ควรศึกษาเพื่อการดำรงพระศาสนาหรือไม่
การศึกษาพระธรรมแบบผิดๆ เสมือนการจับงูพิษที่ข้างหาง ส่วนการศึกษาที่ ถูกต้องนั้น เป็นไปเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจธรรม หรือเพื่อการดำรงพระศาสนา ซึ่งผม เคยมีความเข้าใจว่า การศึกษาเพื่อรักษาคำสอนสู่คนรุ่นต่อไปนั้น เป็นกิจของพระ อรหันต์ผู้ดับกิเลสหมดสิ้นแล้วเท่านั้น ในเวลานี้จึงมีข้อสงสัยครับว่า การศึกษาเพื่อ ดำรงพระศาสนานั้น จะเป็นกิจที่ควรสำหรับปุถุชนและพระเสขบุคคลด้วยหรือไม่ครับ
ในอรรถกถาอลคัททูปมสูตร อธิบายการศึกษาเพื่อรักษาพระสัทธรรมให้ดำรงอยู่ต่อไปนั้น เป็นการศึกษาของผู้จบกิจที่ควรทำในพระศาสนาแล้ว คือ เป็นการศึกษาของพระอรหันต์เท่านั้น ส่วนการศึกษาของพระเสกขบุคคล เพื่อการอบรมเจริญปัญญา สลัดตนออกจากวัฏฏะทุกข์
ส่วนการศึกษาของปุถุชน มี ๒ ประเภท คือ
๑.บางคนศึกษาเพื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรม
๒.บางคนเพื่อการโต้แย้ง เพื่อลาภยศ (จับงูพิษข้างหาง)
จากข้อความในอรรถกถาที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การศึกษาเพื่อรักษาพระศาสนา ของพระเสกขบุคคลกับปุถุชน ย่อมไม่มี เพราะ ไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นนั้น แต่ในทางพฤตินัย ขณะที่ศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน จุดประสงค์เพื่อการบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ก็ชื่อว่ารักษา หรือสืบทอดพระสัทธรรมในใจของตน ไปในขณะเดียวกัน สมดังพระบาลีในปัญจกนิบาติ ว่า การศึกษาโดยเคารพ การปฏิบัติตามโดยเคารพ ทำให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน ...
การศึกษาพระธรรม เป็นการสะสมเหตุที่ดี ... เป็นเครื่องอยู่ที่ดีกว่าเครื่องอยู่อย่างอื่นค่ะ.
ตราบใดที่ยังมีการศึกษาหรือปริยัติที่ถูกต้อง ก็เป็นการดำรงอยู่ของพระศาสนาการจดจำธรรมะไว้ได้มาก สามารถเกื้อกูลผู้อื่นได้การเข้าใจธรรมะได้มาก สามารถเกื้อกูลตนเองได้
การอันตรธานของพระศาสนา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167
อันตรธานมี ๕ อย่างคืออธิคมอันตรธาน อันตรธานแห่งการบรรลุ ๑ ปฏิปัตติอันตรธานอันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑ ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑.
จุดประสงค์ของการศึกษาธรรมเพื่อขัดเกลากิเลส เพื่อเป็นคนดี เพื่ออบรมปัญญาค่ะ
ศึกษาเพื่อเข้าใจความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ เมื่อไม่เข้าใจความจริงในขณะนี้ ศาสนาในใจของแต่ละคนก็ย่อมเสื่อมไป
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 466
๕. พราหมณสูตร
[๗๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบัณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์ คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกะพระผู้มี พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
[๗๗๘] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ ปรินิพพานแล้ว. และอะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.
[๗๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคล ไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ ไม่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว. และเพราะบุคคลเจริญ กระทำ ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต ปรินิพพานแล้ว. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย