ถ้าจะพูดเรื่องไร้สาระ ก็นิ่งไม่พูดเสียดีกว่า

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  4 ต.ค. 2552
หมายเลข  13856
อ่าน  8,507

ถ้าจะพูดเรื่องไร้สาระ ก็นิ่งไม่พูดเสียดีกว่า โดยที่ว่าไม่ต้องลำบากเดือดร้อนใจ เพราะเหตุว่าการไม่พูดนั้น ไม่มีเรื่องที่จะทำให้ผู้อื่นเกิดโลภะ โทสะ หรือ อกุศลต่างๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 5 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บัณฑิตทึ่ม
วันที่ 5 ต.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
jujuju
วันที่ 5 ต.ค. 2552

การไม่พูดเรื่องไร้สาระหรือการพูดน้อยๆ ก็อาจจะทำไห้เกิดสติสัมปชัญญะได้มากกว่าการที่ชอบพูด การปฏิบัติธรรมเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ถ้ามีโอกาสลองอยู่คนเดี่ยวแล้วลองสังเกตดูสิคะ

ขอกราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 6 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 6 ต.ค. 2552

อยากจะขอให้ท่านผู้ที่นิ่งแทนการพูดเรื่องไร้สาระกับคนอื่น ช่วยแสดงทรรศนะเพิ่มเติมครับ เพราะในชีวิตจริงนั้น การนิ่งเช่นนี้ในขณะที่เราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ เพราะมักเป็นเหตุให้เดือนร้อนใจอยู่เสมอๆ เช่นการถูกมองว่าหยิ่ง หรือเป็นคนที่เข้าใจยาก .....

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 6 ต.ค. 2552

การที่ท่านกล่าวว่า .....

.... เพราะในชีวิตจริงนั้น การนิ่งเช่นนี้ในขณะที่เราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยครับ เพราะมักเป็นเหตุให้เดือนร้อนใจอยู่เสมอๆ เช่น การถูกมองว่าหยิ่ง หรือเป็นคนที่เข้าใจยาก ....

เห็นด้วยค่ะ ว่า เป็นเรื่องที่ยาก แทบจะเป็นไปไม่ได้แต่ ไม่ได้หมายความว่า เป็นไปไม่ได้ ใช่ไหมคะ.? ถ้าสติเกิด ก่อนที่จะพูด ปัญญา ย่อมรู้ว่า สิ่งใดควรพูด สิ่งใดไม่ควรพูด. การพูดเรื่องไร้สาระ นั่นแหละ มักจะเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนใจอยู่เสมอๆ เพราะเรื่องไร้สาระ คือเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ส่วนใหญ่ ก็พูดด้วยอกุศลจิตเป็นเหตุให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ใครจะมองว่าเราเป็นอย่างไร เป็นเรื่องของคนอื่นสุดแต่ใจใครจะคิด ตามการสะสมของเขาแต่การพูดสิ่งใดของเรา เพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไร หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามการสะสมของเราเองว่า สะสมมาที่จะพูดดี หรือ ไม่ดีและที่สำคัญ คือ ไม่มีใครรู้ใจเราเท่ากับตัวเราเอง ถ้าเราจะพิจารณาจริงๆ พระผู้มีพระภาคฯ สอนให้เราเห็นโทษของอกุศลธรรม เพื่อละคลายอกุศลธรรม ตามกำลังปัญญาของตนและ สิ่งที่ควรพิจารณา คือ อกุศลของตนเอง ค่ะ

ท่านอาจารย์กรุณาบรรยายไว้เรื่องการพูดตอนหนึ่ง ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์ ควรค่าแก่การพิจารณาค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 7 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 7 ต.ค. 2552

มีน้องที่ทำงานคนหนึ่ง มักยิ้มน้อยๆ อย่างจริงใจเพื่อที่จะไม่แสดงความคิดเห็น คนส่วนมากชมว่าเธอเป็นคนน่ารัก ไม่มีปากเสียง (ส่วนใจเธอจะคิดยังไง ไม่ทราบได้)

มีน้องอีกคน ทำงานหนัก ปากกว้าง เสียงดัง ช่างแสดงความคิดเห็น กล้าสวนคำพูด คนส่วนใหญ่ก็ชมว่าแข็งขัน ทำงานจริงจัง ปากร้าย แต่มีน้ำใจช่วยใครๆ หมด

แต่ว่า ทั้งคนพูดน้อยและคนพูดมาก คนพูดดีหรือคนพูดไม่มีสาระ ต่างมีโอกาสที่จะถูกชมและโดนนินทาได้ทั้งนั้นค่ะ อันที่จริงก็เป็นเรื่องของเขา เรื่องของเรา (แม้จะไม่มีเรา หรือเขา หรือใคร) คือ เข้าใจตัวเองว่ามักเดือดร้อนใจตน ด้วยความคิดกังวลไปเอง...ในคำพูดหรือความคิดเห็นของคนอื่น (ตัวดิฉันเองค่ะ เพราะบางทีก็ใส่ใจ หรือมีหลายหนที่ก็ไม่สนซะเฉยๆ)

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
apiwattano
วันที่ 22 ต.ค. 2552

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง มิใช่จะแปลว่าไม่ให้พูดเอาเสียเลย ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ว่าควรจะพูดอะไรออกไป

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
homenumber5
วันที่ 25 ต.ค. 2552

ถ้าจะพูดเรื่องไร้สาระ ก็นิ่งไม่พูดเสียดีกว่า โดยที่ว่าไม่ต้องลำบากเดือดร้อนใจ เพราะเหตุว่าการไม่พูดนั้น ไม่มีเรื่องที่จะทำให้ผู้อื่นเกิดโลภะ โทสะ หรือ อกุศลต่างๆ

ดิฉันเป็นคนชอบคุยโดยปกติ ครั้นได้เข้ากลุ่มสิกขาธรรม ทราบว่า การกระทำทางกาย วาจา ของเรา ที่ทำประจำเคยชินล้วนมาจาก อกุสลจิต ๑๒ ทั้งนั้นเพราะสะสมมานาน เมื่อเริ่มสิกขาธรรมของพระพุทธเจ้าเรื่องอกุสลกัมบถ ๑๐ ต้องหยุดการคุยปกติ ทุกครั้งที่จะพูด ต้องไตร่ตรองเกรงว่าเข้าข่ายอกุสลกัมบถ ๑๐ คือ วจีกรรม ๔ ได้แก่ มุสาวาจา ปิสุณวาจา สัมผัปปลาปา และผรุสาวาจาค่ะ การเข้าสังคมเป็นโลกียวิสัย เป็นเรื่องทางโลก ล้วนๆ หากเป็นเรื่องงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการยังชีพ ต้องคุยตามที่เรียนรู้มา หากไม่เกี่ยวกับงานที่ตนเองทำ จะพยายามไม่แสดงความคิดเห็น ไม่แม้แต่พยักหน้า ส่ายหน้า คือ พยายามสำรวมวาจาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pamali
วันที่ 6 ส.ค. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
kukkik
วันที่ 22 ส.ค. 2553

ต่อไปเราควรจะนิ่งทุกอย่างคงจะดีเอง บางสิ่งบางอย่างที่เรารู้อยู่เต็มอกอย่าโวยวายไปเลยหากเราพูดออกไปเราเหมือนกำลังแสดงความโง่อยู่นิ่งเราคงได้รู้อะไรอีกมากมาย
ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
สายธาร
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งค่ะ ที่ชอบพูด มีสาระบ้างไม่มีบ้าง แต่พอได้ศึกษาธรรมะที่เป็นคำสอนต่างๆ ทำให้เรียนรู้ว่า การพูดก็ควรพูดแบบพอดี แต่ไม่ใช่ไม่พูดเสียเลย การนิ่งไม่ได้แปลว่าเราหยิ่ง แต่การนิ่ง บางครั้งแสดงถึงการเป็นผู้ฟังที่ดี และให้เกียรติผู้พูด เพราะบางครั้งเรื่องที่เราพูดไปแล้วเราไม่รู้จริง เราก็หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องนั้นเสีย นี่ก็คือการนิ่งแบบหนึ่ง อีกอย่างหากเราพูดในสิ่งที่เราไม่รู้จริงอาจถูกผู้อื่น นินทาเสียได้ กลายเป็นคนพูดพล่อยๆ ไปเสียอีก เพราะฉะนั้น การนิ่ง คือการสำรวมกาย วาจา และใจ ที่ดีอีกอย่างหนึ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
เข้าใจ
วันที่ 4 พ.ค. 2555

ไม่เข้าใจ ถ้าไม่รู้แล้วนิ่งจะได้ความเข้าใจจากที่ไหน ถ้าพูดเรื่องอกุศลหรือคิดอกุศล คำพูด และความคิดนั้นก็คงต้องเป็นอกุศลของตนเอง ผู้อื่นคิดอกุศลก็เป็นอกุศลของผู้อื่นไป ผู้พูดสร้างเหตุอกุศลหรือ ผู้ฟังๆ ด้วยอกุศล เราทำอกุศลให้คนอื่นได้ด้วยหรือ ไม่เข้าใจ ก็ขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่กรุณาแบ่งปันครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Wiyada
วันที่ 15 พ.ค. 2566

เมื่อศึกษาพระธรรมเข้าใจมากขึ้น ชีวิตก็เป็นไปกับการตรึกตรองระลึกถึงธรรมมากขึ้น การพูดถึงเรื่องราวของบุคคลอื่น การพูดเรื่องต่างที่เกิดจากความคิดไปต่างๆ นานา เรื่องราวต่างๆ ในโลก เรื่องหนัง เรื่องละคร เรื่องข่าวต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลดลงไปเอง รวมถึงคำพูดที่ไม่จริงก็จะค่อยๆ เว้นไปเอง ถ้ามีธุระหรือเหตุที่ต้องทำให้ต้องพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ ก็พูดเท่าที่จำเป็น ถ้าคิดจะพูดเรื่องบางอย่างถ้าระลึกได้ว่าไม่ได้มีสาระอะไรก็จะไม่พูด ทั้งนี้ตนเองย่อมรู้ดีว่าเหตุที่ไม่พูดเพราะเหตุใด ไม่ได้ไปบังคับตัวเองว่าจะไม่พูดกับใคร แต่แม้คิดจะพูดหรือพูดไปแล้วบางครั้งก็อาจจะระลึกได้ว่าพูดด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ