อเหตุกเหตุ กับ นเหตุ

 
kaewin
วันที่  29 ต.ค. 2552
หมายเลข  14097
อ่าน  2,766

อเหตุกเหตุ กับ นเหตุ มีความต่างกันอย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นต้องมีความเข้าใจก่อนว่า ธรรมที่เป็นเหตุ ได้แก่ เจตสิก ๖ ประเภท เท่านั้นได้แก่ โลภเจตสิก , โทสเจตสิก, โมหเจตสิก, อโลภเจตสิก, อโทสเจตสิกและ อโมหะ คือ ปัญญาเจตสิก เจตสิก ๖ ประเภทนี้ เรียกว่า ธรรมที่เป็นเหตุ,ธรรมที่เหลือนอกจากนี้ ได้แก่ จิตทั้งหมด เจตสิก ๔๖ ที่เหลือจากเจตสิก ๖ , รูปทั้งหมด และ นิพพาน เป็น เหตุ (คือ ไม่ใช่เหตุ) สำหรับ คำว่า เหตุกะ หมายถึง ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย มีนัยที่กว้างขวางมาก แต่ก็สามารถที่จะพิจารณาตามได้ว่า จิตและเจตสิกใดก็ตาม ที่ไม่เกิดร่วมกับธรรมที่เป็นเหตุเลย จิต นั้น เรียกว่า เหตุกจิต (จิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) และ เจตสิก นั้น เรียกว่าเหตุกเจตสิก (เจตสิกที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย) ยกตัวอย่างเช่น จิตเห็น (จักขุวิญญาณ) มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น จิตเห็น เป็นเหตุกจิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตเห็น ก็เป็นเหตุกเจตสิก , และอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ โมหเจตสิก ที่เกิดร่วมกับโมหมูลจิต เฉพาะโมหเจตสิก เท่านั้น ที่เป็นเหตุ แต่เขาไม่มีเหตุอื่นเกิดร่วมด้วยเพราะฉะนั้น โมหเจตสิก ในโมหมูลจิต เป็นเหตุกะ คือ ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย แต่โมห-มูลจิต เป็นจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย คือ มีโมหเหตุเกิดร่วมด้วย จึงเป็น สเหตุกะ ไม่ใช่-อเหตุกะ ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก จึงต้องค่อยๆ ศึกษา สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ครับ ในพระอภิธรรมปิฎก แสดงไว้ละเอียดไปถึงว่า รูปธรรม และ นิพพาน ก็เป็นอเหตุกะ ด้วย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาพิจารณาร่วมกัน ขอยกข้อความจากพระไตรปิฎกมาประกอบ ดังนี้ ครับ พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๙๘ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่เหตุ ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันใดนั่นแหละ ธรรมทั้งหลายที่เป็นเหตุ ก็ย่อมมีเหตุประกอบบ้าง ไม่มีเหตุประกอบบ้าง ฉันนั้น, ก็เหตุธรรม เป็นสเหตุกะบ้าง เป็นเหตุกะบ้าง ฉันใด ธรรมที่เป็นนเหตุธรรม ก็เป็นเหตุสัมปยุตตะบ้าง เป็นเหตุ-วิปปยุตตะบ้าง ฉันนั้น. จากคำถามข้อที่ ๑ ที่ว่า อเหตุกเหตุ พยัญชนะตรงๆ ยังไม่ชัดเจน แต่ถ้าเทียบเคียงจากพระไตรปิฎกที่ยกมา สามารถเข้าใจได้ว่า หมายถึง เหตุ ที่ไม่มีเหตุอื่นเกิดร่วมด้วย ก็ได้แก่ โมหเหตุ ในโมหมูลจิต นั่นเอง ครับ

ส่วนคำถามข้อที่ ๒ นั้น สภาพธรรมที่เป็นเหตุ จะไม่ใช่เหตุ ไม่มี, แต่ ธรรมที่เป็นเหตุ ซึ่งไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย มี ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ups
วันที่ 30 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 30 ต.ค. 2552
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ค่ะ เหตุ - นเหตุ และ สเหตุกะ - อเหตุกะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 31 ต.ค. 2552

สิ่งที่เรียนมา ศึกษามาใดๆ ในโลก ก็ไม่ประเสริฐเท่ากับการเรียนพระพุทธพจน์

ซึ่งก็คือ พระธรรมวินัย การศึกษาพระธรรมควรศึกษาให้เข้าถึงตัวจริงของธรรม

พระธรรมเป็นของละเอียด ลึกซึ้งมาก ควรค่อยๆ อบรมความเข้าใจไปทีละน้อยๆ

ไม่ควรคิดเองหรือสรุปเองง่ายๆ พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์

ทรงแสดงธรรมถึง ๔๕ พรรษา จึงควรเป็นผู้ละเอียดในการศึกษา

พระสัจธรรม...พระพุทธองค์ทรงเป็นพระศาสดาเท่านั้น

ไม่ใช่บุคคลอื่น ท่านอื่น หรืออาจารย์อื่นใดทั้งสิ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 31 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 31 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
kaewin
วันที่ 1 พ.ย. 2552
ขออนุโมทนากุศล ในการให้ธรรมะเป็นทาน ทุกท่านนะครับ ....
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 4 พ.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ