ไม่มี...แล้วมี...แล้วหามีไม่

 
พุทธรักษา
วันที่  4 ต.ค. 2552
หมายเลข  13847
อ่าน  1,719

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การที่จะรู้จักตัวจริงของสภาพธรรม ที่เราเรียนกันมานาน และเรียนจากคัมภีร์ต่างๆ นั้นจะเป็นการรู้จริง ก็ต่อเมื่อสติ เกิด ระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง

เมื่อ ความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรม เพิ่มขึ้นชื่อ ทั้งหมดในพระไตรปิฎก ก็จะกระจ่าง ตามปัญญาของผู้ที่อบรม แม้แต่ พยัญชนะสั้นๆ ที่ว่า "ไม่มี แล้วมี แล้วหามีไม่"
เมื่อครู่นี้ ไม่มีเสียง แล้วมีเสียง แล้วเสียงก็หมดไป ไม่มี แล้วมี แล้วหามีไม่

สภาพธรรม ทั้งนามธรรม และ รูปธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับไป "อย่างรวดเร็วมาก"
เพราะฉะนั้น เมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดขึ้น ความทรงจำเรื่องราวของสิ่งนั้น ก็ ปกปิด ไม่ให้รู้ถึงการเกิดขึ้น และ ดับไปของสภาพธรรมทั้งหลายตามปกติ ตามความเป็นจริง และ ยังคงทรงจำ ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เที่ยง

การฟังธรรม ต้องไตร่ตรอง ให้ลึกลงไปอีกไม่ใช่ฟังเรื่องใด แล้วทิ้งไปเลย.!แต่ทุกคำ ที่ฟังเข้าใจ ต้องเก็บไว้เพื่อที่จะได้เข้าใจให้สอดคล้องกับข้อความต่อไปอีก

แม้แต่คำว่า "ไม่มี...แล้วมี...แล้วหามีไม่" ก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก ถ้าจะไม่พูดตามตำรา คือ ไม่ใช้คำภาษาบาลีแต่ ใช้คำที่เราสามารถเข้าใจได้ พยัญชนะนี้ หมายความว่า
เมื่อไม่มี....แล้วทำไมจึงมี "สิ่งที่ปรากฏ" ได้ นี่เป็น ความน่าอัศจรรย์ ของ "ธาตุ" ซึ่ง ไม่ใช่เรา

ธาตุแข็ง มี ธาตุเสียง มี ธาตุกลิ่น มี ธาตุร้อน ธาตุเย็น มี ธาตุโกรธ ธาตุโลภะ มี ฯลฯ ทุกอย่างที่มีจริง เป็น "ธาตุ" เพราะ คำว่า "ธรรม" กับคำว่า "ธาตุ" มีความหมายอย่างเดียวกัน เป็น "ธาตุ" เพราะเหตุที่ไม่มีเจ้าของ ไม่เป็นของใคร และ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่ละลักษณะ ของ ธาตุต่างๆ มีลักษณะเฉพาะของตน เช่น ธาตุเห็น ไม่ใช่ธาตุได้ยิน ธาตุแข็ง ไม่ใช่ธาตุกลิ่น เป็นต้น

เมื่อใด ที่ "รู้ชัด" ตามความเป็นจริง ว่าทุกอย่างที่มีจริงเป็นเพียง "ธาตุ" แต่ละอย่างๆ เท่านั้น ทั้งหมด เป็น "ธาตุ" ไม่มีใครเลย เมื่อนั้น ก็เป็น "ปัญญา" ที่รู้ ความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัจจัยให้สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็เกิด สภาพธรรมเกิดขึ้น เพราะ "เหตุปัจจัย"

หน้าที่ของ "สติ" นั้น เมื่อเกิดขึ้น ก็ระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง และ "ปัญญา" รู้ ลักษณะของสภาพธรรมคือ นามธรรม หรือ รูปธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น

"สติปัฏฐาน" จึงเป็น การระลึก รู้ ตรงลักษณะของ นามธรรม และ รูปธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน "สติปัฏฐาน" จึงไม่ใช่เรื่องทำ แต่เป็น "ความเข้าใจ"

ข้อความบางตอนจากหนังสือ "พุทธธรรม" โดย พระธนนาถ นิธิปญฺโญ (พลกรรณ์)

ขออนุโมทนาขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และ สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
uls
วันที่ 4 ต.ค. 2552

เป็นเรื่องยากมากในการทำความเข้าใจ แต่ก็จะพยายาม

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
hadezz
วันที่ 5 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
jujuju
วันที่ 5 ต.ค. 2552

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อภิรดี
วันที่ 8 ธ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

อ่าน ฟัง ศึกษา พิจารณา

กว่าจะเข้าใจ ระยะทางไกลแสนไกล

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
p.methanawingmai
วันที่ 19 ก.ค. 2560

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ