คนบริโภคมากเกินไป ย่อมมีทุกข์อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ -
หน้า 243
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร คนบริโภคมากเกินไป ย่อมมีทุกข์อย่างนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก มักง่วง และมัก นอนหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ ที่ถูก ปรนปรือด้วยอาหารฉะนั้น ในกาลนั้น เขาเป็นคน มึนซึม ย่อมเข้าไปถึงห้องร่ำไป." แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺธี ความว่า ผู้อันความท้อแท้และความง่วงเหงาครอบงำ. บทว่า มหคฺฆโส ความว่า ผู้บริโภคมาก เหมือนอาหรหัตถก-พราหมณ์ อลังสาฏกพราหมณ์ ตัตถวัฏฏกพราหมณ์ กากมาสกพราหมณ์และภุตตวัมมิกพราหมณ์ คนใดคนหนึ่ง. บทว่า นิวาปปุฏฺโต ความว่า ถูกปรนปรือแล้วด้วยข้าวหมูมีรำเป็นต้น. จริงอยู่ สุกรบ้านเขาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เวลายังอ่อน ในเวลามีสรีระอ้วน ไม่ได้เพื่อจะออกจากเรือนไปข้างนอก ส่ายไปส่ายมาในที่ต่างๆ มีใต้เตียงเป็นต้นแล้ว ย่อมนอนหายใจฟูดฟาดอยู่เท่านั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ว่า " บุคคลผู้มีความง่วงงุน กินจุ และเมื่อไม่อาจยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอิริยาบถอย่างอื่น มักนอนหลับพลิกกลับไปกลับมาตามปกติเหมือนสุกรใหญ่ที่ถูกปรนปรือด้วยเหยื่อฉะนั้น ในขณะใด; ในขณะนั้นเขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการไตรลักษณ์ คือ " อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา" ได้,เพราะไม่มนสิการไตรลักษณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่ามีปัญญาทึบ ย่อมเข้าห้องคือไม่พ้น ไปจากการอยู่ในห้อง.