หลักความเสมอภาคกันของมนุษย์ขัดกับพุทธศาสนาหรือไม่

 
Sam
วันที่  29 ก.ย. 2552
หมายเลข  13766
อ่าน  6,599

เท่าที่ผมได้ศึกษา และสนทนาธรรม ประเด็นที่ได้เรียนรู้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง

ของความแตกต่าง เช่น บุคคลต่างกันไปตามการสะสมของกรรมและกิเลส และผลทั้ง

หลายแตกต่างกันเพราะเหตุที่ต่างกัน

เมื่อมีคำถามจากคนรู้จัก เกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกัน (ซึ่ง

ผมคิดว่าน่าจะรวมไปถึงความยุติธรรมในสังคม) ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา

ผมจึงอยากจะขอความกรุณาทุกท่านช่วยแสดงทรรศนะ และให้ความคิดเห็นในเรื่องนี้

เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและพิจารณาต่อไปครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 29 ก.ย. 2552

ความคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกันในสังคม คงเป็นเพียงแค่ความคิดเท่านั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายมีเหตุที่สะสมมาต่างกัน ผลที่เกิดขึ้นย่อมต่างกัน

จะให้ทุกๆ คนมีความสุข มีความทุกข์เสมอกัน มีอะไรทุกอย่างเท่ากันหมดคงเป็นไปไม่

ได้ แม้แต่เทวดา และพระพรหมยังมีความต่างกันด้วยอายุ วรรณะ เป็นต้นต่างกันครับ

แต่ถ้าลึกลงไปกว่านั้นก็คือ สัพพสิ่งเสมอกันโดยความเป็นธาตุ เป็นเพียงธัมมะเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 29 ก.ย. 2552


การเกิดในภพภูมิที่ต่างๆ กัน ย่อมเป็นไปตามกรรม กรรมหนึ่งกรรมใดที่ได้กระทำแล้วในอดีตทำให้เกิด ไม่มีใครรู้ว่าการเกิดในสุคติภูมิ เช่นเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้เป็นผลของทาน หรือเป็นผลของศีล หรือเป็นผลของการเจริญภาวนา ส่วนการเกิดใน

นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย หรือสัตว์ดิรัจฉานก็เป็นผลของอกุศลกรรม เมื่อเกิดมา

แล้วแต่ละคนก็ยังสุข ทุกข์ต่างกัน แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันมากมาย ส่วนมนุษย์ก็มีหน้าตาผิวพรรณ รูปร่างแตกต่างกัน ที่แตกต่างกันก็ต่าง

กันตามความวิจิตรของกรรม สภาพธรรมที่เกิดขึ้นล้วนเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย

ที่ได้กระทำไว้แล้วทั้งสิ้น ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 29 ก.ย. 2552

เท่าที่เคยศึกษา...
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน เรื่องกรรมและผลของกรรม ไว้มากเช่นสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นแดนเกิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นของของตน ฯสัตว์โลก เป็นที่ดูผลของบุญและบาป ฯ

เป็นต้น.
.

ตราบใดที่ทุกสรรพชีวิต ไม่รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ผล ย่อมมาจาก เหตุอันสมควรแก่ผล และ ไม่เข้าใจ ว่า กรรมเป็นสภาพธรรมที่ปกปิดและยังมีความยึดถือในสภาพธรรมว่าเป็นเรา-เป็นเขาอย่างเหนียวแน่นที่สำคัญคือ ยังไม่รู้หนทางที่จะละคลายความยึดมั่นนั้นด้วยความสงบสุขอย่างแท้จริงจะมีได้อย่างไรถ้ายังเป็น "ปุถุชน" อยู่.!
.
นานมาแล้ว.........มนุษย์พยายามแสวงหา ความเสมอภาค ความยุติธรรมแสวงหาความสุขจากภายนอก แต่ไม่ได้ศึกษาเข้ามาที่ภายใน.............เช่น มีความพยายามศึกษา หาหลักในการปกครองสังคมที่ดีที่สุด โดยนักคิดต่างๆ เพื่อให้ทุกคนเสมอภาค (โดยคิดเอาเอง) แต่เมื่อนำมาใช้จริง...ก็เป็นไปไม่ได้.!
.
และจากการศึกษาอีกเช่นกัน ข้าพเจ้าเข้าใจ ว่า........พระพุทธศาสนา ไม่ขัดกับความเสมอภาคถ้าคำว่าเสมอภาคในที่นี้ คือ เสมอกัน โดยความเป็นนามธรรม และ รูปธรรมและ สิ่งที่ ยุติธรรม เสมอ...คือ กรรมและผลของกรรม.
แต่ การ "ยุติ" ความคิด ความเห็นที่ผิด โดยเห็นถูกตามความเป็นจริง ว่าทุกอย่างเป็น "ธรรม" ได้จริงๆ นั้นคุณแซม เข้าใจว่าหมายถึง ".....?" หรือคะ.ขอร่วมสนทนาด้วยค่ะ.
....................???...................

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 29 ก.ย. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 29 ก.ย. 2552

ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความยุติธรรม

ล้วนเป็นเพียงบัญญัติ

ทุกชีวิตน่าจะมีสิ่งที่เท่าเทียมอย่างเดียว คือ เวลา

หรือ ปัจจุบันขณะของจิตเกิดดับที่เท่ากัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 30 ก.ย. 2552

ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกัน (ซึ่งผมคิดว่าน่าจะรวมไปถึงควายุติ

ธรรมในสังคม) ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ..

หากกล่าวกันในแง่ของกฏหมายหรือสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ให้

ทุกคนได้รับสิทธิเสมอกันแต่ตามความเป็นจริงเช่นในทางกฏหมายผู้ที่ไม่มีความผิด

อาจถูกตัดสินลงโทษได้..เพราะอะไรหากไม่ใช่ผลของกรรม.ทุกสิ่งที่กำหนดโดย

มนุษย์..เป็นเพียงบัญญัติซึงแปรเปลี่ยนได้...แต่กรรมและผลของกรรมเป็นสิ่งที่แปร

เปลี่ยนไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงเป็นปรมัติสัจจะ....กรรมยุติธรรมเสมอให้ผลโดย

เสมอภาคไม่เลือกชั้นวรรณะ เส้นใหญ่หรือเส้นเล็กตามควรแก่เหตุไม่ว่าต่อหน้าหรือ

ลับหลัง

.เชิญคลิกอ่าน.....กรรมยุติธรรมเสมอ

หลักความเสมอภาคกันของมนุษย์ขัดกับพุทธศาสนา..?

พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักทุกอย่างตาม

ความเป็นจริงและยอมรับสิ่งที่มีอยู่จริง.... สอนโดยผู้มีปัญญาสูงสุด

ในโลก...แต่ความเสมอภาคของมนุษย์กำหนดโดยใคร...จะเทียบกับความเสมอภาค

และยุติธรรมของพระธรรมซึ่งผู้ถ่ายทอดพระผู้มีพระภาคเจ้าได้หรือไม่....

ดังนั้นความเสนอภาคของมนุษย์จะมีเท่ากันกันเมื่อกระทำกรรมเหมือนกันเท่ากันเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สามารถ
วันที่ 1 ต.ค. 2552

ผมเห็นว่าทุกชีวิตเสมอกันนะครับ

ทุกชีวิต เสมอกันด้วย รูป ที่ไม่รู้อะไร

และ เสมอกันด้วย นาม ที่เพียงรับรู้

และ เสมอกันด้วย ไตรลักษณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คงต้องแยกว่าอะไรเสมอกัน อะไรไม่เสมอกัน

เสมอกันด้วยสภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เสมอกันเพราะเป็นสิ่งที่จริง เหมือนกันในแต่ละบุคคล เสมอด้วยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

ไม่เสมอกันคือกิเลสที่สะสมมา อัธยาศัยของแต่ละบุคคล ปัญญาของแต่ละบุคคล

ส่วนจะขัดกับหลักความเสมอภาคที่บัญญัติกันขึ้นมาหรือไม่นั้น คงไม่ขัดเพราะความเสมอกันที่เป็นธรรมนั้นเป็นสัจจะความจริง ไม่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่มนุษย์บัญญัติต่างหากที่ขัดกับหลักความจริง สำคัญว่ามีชาย หญิง สำคัญว่ามีเรา จึงสำคัญผิดต่อไป ว่าต้องเป็นอยางนั้นอย่างนี้ แท้ที่จริงก็เป็นเพียงธรรมเท่านั้นะครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
majweerasak
วันที่ 2 ต.ค. 2552

นับเหตุการณ์ เพียงชาติเดียวดูเหมือนไม่ยุติธรรม ไม่เสมอภาค

ถ้านับเหตุการณ์ทั้งหมดในสังสารวัฏฏ์ กรรมและการให้ผลของกรรม ย่อมยุติธรรม ย่อมเสมอภาค ผลย่อมสมควรแก่เหตุ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 6 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 7 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ