ความไม่เที่ยง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความใน มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรคนันทโกวาทสูตร ข้อ ๗๖๖ - ๗๙๔ มีข้อความว่าความไม่เที่ยง ของสังขารทั้งหลายอุปมา เหมือนประทีปน้ำมัน ที่กำลังติดไปอยู่น้ำมัน ก็ไม่เที่ยง ไส้ ก็ไม่เที่ยงเปลวไฟ ก็ไม่เที่ยง แสงสว่าง ก็ไม่เที่ยง ท่านไม่ได้อุปมา เฉพาะน้ำมัน หรือ ไส้ เท่านั้น แต่ ท่านยังอุปมาถึง เปลวไฟ และ แสงสว่าง ด้วย ว่า เมื่อ น้ำมันกับไส้ ไม่เที่ยงแล้วเปลวไฟและแสงสว่าง ก็ไม่เที่ยง เหมือนกัน
ซึ่ง ความไพเราะของอุปมานี้ ชี้ให้เห็นว่า เมื่อวัตถุใดๆ ไม่เที่ยง แล้วสิ่งที่มองเห็น เช่น เปลวไฟ และ แสงสว่าง นั้น ก็ย่อม ไม่เที่ยง เช่นเดียวกันเพราะว่า เปลวไฟก็ดี หรือ แสงสว่างก็ดี จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยน้ำมัน และ ไส้ เป็น "ปัจจัย" ซึ่งกันและกัน
เมื่อน้ำมัน หมดไปแล้ว ไส้ หมดไปแล้วเปลวไฟ และ แสงสว่าง ก็ต้องดับหมดไปและ ความจริงนั้น ถึงแม้ว่า ในขณะที่เปลวไฟ ยังปรากฏอยู่นั้นน้ำมัน ไส้ เปลวไฟ และ แสงสว่าง ก็ดับไป และ เกิดต่ออยู่เรื่อยๆ ทุกขณะจนกว่า น้ำมัน และ ไส้ จะหมดสิ้นไปเปลวไฟและแสงสว่าง จึงดับหมดสิ้นไปด้วย
ใน นันทโกวาทสูตร ท่านยังอุปามา ให้เห็นถึง "ความไม่เที่ยง" ของสิ่งทั้งหลาย ที่เกิดขึ้น ว่าเปรียบเหมือนต้นไม้ ที่มีแก่น ตั้งอยู่ราก ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไป เป็นธรรมดาลำต้น ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดากิ่ง และ ใบ ก็ไม่เที่ยง แปรปวรไป เป็นธรรมดา. ซึ่งก็เป็นความไพเราะของการอุปมาโดยละเอียด ว่า นอกจาก ลำต้น และ กิ่งใบ ไม่เที่ยง แล้วแม้ "เงา" ของต้นไม้นั้น ก็ย่อม ไม่เที่ยง ด้วย ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ที่ปรากฏให้เห็นได้สิ่งที่ปรากฏให้เห็น นั้นก็ย่อมเป็นแต่เพียง "สีสัน วัณณะ" ต่างๆ เท่านั้นเอง
ดังนั้น ความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ของสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเราประสบอยู่ทุกๆ วัน เช่น "สี" สิ่งที่ปรากฏรวมกันอยู่นั้นความจริงแล้ว มีลักษณะที่ต่างกันเป็นแต่ละลักษณะ แต่ละประเภท การรู้รวมๆ กันว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นวัตถุ สิ่งนั้น สิ่งนี้ ฯลฯทำให้เข้าใจผิด และ ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น. ขณะที่เห็นและ รู้ ว่าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั้นเป็นเพียง "สี" ซึ่งปรากฏทางตา เท่านั้น ฯ
เมื่อ รู้ ตามความเป็นจริง อย่างนั้น ก็ทำให้เกิดการละคลาย ความยึดมั่น ในสีสันวัณณะต่างๆ ที่ยึดถือ ว่าเป็นสัตว์คคล ตัวตน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เรามีความสันโดษ คือ มีความพอใจ ในสิ่งที่เราได้รับถ้าเราได้รับในสิ่งที่ดี หรือ "สี" ที่ดีๆ เราก็จะไม่หลงไหลจนเกินไป เพราะรู้ ตามความเป็นจริง ว่า "สี" นั้น ต้องเสื่อมสลาย แปรปรวน แตกทำลายไป เป็นธรรมดา
ขณะที่ รู้ ถูกต้องตามความเป็นจริง ขณะนั้น เป็น "ปัญญา" "ปัญญา" เป็น "ความรู้ที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง" ในสิ่งที่ปรากฏ.
ข้อความบางตอนจากหนังสือ "บทสนทนาธรรม" โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ขออนุโมทนาขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และ สรรพสัตว์.