เพศบรรพชิตประเสริฐกว่าเพศคฤหัสถ์ [อรรถกถามุนิสูตร]

 
เมตตา
วันที่  13 พ.ย. 2552
หมายเลข  14227
อ่าน  1,327

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 537 เรื่อง เพศบรรพชิตประเสริฐกว่าเพศคฤหัสถ์

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถามุนิสูตร

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ การสนทนา

ได้เกิดขึ้นแก่ศากยะทั้งหลายว่า ผู้บรรลุโสดาก่อน ย่อมเป็นผู้แก่กว่าผู้บรรลุ

โสดาภายหลังโดยธรรม เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้บรรลุโสดาภายหลัง พึงกระทำ

กิจทั้งหลายมีการอภิวาทน์เป็นต้น แก่คฤหัสถ์ผู้บรรลุโสดาก่อน ภิกษุผู้บิณฑบาต

เป็นวัตรรูปหนึ่ง ได้ฟังการสนทนานั้น จึงกราบทูลบอกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายว่า ก็ชาตินี้เป็นอย่างหนึ่ง เพศเป็นวัตถุพึงบูชา

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอนาคามีเป็นคฤหัสถ์ไซร้ อนาคามีผู้คฤหัสถ์

นั้นพึงการทำกิจทั้งหลายมีการอภิวาทน์เป็นต้น แก่สามเณรแม้ผู้บวชในวันนั้น

เมื่อจะทรงแสดงคุณพิเศษของภิกษุแม้ผู้บรรลุโสดาภายหลัง มีคุณใหญ่ยิ่งกว่า

คฤหัสถ์ผู้บรรลุโสดาก่อนอีก จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า นกยูงบินไปในอากาศนี้ใดเรียกว่า มีหงอนเพราะมี

ภาวะที่หงอนซึ่งเกิดที่ศีรษะ และมีสร้อยคอเขียวที่คอเช่นท่อนแก้วมณี นกยูงนั้น

ย่อมไม่ถึงเสี้ยวแม้ที่ ๑๖ ด้วยความเร็วของสุวรรณหงส์ ในบรรดาหริตหงส์

ตัมพหงส์ กาฬหงส์ ปากหงส์และสุวรรณหงส์ แม้สุวรรณหงส์ย่อมบินไปได้

พันโยชน์บ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง โดยครู่เดียว ส่วนนกยูงนอกนี้ไม่ปรากฏว่า

สามารถ แต่หงส์และนกยูงแม้ทั้งสองก็เป็นสัตว์น่าดู เพราะความเป็นสัตว์ที่

น่าดู ฉันใด คฤหัสถ์แม้บรรลุโสดาก่อนก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ที่น่าดูด้วยมรรคทัสสนะ

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นแล คฤหัสถ์นั้น ทำตามภิกษุผู้บรรลุโสดาภายหลังก็ดี ผู้มี

ภาวะอันเที่ยงตรงน่าดู ด้วยมรรคทัสสนะก็ดี ด้วยเชาว์ไม่ได้ ถามว่า ด้วยเชาว์

ไหน ตอบว่า ด้วยเชาว์คือวิปัสสนาญาณในมรรคเบื้องสูง เพราะญาณนั้น

ของคฤหัสถ์เป็นของช้า เพราะความเป็นญาณที่ยุ่ง ด้วยความยุ่งมีบุตรภรรยา

เป็นต้น ส่วนญาณของภิกษุเป็นของเร็ว เพราะความยุ่งนั้นถูกสางแล้ว เนื้อ

ความนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยบทนี้ว่า ผู้เป็นมุนี สงัดเงียบ

เพ่งอยู่ในป่า ก็ภิกษุผู้เสกขมุนีนี้ สงัดเงียบด้วยกายวิเวกและจิตวิเวก และ

เพ่งอยู่ในป่าเป็นนิตย์ ด้วยลักขณารัมมณูปนิชฌานวิเวกและฌานเห็นปานนี้ของคฤหัสถ์จะมีแต่ที่ไหน ก็อธิบายในคาถานี้ มีเพียงเท่านี้แล.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ