อิฏฐสูตร .. ธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2552
หมายเลข  14089
อ่าน  1,966

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๓๑ ต.ค. ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

จาก ... พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๓๒

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๒๓๒

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ โภคสมบัติ ๑ วรรณะ ๑ ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑พรหมจรรย์ ๑ มิตร ๑ ความเป็นพหูสูต ๑ ปัญญา ๑ ธรรม ๑สัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ความเกียจคร้าน ความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายแก่โภคสมบัติ การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายแก่ความเป็นพหูสูตการไม่ฟังด้วยดี ไม่สอบถาม เป็นอันตรายแก่ปัญญา การไม่ประกอบความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย การปฏิบัติผิดเป็นอันตรายแก่สัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ประการนี้เป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๑๐ ประการ เป็นอาการของธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือ ความไม่เกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียร เป็นอาหารของโภคสมบัติ ๑การประดับ การตกแต่งร่างกาย เป็นอาหารของวรรณะ ๑ การทำสิ่งเป็นที่สบาย เป็นอาหารของความไม่มีโรค ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นอาหารของศีลทั้งหลาย ๑ การสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์ ๑ การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง เป็นอาหารของมิตรทั้งหลาย ๑ การกระทำการสาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต ๑ การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา ๑การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรมทั้งหลาย๑ การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก.

จบอิฏฐสูตรที่ ๓

อรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓

อิฏฐสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อญฺโญ ได้แก่ วรรณะแห่งสรีระ. บทว่า ธมฺมา ได้แก่โลกุตรธรรม ๙.

จบอรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ประสาน
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ขออนุญาตเรียนถาม มีพิมพ์ตกหล่นหรือไม่ ช่วงธรรมที่เป็นอันตราย ทำไมมีเพียง ๕ ครับ ขออนุโมทนาด้วยครับ เจริญธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Jans
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

อิฏฐสูตร (ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก)


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม ๑๐ ประการ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ พร้อมทั้งทรงแสดง ถึงธรรมที่เป็นอันตรายต่อธรรมที่น่าปรารถนา และทรงแสดงถึง ธรรมที่เป็นเครื่องนำมาซึ่งธรรมที่น่าปรารถนา เหล่านั้นด้วย ดังนี้คือ

ธรรมที่น่าปรารถนา

ธรรมที่เป็นอันตราย

ต่อธรรมที่น่าปรารถนา

ธรรมที่เป็นเครื่องนำมาซึ่งธรรมที่น่าปรารถนา

โภคสมบัติ

ความเกียจคร้าน

ความไม่เกียจคร้าน

วรรณะ (ผิวพรรณ)

การไม่ประดับตกแต่ง

การประดับตกแต่ง

ความไม่มีโรค

กระทำสิ่งไม่เป็นที่สบาย

กระทำสิ่งเป็นที่สบาย

ศีล

มีมิตรชั่ว

มีมิตรดี

พรหมจรรย์

การไม่สำรวมอินทรีย์

การสำรวมอินทรีย์

มิตร

แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง

ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง

ความเป็นพหูสูต

การไม่สาธยาย

การสาธยาย (ทบทวน)

ปัญญา

ไม่ฟังด้วยดี, ไม่สอบถาม

ฟังด้วยดี, สอบถาม

ธรรม

ไม่ประกอบความเพียร,

ไม่พิจารณา

ประกอบความเพียร,

พิจารณา

สัตว์ทั้งหลาย

ความปฏิบัติผิด

ความปฏิบัติชอบ


หมายเหตุ ตอนที่แสดงถึงธรรมที่เป็นอันตราย นั้น ในพระไตรปิฎก ได้แปลตกไป อย่างที่คุณประสานได้กล่าวมา ครับ ถ้าอ่านไปครบทุกส่วน และ เทียบเคียงจากบท สรุปเพิ่มเติม ก็คงจะพอเข้าใจได้ ว่าตกหล่นไปข้อไหนบ้าง ครับ และอีกประการหนึ่ง สำหรับประการที่ ๑๐ คือ สัตว์ทั้งหลาย นั้น ในอรรถกถาท่านไม่ ได้ขยายไว้ แต่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร ได้ให้ความเห็น ไว้ว่า ได้แก่ บุคคลรอบข้าง คนใกล้ตัว รวมไปถึงสัตว์ต่างๆ ด้วย กล่าวคือ ถ้าหากว่า เราทำไม่ดี ประพฤติไม่ดี แน่นอนว่าคนเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น ก็คงไม่อยากจะอยู่ใกล้ เราเป็นแน่ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราประพฤติดี ทำในสิ่งที่ดี มีเมตตา คนเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นย่อมปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ ไม่อยากหนีไปไหน เพราะคนดี ย่อมเป็นที่รัก ของทุกคน ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
อภิรดี
วันที่ 29 ต.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
hadezz
วันที่ 30 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanakase
วันที่ 31 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ