ปิฎกเปรียบเหมือนตะกร้า
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 47-49
"ปิฎก" เปรียบเหมือนตะกร้า..จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำทั้งหลาย เป็นต้นว่า อย่าเชื่อโดยการอ้างตำรา ๑ แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำเป็นต้นว่า ลำดับนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามา ๒ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลาย ผู้รู้อรรถแห่งปิฎกกล่าวว่า ปิฎก โดยอรรถว่า ปริยัติ และภาชนะ
บัดนี้ พึงทราบอรรถแห่งบาทคาถาว่าเตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ วินยาทโย เญยฺยา โดยนัยอย่างนี้ ศัพท์แม้ทั้ง ๓ มีวินัย เป็นต้นเหล่านั้นอันบัณฑิต พึงย่อเข้าเป็นสมาสกับด้วยปิฎกศัพท์ ซึ่งมีอรรถเป็น ๒ อย่างนี้นั้น แล้ว พึงทราบอย่างนี้ว่า "วินัย" นั้น ด้วยชื่อว่าปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติและ เพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้นๆ เหตุนั้นจึงชื่อว่า "วินัยปิฎก"
"สูตร" นั้นด้วย ชื่อว่าปิฎกด้วย โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแล เหตุนั้น จึงชื่อว่า "สุตตปิฎก"
"อภิธรรม" นั้นด้วย ชื่อว่าปิฎกด้วย โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นเองเหตุนั้นจึงชื่อว่า "อภิธรรมปิฎก"
ก็ครั้นทราบอย่างนี้แล้วเพื่อความเป็นผู้ฉลาดโดยประการต่างๆ ในปิฎกเหล่านั้นนั่นแลแม้อีกบัณฑิต พึงแสดงความต่างแห่งเทศนา ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพในปิฎกเหล่านั้น ตามสมควร
ภิกษุ ย่อมถึงซึ่งความต่างแห่งปริยัติก็ดีสมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใด มีวินัยปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิตพึงประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้นทั้งหมด โดยประการนั้น
วาจา เครื่องแสดง และวาจา เครื่องประกาศ ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น ดังต่อไปนี้แท้จริง ปิฎกทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา และ ยถาปราธศาสน์ ยถานุโลมศาสน์ ยถาธรรมศาสน์ และว่า สังวราสังวรรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา และ นามรูปปริเฉทกถา ตามลำดับ
ความจริง บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ "วินัยปิฎก" ท่านให้ชื่อว่า "อาณาเทศนา" เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ควรแก่อาณา ทรงแสดงไว้ โดยเป็นปิฎกมาด้วยอาณา
"สุตตันตปิฎก" ท่านให้ชื่อว่า "โวหารเทศนา" เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในโวหาร ทรงแสดงไว้โดยเป็นปิฎก มากด้วยโวหาร
"อภิธรรมปิฎก" ท่านให้ชื่อว่า "ปรมัตถเทศนา" เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ฉลาดในปรมัตถ์ ทรงแสดงไว้ โดยเป็นปิฎก มากด้วยปรมัตถ์
อนึ่ง ปิฎกแรก ท่านให้ชื่อว่า ยถาปราธศาสน์ เพราะสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นผู้มีความผิดมากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสั่งสอนตามความผิด ในปิฎกนี้ ปิฎกที่สอง ท่านให้ชื่อว่า ยถานุโลมศาสน์ เพราะสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอัธยาศัย อนุสัย จริยา และอธิมุตติ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสั่งสอนตามสมควรในปิฎกนี้ ปิฎกที่สาม ท่านให้ชื่อว่า ยถาธรรมศาสน์ เพราะสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความสำคัญ ในสิ่งสักว่ากองธรรมว่า เรา ว่า ของเราพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสั่งสอนตามธรรม ในปิฎกนี้
อนึ่ง ปิฎกแรก ท่านให้ชื่อว่า สังวราสังวรกถา เพราะความสำรวมน้อยและใหญ่ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความละเมิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในปิฎกนี้ ปิฎกที่สอง ท่านให้ชื่อว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา เพราะการคลี่คลายทิฏฐิ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในปิฎกนี้ ปิฎกที่สาม ท่านให้ชื่อว่า นามรูปปริเฉทกถา เพราะการกำหนด นาม-รูป อันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีราคะเป็นต้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในปิฎกนี้
ก็แลให้ปิฎกทั้งสามนี้ บัณฑิตพึงทราบ สิกขา ๓ ปานะ ๓ คัมภีรภาพ ๔ ประการ จริงอย่างนั้น
อธิสีลสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษ ในพระวินัยปิฎก.อธิจิตตสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษ ในพระสุตตปิฎก.อธิปัญญาสิกขา ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษ ในพระอภิธรรมปิฎกอนึ่งความละ วีติกมกิเลส ท่านกล่าวไว้ใน "วินัยปิฎก" เพราะ ศีลเป็นข้าศึกต่อความละเมิดแห่งกิเลสทั้งหลาย ความละ ปริยุฏฐานกิเลส ท่านกล่าวไว้ ใน "สุตตปิฎก" เพราะ สมาธิ เป็นข้าศึกต่อปริยุฏฐานกิเลส ความละอนุสัยกิเลส ท่านกล่าวไว้ ในอภิธรรมปิฎกเพราะ ปัญญาเป็นข้าศึกต่ออนุสัยกิเลส
อนึ่งการละกิเลสทั้งหลาย ด้วยองค์นั้นๆ ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่งการละด้วยการข่มไว้ และตัดขาด ท่านกล่าวไว้ใน ๒ ปิฎก นอกนี้การละสังกิเลส คือ ทุจริต ท่านกล่าวไว้ ในปิฎกที่หนึ่งการละกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ ท่านกล่าวไว้ใน ๒ ปิฎก นอกนี้ก็บัณฑิตพึงทราบความที่พระพุทธพจน์ เป็นคุณลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และ โดย ปฏิเวธ ทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎก ทั้ง ๓ นี้ แต่ละอย่างๆ
ขออนุโมทนา