เราควรเห็นแน่นอนในรูป เสียง ฯลฯ ด้วยปฏิกูลหรือความไม่เที่ยงดีครับ

 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่  25 ต.ค. 2552
หมายเลข  14078
อ่าน  1,218
บุคคลย่อมยินดี พอใจ ในรูป เสียง ฯลฯ ที่ปรากฎ เราควรเห็นแน่นอนใน รูป เสียง

กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมย์ โดยความเป็นปฏิกูล หรือความไม่เที่ยงครับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Sam
วันที่ 26 ต.ค. 2552

ควรเห็นรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย

ตามความเป็นจริงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตราบใดที่ยังไม่ได้มีปัญญาถึงขั้นที่จะดับความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ได้อย่างเด็ดขาด บรรลุถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล ความยินดีพอใจในสิ่งเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นมีเป็นธรรมดา เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร โลภะ ซึ่งเป็นความยินดีพอใจนั้น มีหลายระดับขั้น มีทั้งโลภะที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัง แต่งตัว รับประทานอาหารหรือ ไปเที่ยว ณ สถานที่ต่างๆ เป็นต้น นี้ก็เป็นโลภะ ถ้าไม่ได้ศึกษาย่อมจะไม่รู้เลยว่าเป็นโลภะ และอีกประการหนึ่ง คือโลภะที่มีกำลังมาก หรือ โลภะเกินประมาณ เป็นความติดข้องที่มีกำลังมาก เป็นเหตุให้ล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนได้ นี้คือ โลภะซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง สภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด ควรรู้ยิ่ง สภาพธรรม จึงไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม สภาพธรรมต่างๆ ก็มีพร้อมที่จะให้เราได้เข้าใจ พร้อมที่จะให้ได้รู้ชัด พร้อมที่จะให้ประจักษ์แจ้งได้

ที่สำคัญ คือ ความเข้าใจถูก เห็นถูก อันเริ่มมาจากการฟัง การศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับให้ปัญญาเกิด ไม่มีตัวตนที่จะไปพิจารณา และประการที่สำคัญแต่ละบุคคลที่เป็นปุถุชนย่อมมากไปด้วยกิเลส สะสมมาอย่างมากมายในสังสารวัฏฏ์ ยากที่จะละให้หมดสิ้นไปในทันทีทันใด ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ยังไม่สามารถละ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ จะต้องละความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลก่อน โดยอาศัยการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็นทางเดียวที่จะค่อยๆ ละความเห็นผิดไปทีละเล็กทีละน้อยได้ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 27 ต.ค. 2552

อะไรเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และธัมมารมณ์ ก็ยังรู้ได้ยากยิ่ง ไม่ใช่เรารู้

แต่เป็นปัญญาที่อบรมแล้ว ที่ระลึกตรงลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง ควรฟัง

พระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจก่อนว่าทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย

และทางใจนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม โดยไม่ใช่ว่าจำได้จิตเห็นเป็น

นามธรรม สิ่งที่ปรากฏเป็นรูปารมณ์ หรือได้ยินเป็นนามธรรมส่วนเสียงเป็นรูปธรรมเป็นต้น แต่ต้องค่อยๆ อบรมความเข้าใจจนรู้ในลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ถ้าไม่มีปัญญาขั้นต้นที่ไปรู้ว่า แต่ละทวารนั้นอะไรเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ปัญญาขั้นสูง

ขึ้นที่จะไปเห็นรูปธรรมโดยความเป็นปฏิกูล หรือความไม่เที่ยงก็เป็นไปไม่ได้ค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
CatLetter
วันที่ 29 ต.ค. 2552

"เราจะเห็น" "เราควรเห็น" หรือ "เราต้องเห็น" ไม่ได้เลย เพราะขณะนั้นจะเป็นการคิดนึก ด้วยการใส่บัญญัติในอารมณ์ที่เราปราถณา เป็นการติดข้องต้องการในสิ่งที่อยากจะได้ อยากจะเห็น อยากจะให้เป็น

แทนที่จะเป็นปัญญาเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง ตามสภาพปัจจัยที่ถึงพร้อมให้ปัญญาในระดับนั้นเกิด

การระลึกสภาพธรรมที่กำลังเกิด จะเป็นไปในลักษณะ "การน้อมไป" ของจิต ในช่วงต้นในสิ่งที่กำลังระลึก แล้วหลังจากนั้น หากสภาพเหตุและปัจจัยถึงพร้อมให้ปัญญาในระดับใดเกิด ปัญญาในระดับนั้นก็เกิด เมื่อไม่เที่ยง ย่อมเป็นปฏิกูลแห่งจิต เมื่อเป็นปฏิกูลแห่งจิต จิตย่อมไม่แล่นไปในอารมณ์ วิญญาณย่อมไม่หยั่งลงในนามรูป เมื่อวิญญาณไม่หยั่งลง นามรูปจึงดับ เมื่อนามรูปดับ ตัณหาจึงไม่มีที่อาศัย อุปาทานจึงไม่มีที่เกิด ภพจึงไม่มี ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อันเป็นเหตุแห่งกองทุกข์ทั่้งมวลของหมู่สัตว์จึงดับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิต...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สุภาพร
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
michii
วันที่ 29 ต.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
CatLetter
วันที่ 29 ต.ค. 2552

เมื่อไม่เที่ยง ย่อมเป็นปฏิกูลแห่งจิต เมื่อเป็นปฏิกูลแห่งจิต จิตย่อมไม่แล่นไปในอารมณ์

ขออนุญาตแก้ไขเล็กน้อยครับ เมื่อไม่เที่ยง จิตย่อมไม่ติดไม่ข้อง เมื่อไม่ติดไม่ข้อง จิตย่อมไม่แล่นไปในอารมณ์

เมื่อจิตมนสิการรูปธรรมนามธรรมได้ตรงตามความเป็นจริง คือ ความไม่เทียงจิตย่อมสงบ, ธรรม คือ รูปธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับไปตามเหตุปัจจัย จิตไม่ติด ไม่ข้อง ไม่มีลักษณะปฏิกูลเกิดขึ้นทุกขณะ นอกจากจิตจะมนสิการในความเป็นปฏิกูลเท่านั้น ตามเหตุปัจจัยขณะนั้นเท่านั้น จึงปรากฏลักษณะการเป็นสิ่งปฏิกูลร่วมด้วย...

ธรรมประมาทไม่ได้เลยครับ แม้เพียงเล็กน้อย...

ขออนุโมทนากุศลจิตทุกดวงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
คุณ
วันที่ 30 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 8 พ.ย. 2552

ความคิดเห็นที่ 3 คุณเมตตา ครับปัญญารู้ที่ไหนครับ?
ปัญญาเกิดกับจิตที่อาศัยรูปเกิด รูปไม่เที่ยง ปัญญาไม่เที่ยงหรือ?
รูปเป็นปฏิกูล หรือรูปน่าอภิรมย์?

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ