สัมปทา ๔ ประการ [ปัตตกัมมสูตร]

 
khampan.a
วันที่  2 พ.ย. 2552
หมายเลข  14126
อ่าน  5,413

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๙๙ ก็ สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไร อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระโพธิญาณของพระตถาคต ฯลฯ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา. ก็ สีลสัมปทาเป็นอย่างไร? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่าสีลสัมปทา. ก็ จาคสัมปทาเป็นอย่างไร? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาค ปล่อยแล้ว มีมืออันล้างไว้ ยินดีในการสละ ควรแก่การเธอ พอใจในการให้และการแบ่งปันนี้เรียกว่า จาคสัมปทา. ก็ ปัญญาสัมปทาเป็นอย่างไร? บุคคลมีใจอันอภิชฌาวิสมโลภะครอบงำแล้วย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจ-กุกกุจจะ และวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมทกยศและความสุข ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภอัน เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย ทราบว่าพยาบาท ถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้ แล้ว ละพยาบาท ถีนมิทธะอุทธจัจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย เมื่อใดอริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าผู้มีปัญญาใหญ่ ผู้มีปัญญามาก ผู้เห็นคลอง ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ