ประวัติพระพุทธศาสนาของศรีลังกา (ตอน ๑)

 
sutta
วันที่  4 พ.ย. 2552
หมายเลข  14144
อ่าน  10,157

เมื่อเอ่ยถึงประเทศศรีลังกา หลายท่านก็คงพอทราบได้ว่าเป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธ ศาสนาในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้หมาย ความถึง จำนวนวัดวาอารามหรือศาสนวัตถุต่างๆ แต่หมายถึงจิตใจของบุคคลที่มีความ เข้าใจพระธรรม คำสั่งสอนอันเป็นเหตุให้บรรลุธรรม ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นใน อนาคตกาลว่า พระศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองที่ประเทศศรีลังกาอันหมายถึงมีบุคคลต่างๆ มากมายมีศรัทธาอันประกอบด้วยปัญญา ที่เข้าใจพระธรรมจนมีผู้ที่บรรลุธรรมนั่นเองซึ่งหากเราได้เข้าใจประวัติของประเทศศรีลังกาอย่างแท้จริงแล้ว ตามที่พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ก็จะทำให้เราซาบซึ้งเมื่อได้ไปประเทศศรีลังกา หรืออยากที่ จะไปศรีลังกาเพราะได้เข้าใจประวัติศรีลังกานั่นเอง ข้าพเจ้าจึงขอนำประวัติศรีลังกา อันเป็นพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นการบูชาคุณพระรัตนตรัยให้สัตว์ทั้งหลาย ได้เจริญในอริยทรัพย์มีศรัทธาและปัญญา เป็นต้น

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระราชาผู้ปกครองประเทศอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ นับถือพระพุทธศาสนา มีศรัทธาอย่างมาก ได้ถวายพระวิหารแด่พระภิกษุสงฆ์แปดหมื่น สี่พันหลังและได้ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาคือ พระมหินทกุมารและพระนางสังฆมิตตาออกบวช ซึ่งพระมหินทเถระได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในขณะที่อุปสมบทนั่นเอง ต่อมาก็มีผู้มีศรัทธาออกบวชมากมาย ลาภสักการะเจริญขึ้นกับพระพุทธศาสนา แต่พวก นอกศาสนาเสื่อมลาภ สักการะ เพราะเหตุนั้นพวกอัญญเดียรถีย์จึงปลอมบวชเป็นพระ ภิกษุ จนเป็นเหตุให้มีการสังคายนาครั้งที่สามและเมื่อเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้วก็ได้มี การตั้งพระภิกษุเผยแพร่พระศาสนาในที่ต่างๆ รวมทั้งที่เกาะตัมพปัณณิทวีป (ศรีลังกา) ซึ่งทางคณะสงฆ์ได้ตั้งพระมหินเถระ (พะราชโอรสของพระเจ้าอโศก) ไปประกาศพระศาสนาที่ศรีลังกา

[เล่มที่ 1] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

พระมหินทเถระไปประกาศพระศาสนาที่เกาะลังกา

ส่วนพระมหินทเถระ ผู้อันพระอุปัชฌายะ และภิกษุสงฆ์เชื้อเชิญว่าขอท่านจงไปประดิษฐานพระศาสนายังเกาะตัมพปัณณิทวีปเถิด ดังนี้ จึงดำริว่า เป็นกาลที่เราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยังหนอ ครั้งนั้นเมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ ก็ได้มีความเห็นว่า ยังไม่ใช่กาลที่ควรจะไปก่อน ถามว่า ก็พระเถระนั้น ได้มีความเห็นดังนี้ เพราะเห็นเหตุการณ์อะไร แก้ว่า เพราะเห็นว่า พระเจ้ามุฏสีวะ ทรงพระชราภาพมาก บัดนี้ เป็นเวลาที่ควรจะไปยังเกาะลังกาหรือยังหนอแล.

ลำดับนั้น ท่านดำริว่า ขอให้พระราชกุมารพระนามว่า เทวนัมปิยดิส เสวยอภิเษก ที่พระชนกของเราทรงส่งไปถวายเสียก่อน ขอให้ได้สดับคุณพระรัตนตรัย และเสด็จออกไปจากพระนคร เสด็จขึ้นสู่มิสสกบรรพตมีมหรสพเป็นเครื่องหมาย เวลานั้น เรา จักพบพระองค์ท่านในที่นั้น พระเถระ ก็สำเร็จการพักอยู่ที่เวทิสคิรีมหาวิหารนั้นและ สิ้นเดือนหนึ่งต่อไปอีก. ก็โดยล่วงไปเดือนหนึ่ง คณะสงฆ์และอุบาสกแม้ทั้งหมด ซึ่งประชุมกันอยู่ในวันอุโบสถ ในดิถีเพ็ญแห่งเดือนแปดต้น (คือวันเพ็ญเดือน ๗) ได้ปรึกษากันว่า เป็นกาลสมควรที่พวกเราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยังหนอ เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวว่า ในกาลนั้น ได้มีพระสังฆเถระ ชื่อมหินท์โดยนาม ๑ พระอิฏฏิยเถระ ๑ พระอุตติยเถระ ๑ พระภัททสาลเถระ ๑ พระสัมพลเถระ ๑ สุมนสามเณร ผู้ได้ฉฬภิญญา มีฤทธิ์มาก ๑ ภัณฑกอุบาสก ผู้ได้เห็นสัจจะ เป็นที่ ๗ แห่งพระเถระเหล่านั้น ๑ ท่านมหานาคเหล่านั้นนั่นแล พักอยู่ในที่เงียบสงัด ได้ปรึกษากันแล้ว ด้วยประการฉะ นี้แล

พระอินทร์ทรงเล่าเรื่องพุทธพยากรณ์ถวายให้พระมหินท์ทราบ

เวลานั้น ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพ เสด็จเข้าไปหาพระมหินทเถระ แล้วได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระเจ้ามุฏสีวะสวรรคต แล้ว บัดนี้ พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชเสวยราชย์แล้ว และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงพยากรณ์องค์ท่านไว้แล้วว่า ในอนาคต ภิกษุชื่อ มหินท์ จักยังชาวเกาะตัมพปัณณิทวีปให้เสื่อมใส ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เพราะเหตุดังนั้นแล เป็นกาลสมควรที่ท่านจะไปยังเกาะอันประเสริฐ แล้ว แม้ กระผม ก็จักร่วมเป็นเพื่อนท่านด้วย ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจึงได้ตรัสอย่างนั้น แก้ว่า เพราะได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติแห่งเกาะนี้ในอนาคต จึงได้ตรัสบอกความนั่นแก่ท้าวสักกะนั้น และทรงสั่งบังคับไว้ด้วยว่า ในเวลา นั้น ถึงบพิตรก็ควรร่วมเป็นสหายด้วย ดังนี้ ฉะนั้น ท้าวสักกะ จึงได้ตรัส อย่างนั้น


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 4 พ.ย. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 4 พ.ย. 2552

ได้มีโอกาสไปอินเดียกับท่านอาจารย์ครั้งที่เพิ่งผ่านไปนี้ ได้เห็นศรัทธาอันน่าประทับใจ ของพุทศาสนิกชนชาวศรีลังกา ขณะที่คณะของเราซึ่งนำโดยท่านอาจารย์ ทำการเวียนประทักษิณ รอบๆ เจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวศรีลังกาซึ่งยืนอยู่โดยรอบๆ บริเวณก็พนมมือกล่าว สาธุ สาธุ พร้องทั้งยื่นมือทั้งสองมาลูบคลำโคมประทีป ในมือของพวกเรา ทำให้บรรยากาศเป็นไปด้วยความปีติโสมนัสยิ่ง ขออนุโมทนาและขอบพระคุณ ที่ได้กรุณานำประวัติความเจริญในพระพุทธศาสนาของศรีลังกามาให้อ่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 4 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
opanayigo
วันที่ 4 พ.ย. 2552

อนุโมทนา

ในกุศลวิริยะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 5 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ups
วันที่ 5 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 7 พ.ย. 2552

ประวัติศรีลังกาอ่านดีมาก

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 9 พ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Jans
วันที่ 21 พ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
orawan.c
วันที่ 26 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
aditap
วันที่ 6 มี.ค. 2553

ยังไม่มีโอกาสที่จะได้ไป กับคณะของท่านอาจารย์ แต่ก็จะอ่านข้อความทุกตอนครับ

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
saifon.p
วันที่ 7 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ผิน
วันที่ 3 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
raynu.p
วันที่ 3 เม.ย. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
dhammanath
วันที่ 14 ก.ค. 2553

สุมนสามเณรนี้ เป็นพระราชโอรสของพระนางสังฆมิตตาซึ่่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช พระสวามีของพระนางสังฆมิตตา คือ อัคคิพรหมกุมารซึ่งได้รับ อนุญาตให้บวชพร้อมกับติสสกุมารผู้เป็นอุปราช ในเวลาที่พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกครองราชย์ได้ ๔ ปี พระนางสังฆมิตตาทรงมีพระโอรสองค์เดียวเท่านั้น ในเวลาที่พระนางบรรพชานั้น ทรงมีพระชนม์ ๑๘ ปีเท่านั้น และบวชพร้อมกับพระมหินทกุมารซึ่งมีพระชนมายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ผู้ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในมณฑลอุปสมบทนั้นนั่นแล

พระนางสังฆมิตตาไปเกาะลังกาในหลังพระมหินทเถระ คือ ในเวลาที่พระนางอนุฬาเทวี พระชายาของพระกนิฏฐภาดาแห่งพระเจ้าเทวานัมปียดิส มีพระประสงค์จะผนวชในเวลาที่พระโอรสและพระธิดาทั้ง ๒ พระองค์ผนวช เจ้าอโศกอภิเษกครองราชย์ได้ ๖ ปี

จากหลักฐานที่แสดงไว้ในคัมภีร์ คำนวนได้ว่าพระมหินทเถระไปลังกาเมื่อพระชน-มายุ ๓๒ ปี พระนางสังฆมิตตาก็ต้องมีพระชนมายุ ๓๐ ปี อย่างน้อยสุมนสามเณรต้องมีอายุ ๑๒ ปีขึ้นไปแล้ว เพราะพระนางทรงผนวชเมื่อพระชนม์ ๑๘ ปี

ถ้าพระนางสังฆมิตตามีพระชนมายุได้ ๑๘ ปีตอนที่ทรงผนวช แล้วตอนที่พระมารดาทรงผนวชนั้นสุมนสามเณรจะมีอายุเท่าไร คงจะยังทรงพระเยาว์เอามากๆ ทีเดียว ท่านมีฤทธิ์มาก และก็มีบทบาทในคราวที่พระมหินทเถระเสด็จไปลังกาด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
pamali
วันที่ 2 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
watbpaadongyai
วันที่ 24 ธ.ค. 2554

เป็นบรรยากาศที่น่าประทับใจมาก

ขออนุโมทนาด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
รู้จบลงที่รู้
วันที่ 3 มิ.ย. 2556

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
nopwong
วันที่ 17 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
peem
วันที่ 2 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
guy
วันที่ 13 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ