปทีละอย่าง)

2.3 โดยสลักขณสังเขป (สังเขปโกฏฐาสทั้งหลายเข้าเป็นหมู่ๆ ตามลักษณะของธาตุนั้นๆ )

2.4 โดยสลักขณะวิภัติ (จำแนกโกฏฐาสแห่งธาตุนั้นๆ ออก กำหนดลักษณะไปทีละอย่าง)

3. มนสิการโดยอาการ ๑๓ ก็ได้ พึงมนสิการธาตุทั้งหลายโดยอาการเหล่านี้ก็ได้คือ

1. โดยความของคำ

2.โดยกลาป (คือเป็นกลุ่ม)

3.โดย (ย่อมให้) เป็นจุณ

4.โดยอาการมีลักษณะเป็นต้น

5.โดยสมุฏฐาน

6.โดยความต่างกันและความเป็นอัน เดียวกัน

7.โดยแยกกันได้และแยกกันมิได้

8.โดยที่เข้ากันได้แลเข้ากันไม่ได้

9.โดยความแปลกกันแห่งธาตุภายในกับธาตุภายนอก

10.โดยรวม (ที่เหมือนกัน) เข้าด้วยกัน

11.โดยเป็นปัจจัย (ของกันและกัน)

12. โดยไม่มีความคิดคำนึง

13.โดยจำแนกปัจจัย

อานิสงส์แห่งธาตุววัฏฐาน ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งจตุธาตุววัฏฐานนี้ ย่อมจะหยั่งลงถึงสุญญตา (ความว่างจากตัวตน) ถอนสัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสัตว์บุคคล) เสียได้ เพราะถอนสัตตสัญญได้ เธอไม่ถึงกำหนดแยก ว่าพาฬมฤค ว่ายักษ์ ว่ารากษส เป็นต้น ย่อมเป็นผู้ข่มความกลัวภัยได้ ข่มความยินร้ายและยินดีได้ ไม่ถึงซึ่งความฟูขึ้นและความยุบลงในเพราะอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลาย อีกทั้งจะเป็นผู้มีปัญญามาก มีพระอมตะ (นิพพาน) เป็นที่สุด หรือมิฉะนั้นก็จะมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแล


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ