ทุกข์ของผู้เจริญแล้ว
ข้อความบางตอนจากเทปวิทยุ
ท่านอาจารย์ ทุกข์ที่เป็นอริยสัจ ไม่ใช่ทุกข์ที่เป็นปัญหาชีวิต ไม่ใช่ทุกข์เพราะความเดือดร้อนไม่ใช่ทุกข์เพราะความเสื่อมลาภเสื่อมยศ นินทาทุกข์เป็นต้น แต่เป็นทุกข์เพราะเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง เห็นชั่วขณะแล้วก็ดับ ได้ยินชั่วขณะแล้วก็ดับ คิดนึกชั่วขณะแล้วก็ดับ สุขชั่วขณะแล้วก็ดับ ทุกข์ชั่วขณะแล้วก็ดับ จึงรู้ว่านี้ทุกข์ คือสิ่งที่เกิดแล้วดับนั้นเองเป็นทุกข์...
อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เมื่อแสดงโดยกิจ ทุกขอริยสัจจ์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้คำว่าอุปาทานขันธ์ หมายถึงขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ๑ ขันธ์ที่เกิดจากอุปาทาน ๑ ขันธ์ ๕ ที่ว่านี้เป็นทุกขอริยสัจจ์ หมายถึง โลกียธรรมทั้งหมด โลกียธรรมทั้งหมดซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ
[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 364
เมื่อเธอทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔ ด้วยการแทงตลอดคราเดียวกัน ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้คราวเดียวกัน คือแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดคือการกำหนดรู้ (ปริญญากิจ) ย่อมแทงตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอด คือการละ (ปหานกิจ) ย่อมแทงตลอดนิโรธ ด้วยการแทงตลอดคือการทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยากิจ) ย่อมแทงตลอดมรรคด้วยการแทงตลอดคือการเจริญ ย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้คือการกำหนดรู้ ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้คือการเจริญ.