ขอเรียนถามเรื่อง รูปอารมณ์ กับ วรรณรูป

 
majweerasak
วันที่  27 ต.ค. 2552
หมายเลข  14092
อ่าน  5,710

ผมเข้าใจว่า การเห็นหนึ่งขณะ เป็นการรู้รูปารมณ์เพียงอารมณ์เดียว แต่น่าจะเป็นการเห็นวรรณรูปหลายรูป (หรือเห็นหลายสี หรือหลายกลาป เพราะกลาปเดียวคงเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็น)

ข้อ ๑ ความเห็นข้างต้นถูกต้องหรือไม่ครับ กรุณาชี้แนะด้วย

ผมเข้าใจว่า วรรณรูป ไม่ได้กระทบจักขุประสาท แต่เป็นรูปารมณ์ ที่กระทบจักขุปสาทะและจิตวาระหลังๆ ก็สามารถรู้รูปารมณ์ได้ ถึงแม้วรรณรูปจะดับไปแล้วก็ตาม

อีกประการหนึ่ง แม้ว่า วรรณรูป มีอยู่ แต่ลักษณะของรูปารมณ์ที่ปรากฏกับคนตาดี กับคนที่ตาไม่ค่อยดี ก็ปรากฏต่างกัน

ข้อ ๒ ขอเรียนถามว่าวรรณรูป กับ รูปารมณ์ ใช่สิ่งเดียวกันหรือไม่ ช่วยกรุณาอธิบายขยายความด้วยครับ

ผมพอจะเข้าใจบ้างแล้วว่า วรรณรูป ที่ไม่เป็นอารมณ์ของจิต ไม่ถือว่าเป็น รูปารมณ์ ในที่นี้ตั้งใจถามถึง วรรณรูป ที่กำลังเป็นอารมณ์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอแสดงความคิดเห็น โดยรวม ดังนี้ ครับ

จิตเกิดขึ้น ต้องรู้อารมณ์ ไม่มีขณะใดเลยที่จิตไม่รู้อารมณ์ เพราะเหตุว่า อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ ดังนั้น เมื่อจิตเกิดขึ้น จึงต้องรู้อารมณ์ สำหรับการเห็นหนึ่งขณะกล่าวคือ จักขุวิญญาณเกิดขึ้น ก็รู้รูปารมณ์ หรือ เห็นสี ขณะเดียวก็ดับไป และก่อนที่จักขุวิญญาณจะเกิด ก็มีจักขุทวาราวัชชนจิตเกิดก่อน เมื่อจักขุวิญญาณเกิดแล้วดับไปก็มีจิตอื่นๆ เกิดสืบต่อโดยไม่มีระหว่างคั่น กล่าวโดยสรุป คือ ตลอดทั้งจักขุทวารวิถีมีอารมณ์เดียวกัน คือ มีสี เป็นอารมณ์ สี หรือ รูปารมณ์ หรือ วัณณรูป เป็นสภาพธรรมที่มีจริง สามารถปรากฏได้ทางตา และต้องกระทบกับจักขุปสาทะ ถ้าไม่กระทบกับจักขุ-ปสาทะ ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้

วัณณรูป หรือ สี จะมีอยู่ที่ไหน ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ในป่า ในเขา หรือในที่ห่างไกลอย่างไรก็ยังคงเป็นวัณณรูป แต่ถ้ามีจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) หรือจิตที่รู้สีเกิดขึ้น สีนั้นหรือวัณณรูป นั้น จึงได้ชื่อว่า รูปารมณ์ (เพราะรูปสีเป็นอารมณ์ของจิต) และที่สำคัญรูปารมณ์ เป็นอารมณ์ของจิตได้ ๒ ทวาร คือเป็นอารมณ์ของจิตทางจักขุทวาร ในขณะปัจจุบัน และเป็นอารมณ์ของจิตทางมโนทวาร เมื่อจักขุวารวิถีจิตดับไปแล้ว ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ รูปารมณ์ คือ รูป สี แสง วรรณะ วัณโณ ทำไมเรียกว่าสีเท่านั้นครับ ช่วยอธิบายเรื่องรูปารมณ์ด้วยค่ะ ลักษณะแท้ๆ ของรูปารมณ์ เป็นอย่างไร รูปารมณ์คืออะไร ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Sam
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขอแสดงความคิดเห็นตามความเข้าใจนะครับ หากมีความเห็นที่ไม่ตรง

ตามพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ ขอท่านผู้รู้ได้โปรดแนะนำด้วยครับ

ข้อ ๑ ในเรื่องการเห็น ขณะที่จักขุวิญญาณจิตเกิดขึ้นเห็นนั้น ผมเข้าใจว่า

วรรณรูปกระทบจักขุปสาทรูป (รูปกระทบรูปตั้งแต่อตีตภวังค์ และยังไม่ดับ) และจักขุ

วิญญาณจิตเกิดขึ้นรู้รูปารมณ์ครับ (ในประเด็นนี้ยังไม่แน่ใจในเรื่องรูปกระทบกัน

เพราะการรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก และลิ้นนั้น มีความแตกต่างกับการรู้อารมณ์ทางกาย

โดยเวทนา)

ข้อ ๒ ผมคิดว่าวรรณรูป กับรูปารมณ์ มีความต่างกันเล็กน้อย เพราะเมื่อเปรียบ

เทียบกับอุปมาถึงชาวบ้านนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระราชา ชาวบ้านคนนั้น

(วรรณรูป) อยู่ที่ประตูวัง ส่วนเครื่องราชบรรณาการ (รูปารมณ์) ถูกรับและส่งต่อไปให้

พระราชาเสวย (ชวนจิตเสพอารมณ์)

ความคิดเห็นนี้แสดงโดยมีข้อจำกัดเรื่องความรู้ และเวลาในการค้นคว้า หากมี

ความคลาดเคลื่อนประการใด ต้องขออภัยอย่างสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 28 ต.ค. 2552

จากความคิดเห็นที่ ๒

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๙๒ พระราชาองค์หนึ่งบรรทมหลับอยู่บนแท่นบรรทม มหาดเล็กของพระองค์ นั่งถวายงานนวดพระยุคลบาทอยู่ นายทวารหูหนวกยืนอยู่ที่พระทวาร ทหารยาม ๓ คนยืนเรียงลำดับอยู่ ทีนั้นยังมีคนบ้านนอกคนหนึ่งถือบรรณาการมาเคาะประตูเรียก นายทวารหู-หนวกไม่ได้ยินเสียง มหาดเล็กผู้นวดพระยุคลบาทจึงได้ให้สัญญาณ เขาจึงเปิดประตูด้วยสัญญาณนั้น ทหารยามคนที่หนึ่งรับเครื่องบรรณาการ ส่งให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ส่งให้คนที่ ๓ คนที่ ๓ ทูลเกล้าถวายพระราชา พระราชาได้เสวย. ------------------------------

จากข้ออุปมานี้ สรุปได้ว่า คนบ้านนอกถือเครื่องราชบรรณาการมา เคาะที่ประตูวัง = อารมณ์ที่กระทบปสาทะ มหาดเล็กผู้ถวายนวดพระยุคลบาทของพระราชา (ผู้รู้ว่ามีคนมาเคาะประตู จึงให้สัญญาณแก่นายประตูหูหนวก) = จักขุทวาราวัชชนจิต นายทวารหูหนวก (ไม่ได้ยินเสียง) เปิดประตูจึงเห็น = จักขุวิญญาณ ทหารยามคนที่หนึ่ง = สัมปฏิจฉันนจิต ทหารยามคนที่สอง = สันตีรณจิต ทหารยามคนที่สาม = โวฏฐัพพนจิต พระราชาได้เสวยเครื่องราชบรรณาการ = ชวนจิต จากข้อเปรียบเทียบนี้ แสดงเนื้อความว่า อารมณ์มีกิจ คือหน้าที่เพียงแต่กระทบปสาทะเท่านั้น คนบ้านนอกไม่ได้เข้าไปเฝ้าพระราชา แต่ว่าเครื่องราชบรรณาการ ส่งต่อจากคนที่หนึ่ง ให้คนที่สอง ให้คนที่สาม แล้วจึงถึงพระราชา เพราะฉะนั้นจักขุวิญญาณเท่านั้น ที่กระทำกิจเห็นอารมณ์อยู่ที่ทวาร อารมณ์สามารถเพียงกระทบปสาทะเท่านั้น แต่ว่าจิตรู้อารมณ์สืบต่อกัน อารมณ์ไม่ได้ข้ามพ้นหรือว่าล่วงล้ำปสาทะไปที่อื่นเลย อารมณ์จะเลยปสาทะเข้าไปที่ไหนไม่ได้ เป็นรูปที่กระทบปสาทะ ทางตาที่กำลังเห็น รูปารมณ์ มีกิจเพียงกระทบปสาทะเท่านั้น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สุภาพร
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขอขอคุณคุณ khampan.a อย่างสูงครับ ที่ได้ยกข้อความนี้มาให้พิจารณาอีก

ครั้ง จากที่ผมเคยพิจารณาอุปมานี้แล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังมีข้อสงสัยมานานและยังไม่

มีโอกาสสนทนา (เนื่องจากเป็นเรื่องอยู่เหนือวิสัยที่ผมจะรู้ได้จริงๆ ) จึงขอความกรุณา

สอบถามในประเด็นที่เกี่ยวข้องกันครับว่า

ในกรณีที่เป็นโมฆะวาระ ที่วัณณรูปดับไปก่อนที่จักขุวิญญาณจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์

ที่จักขุปสาทนั้น วัณณรูปนั้นกระทบกับจักขุปสาทะแล้วใช่ไหมครับ แล้ววัณณรูปนั้น

เป็นรูปารมณ์ (หรือเป็นอารมณ์) หรือไม่ครับ (ประเด็นคือ สิ่งที่กระทบกับจักขุปสาท

รูปคือวัณณรูป หรือรูปารมณ์ และรูปที่กระทบกับปสาทรูปนั้น เป็นอารมณ์เสมอไป

หรือไม่)

คำถามอาจจะวกวนหน่อย และเป็นเรื่องไกลตัว (ปัญญา) แต่เป็นความสงสัยใน

รายละเอียด หากท่านผู้รู้ท่านใดมีความเห็น ขอได้โปรดอนุเคราะห์ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 29 ต.ค. 2552

จากความคิดเห็นที่ ๖ ก่อนที่จะได้พิจารณาร่วมกัน ขออ้างอิงจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์บริหารวนเขตต์ ที่รวบรวมปรากฏอยู่ในหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปฯ ดังนี้ ครับ.- วาระ คือ วิถีจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อกันโดยรู้อารมณ์เดียวกันและทางทวารเดียวกัน ซึ่ง

บางวาระวิถีจิตเกิดทั้ง ๗ วิถี บางวาระวิถีจิตเกิด ๖ วิถี บางวาระวิถีจิตเกิด ๕ วิถี บางวาระวิถีจิตไม่เกิดเลยมีแต่อตีตภวังค์และภวังคจลนะเท่านั้น คือเมื่อรูปกระทบปสาทะและกระทบอตีตภวังค์นั้น อตีตภวังค์ดับไปแล้ว ภวังคจลนะก็ยังไม่เกิด จึงเป็นอตีต-ภวังค์เกิดดับอีกหลายขณะ แล้วภวังคจลนะจึงเกิดไหวขึ้นแล้วดับไปๆ หลายขณะ เมื่ออารมณ์ คือ รูปที่กระทบปสาทะนั้นใกล้จะดับ จึงไม่เป็นปัจจัยให้วิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น เมื่อวิถีจิตไม่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบปสาทะ จึงเป็นโมฆวาระ เช่น ขณะนอนหลับสนิทถูกปลุกเขย่าแล้วก็ยังไม่ตื่น เขย่าแรงๆ ก็ยังไม่ตื่นอีก ขณะนั้นเป็นโมฆ-วาระ เพราะอาวัชชนจิตไม่เกิด มีแต่อตีตภวังค์และภวังคจลนะ เมื่อวิถีจิตไม่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่กระทบจึงเป็น “โมฆวาระ” และอารมณ์นั้นก็เป็นอติปริตตารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่เล็กน้อยที่สุดเพราะเพียงกระทบปสาทรูปและภวังค์ แต่ไม่ทำให้วิถีจิตเกิดได้เลย ---------------------------------

ประเด็นที่คุณ K ได้ร่วมสนทนานั้น
ผมขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ ครับ ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องของพยัญชนะ เป็นเรื่องของคำที่พูดกัน ที่สำคัญคือ ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ จากที่ได้ศึกษาพื้นฐานพระอภิธรรมตั้งแต่ต้น ทราบว่า อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ สิ่งใดก็ตามที่จิตกำลังรู้ สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ ขณะที่เป็นโมฆวาระ คือ วิถีจิตไม่เกิดขณะที่วิถีจิตไม่เกิด นั้น ย่อมเป็นภวังคจิต ภวังคจิต ก็รู้อารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้, ขณะที่สี หรือวัณณะ หรือ รูป กระทบจักขุปสาทะ แล้วไม่ทำให้วิถีจิตเกิดขึ้นรู้สีนั้น สีก็เป็นสี เป็นรูปธรรมประเภทหนึ่ง ที่เกิดแล้วก็ดับไป (มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ขณะ) ไม่เป็นอารมณ์ของวิถีจิต ตั้งแต่จักขุทวาราวัชชนจิต เป็นต้นไป ขณะนั้น ผมเข้าใจว่า ไม่เรียกว่าเป็นอารมณ์ เพราะไม่ได้เป็นอารมณ์ของวิถีจิตใดๆ เลย ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะมีพยัญชนะว่า เป็นอติปริตตารมณ์เป็นอารมณ์ที่เล็กน้อยที่สุด ก็เข้าใจได้ ครับต่อเมื่อใดที่ สีกระทบจักขุปสาทะแล้วมีวิถีจิตเกิดขึ้นรู้สีนั้น สีนั้น จึงเป็นรูปารมณ์ คือเป็นอารมณ์ของวิถีจิตทางตา ซึ่งโดยสภาพธรรมแล้ว ก็เป็นเพียงรูปธรรมประเภทหนึ่งในรูป ๒๘ เท่านั้นเอง ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
majweerasak
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาทุกท่านครับขอขอบคุณ Khampan.a และคุณ K ที่ช่วยกรุณาแสดงความเห็นและยกข้อความมานะครับ

ด้วยความเคารพในความเห็นของทุกท่านนะครับขอสนทนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องเพิ่มอีกนิดนะครับ ประเด็นตรงที่ว่าคุณ K ว่า "วรรณรูปกระทบจักขุปสาทรูป (รูปกระทบรูปตั้งแต่อตีตภวังค์ และยังไม่ดับ) " ส่วนในความเห็นที่ ๔ คุณ Khampan.a กล่าวว่า "คนบ้านนอกถือเครื่องราชบรรณาการมา เคาะที่ประตูวัง = อารมณ์ที่กระทบปสาทะ" และ "ทางตาที่กำลังเห็น รูปารมณ์ มีกิจเพียงกระทบปสาทะเท่านั้น ครับ"

ถ้าเป็นข้อความในตามที่ทรงแสดงไว้ไม่ทราบว่า วัณณรูป หรือ รูปารมณ์ ที่กระทบจักขุปสาทครับ?

ส่วนความเห็นของผมแล้ว จิตอาจจะเห็น วัณณรูป ที่อยู่ห่างจากตาหรือจักขุปสาท ออกไปหลายร้อยเมตร ก็เลยทึกทักเอาว่าสิ่งที่กระทบกับปสาทรูป น่าจะเป็น รูปารมณ์ ตามข้อความในความเห็นที่ ๔ ครับ

หากมีความเห็นที่ไม่ตรงตามพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ ขอท่านผู้รู้ได้โปรดแนะนำและเกื้อกูลด้วยเช่นกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 29 ต.ค. 2552

เรียนคุณ majweerasak ครับ พระธรรมนั้นละเอียด และลึกซึ้งมาก สิ่งที่ผม

ศึกษาแล้วก็ลืมนั้น มีเป็นจำนวนมาก ในส่วนที่คิดว่าจำได้แล้ว เข้าใจแล้ว เมื่อกลับมา

พิจารณาอย่างละเอียดอีกครั้ง ก็พบว่ามีคำสอนที่ละเอียดยิ่งขึ้นอธิบายไว้อีก ผมจึงไม่

เคยมั่นใจในความเข้าใจของตัวเองเลย ส่วนใหญ่ที่แสดงความคิดเห็น ก็เป็นสิ่งที่คิด

ว่าพอจะเข้าใจอยู่บ้าง ว่าน่าจะเป็นประมาณนั้น และน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการ

สนทนาครับ

สำหรับเรื่องระยะทางไกลหรือใกล้นั้น ผมคิดว่าเป็นบัญญัติครับ จึงไม่ได้นำ

มาพิจารณา เพราะเข้าใจว่า วัณณรูป หรือสี หรือแสงที่มีสีนั้น เมื่อกระทบกับจักขุ

ปสาทรูปแล้ว และเมื่อมีวิถีจิตเกิดขึ้นรู้รูปารมณ์นั้นทางจักขุทวาร และทางมโนทวาร

แล้ว ทำให้คิดว่าเป็นวัตถุไกลหรือใกล้ได้ อันเป็นบัญญัติที่อวิชาหลอกลวงเราให้ติด

อยู่ในสังสารวัฏฏ์ครับ

เมื่อวานนี้เอง ผมเห็นรูปนักแสดงคนหนึ่งในนิตยสารที่วางอยู่บนโต๊ะกินข้าว

แล้วก็ประหลาดใจที่เสมือนเห็นรูปหน้าคนที่มีส่วนสูง ส่วนลึก ส่วนโค้ง เส้นผมใน

ลักษณะต่างๆ ฯลฯ ทั้งที่รูปทั้งหมดนั้นอยู่ในหน้ากระดาษแบนๆ เอ.. แบนๆ นี่ก็เป็น

บัญญัตินี่นา :) (เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า....ถูกลวงอีกแล้ว)

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 30 ต.ค. 2552

เชิญคลิกอ่านที่นี่ค่ะ ภาวนามยปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
peem
วันที่ 11 ธ.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ