อธิบายธรรมเป็นกุศลติกที่ ๑
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151
อธิบายธรรมเป็นกุศลติกที่ ๑
บัดนี้ เป็นการพรรณนาบทตามบทมาติกา มีคำว่า กุสลา ธมฺมา
เป็นต้นนี้. กุศลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ
ความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก. จริงอยู่ กุศลศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า
ความไม่มีโรค ดังในประโยคมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสล กจฺจิ โภโต
อนามย (ความไม่มีโรค มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ ความไม่ป่วยไข้ มีแก่
ท่านผู้เจริญบ้างหรือ) .
ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโทษ ดังในประโยคมีอาทิว่า กตโม ปน
ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช กายสมาจาโร อนวชฺโช...
(ข้าแต่ท่านพระอานนท์ กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อนมหาบพิตร
กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อ
ธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ) .
ใช้ในอรรถว่า ความฉลาด ในประโยคมีอาทิว่า กุสโล ตฺว รถสฺส
องฺคปจฺจงฺคานกุสลา นจฺจคีตสฺส สุสิกฺขตา จตุริตฺถิโย (ท่านเป็นผู้ฉลาด
ในเครื่องประกอบของรถ และคำว่า หญิง ๔ คน ศึกษาดีแล้ว เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง) .
ใช้ในอรรถว่า สุข ดังในประโยคมีอาทิว่า กุสลานภิกฺขเว ธมฺมาน
สมาทานเหตุ กุสลสฺส กมฺมสฺส กตตฺตา (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็นสุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก) ในที่นี้กุศลศัพท์ควรใช้ในอรรถว่า ไม่มีโรคบ้าง ไม่มีโทษบ้างในสุขวิบากบ้าง.