กรรม และ การให้ผลของกรรม

 
พุทธรักษา
วันที่  5 ต.ค. 2552
หมายเลข  13861
อ่าน  1,913

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความ ในอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ธัมมปริยายสูตร ข้อ ๑๙๓

พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยาย อันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสน แก่เธอทั้งหลายเธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับคำของพระผู้มีพระภาคฯ แล้วพระผู้มีพระภาคฯ ได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลายธรรมปริยาย อันเป็นเหตุของความกระเสือกกระสน เป็นไฉน

ดูกร ภิกษุทั้งหลายสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้รับผลของกรรมเป็นผู้มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรม เป็นพวกพ้องและ มีกรรม เป็นที่พึ่งอาศัยกระทำกรรมใดไว้ เป็นกรรมดีหรือชั่วก็ตามย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น


"กรรม" คือ เจตนา ที่เป็นกุศล หรือ อกุศลซึ่งเป็น "เหตุ" ให้กระทำกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม และถึงแม้ว่า กรรมนั้น จะดับไปแล้วกำลังของกรรม ที่ได้กระทำแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิด"ผล" ตามควรแก่ "เหตุ" การให้ผลของกรรมนั้นให้ผลได้ทั้งในชาติที่ได้กระทำกรรมนั้นหรือ ในชาติหน้า หรือ ในชาติต่อๆ ไป ก็ได้ เพราะไม่ใช่ว่า กรรม ทุก กรรม จะให้ผลเฉพาะในชาตินี้ทั้งหมดทั้งนี้ ย่อมเป็นไปตามกำลังของกรรมนั้นๆ นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใด สามารถบอกได้ ว่า จิตเห็น หรือ จิตได้ยิน ... ในขณะนี้เป็น ผลของกรรมในชาตินี้ หรือ ชาติไหน เมื่อพูดถึง กรรม และ การให้ผลของกรรม เช่น การได้ลาภ เสื่อมลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้นตามความเป็นจริงนั้น เพราะว่า "จิต" ซึ่งเห็น หรือ ได้ยิน เป็นต้นจึงมีการรับผลของกรรม เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น

เพราะฉะนั้น การรับผลของกรรม มี ๕ ทาง คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายซึ่งหมายถึง จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้โผฏฐัพพะ "ธรรม" เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ เพราะว่า มีอยู่ ... เกิดอยู่ ... ปรากฏอยู่.!แต่ถ้าไม่ศึกษา และไม่มีมีความเข้าใจ เรื่องของ "ธรรม"ก็จะไม่มีทางรู้จัก "ธรรม" ได้เลย เช่น การรับผลของกรรม เกิดเมื่อไร ... ขณะไหน เมื่อพูดแต่เพียงผิวเผิน ว่า เมื่อทำกรรมก็ต้องรับผลของกรรมแต่บอกได้ไหม ว่า กรรมอะไร และ ผลของกรรมอะไร

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงไว้ว่าการรับผลของกรรม ... ในชาตินี้เริ่ม ขณะแรก คือ ... ขณะเกิด (ขณะปฏิสนธิจิต) ทุกคนเกิดมาต่างกัน และไม่ใช่มีแต่มนุษย์เท่านั้นยังมีสัตว์ประเภทต่างๆ ซึ่งมี จิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็น ผลของกรรม ที่ต่างกัน

ฯลฯ

กรรม เป็นเหตุ แต่ วิบาก เป็นผลของกรรมซึ่งไม่มีใครหนีพ้นกรรม และ ผลของกรรม เช่น ขณะที่เห็น.!จักขุวิญญาณ เป็น "ผลของกรรม" ซึ่งเป็นชั่วขณะที่สั้นมาก และเมื่อ จักขุวิญญาณ ดับไปแล้วหลังจากนั้น ก็เป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ซึ่ง ไม่ใช่ ผลของกรรม แต่ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต เป็น "เหตุ" ที่สะสมใหม่ ถ้า อกุศลจิต มีกำลัง จนทำให้เกิดการกระทำทุจริตกรรมขณะนั้น เป็น อกุศลกรรม ... ถ้าเป็นฝ่ายกุศล ก็เป็น กุศลกรรม ซึ่ง กุศลกรรม และ อกุศลกรรม ที่กระทำแล้วนั้นเป็น "เหตุ" ที่จะทำให้เกิด "ผลของกรรม" ต่อไป

ข้อความบางตอนจากหนังสือ "พุทธธรรม"

โดย พระธนนาถ นิธิปญฺโญ (พลกรรณ์)

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่ และ สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
hadezz
วันที่ 5 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
opanayigo
วันที่ 5 ต.ค. 2552

จนกว่าจะประจักษ์ ดุจน้ำไม่ติดใบบัว ฉะนั้น

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
SRPKITT
วันที่ 6 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 6 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 7 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Jans
วันที่ 7 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Komsan
วันที่ 7 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
อภิรดี
วันที่ 18 พ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
saifon.p
วันที่ 19 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ