กรรมหนัก.....
ได้ยินท่านว่า อนันตริยกรรม 5 ผู้ใดทำแล้ว เป็นกรรมหนักมากใช่หรือเปล่าครับมีฆ่าบิดา มารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำสังฆเภท เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราทำดีหรือทำบุญ กับพ่อ กับแม่ กับพระอรหันต์ และคณะสงฆ์ให้รัก สมานสามัคคี จะเป็นกรรมหนักฝ่านดี เหมือนกันหรือเปล่าครับ ....
ถ้าเราทำดีหรือทำบุญ กับคุณพ่อ คุณแม่ และพระอรหันต์ ความดีนั้นก็มีผลมาก
แต่ไม่ถึงเป็นกรรมหนัก (ครุกรรม) ต้องเป็นความดีระดับรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต
คือ เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบเป็นฌาน จึงจะเป็นครุกรรมฝ่ายดีครับ
ปาปมาก ปาปน้อย ปาณาติปาต ต่างกันอย่างไรครับ ถ้าฆ่าปลา กับฆ่าไก่ ฆ่าวัว (ฆ่าวัว -ควาย ปาป มากกว่าใช่หรือเปล่าครับ) เห็นผู้เฒ่าผู้แก่บอกคับอย่าเด็ดขาดวัว ควาย ว่างั้น แต่ปู ปลา พวกท่านก็ทำกินปรกตินะคับ ใส่บาตรด้วย กินด้วย แต่วันพระหยุดหมดครับ พากันไปจำศิล กันหมด...แถวบ้านผมเป็นแบบนี้คับ
การฆ่าสัตว์ใหญ่ สัตว์ที่มีคุณมาก ก็บาปมากกว่า การฆ่าสัตว์เล็กก็บาปน้อยกว่า
การเว้นการฆ่าเป็นบุญ เป็นกุศล มีผล มีวิบากดี นำความสุขมาให้ คิดถึงที่ไรใจก็เป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเว้นการฆ่าสัตว์อย่างเด็ดขาด แม้ความคิดก็ไม่มี
ดังนั้นควรประพฤติตามคำสอนของพระอริยะ เพราะสอนแต่สิ่งดีๆ ทั้งนั้นครับ
ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นะคะ ขอถามท่านผู้รู้เพิ่มเติมค่ะว่า
กรณีที่แม่ชอบทานหอยผัด และต้องทำตอนที่มันไม่ตายเพราะไม่สด จะไม่อร่อย ซึ่งโดยส่วนตัวพยายามที่จะรักษาศีลให้ได้ทุกวัน เคยบอกแล้วว่าบาป ท่านก็มองว่ามันเป็นอาหาร ก็เลยจำใจต้องทำ และรู้ว่าขณะที่ทำจิตใจมันก็หดหู่ แต่ก็ไม่รู้จะเลื่ยงอย่างไร เพราะถ้าไม่ทำเอง พ่อก็ทำให้อยู่ดี
มันก็เกิดความขัดแย้งว่า ถ้าเราสนใจรักษาศีล แต่ท่านไม่สนใจ เราควรจะให้ศีลเราบริสุทธิ์ดีกว่ามั๊ย ส่วนถ้าท่านไม่สนใจ ก็คงปล่อยท่านไป ก็กลับรู้สึกว่า ตัวเองเห็นแก่ตัวอีก โยนบาปกรรมให้พ่อทำ มันมีความรู้สึกขัดแย้งในใจอย่างนี้ทุกครั้ง และสุดท้ายก็ยอมทำ เพราะเห็นว่า บาปคงเพียงเล็กน้อย ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ยอมรับไว้เองก็แล้วกัน
(โดยปกติท่านก็ฆ่าสัตว์เล็กน้อยด้วยความจำเป็น เช่น ยุง แมลงสาบ มด ปลวก เป็นต้นอยู่แล้ว (สัตวใหญ่ไม่ฆ่า) ซึ่งโดยส่วนตัวจะพยายามเลี่ยง แต่เรื่องความอยากของแม่ ก็ไม่อยากไปเพิ่มโอกาสให้พ่อท่านทำบาปอีก)
แต่เมื่อมองโดยรวมแล้ว ก็เหมือนกับว่า เราก็ยังถูกฉุดด้วยอุปาทาน ยึดมั่นในตัวกูของกู คือ เพราะเขาคือพ่อแม่ของเรา จึ จึงทำให้เราไม่อาจที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ด้วยถูกสิ่งเหล่านี้ยึดไว้ หลอกไว้ รึเปล่าคะ
เรียนความเห็นที่ 8 จิตของใครก็ของคนนั้น ศีลเกิดขึ้นที่จิต การจะรักษาศีลได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับจิต
ของแต่ละคนเองครับ ไม่ขึ้นอยู่กับคนอื่นเลย เราไม่สามารถบังคับให้ใครมีศีลได้หรือไม่
ได้เพราะทุกอย่างเป็นธรรม บังคับไมได้มีเหตุปัจจัยก็ล่วงศีลแน่นอน ความเข้าใจธรรม
นั่นแหละจะทำหน้าที่ให้ปัญญาเจริญขึ้น เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลประการต่างๆ ก็เจริญ
ขึ้นและเห็นโทษของอกุศลมากขึ้น แม้ในเรื่องของการล่วงศีลด้วย ดังนั้นเราจึงควร
สะสมเหตุที่ถูกต้องคือการเจริญขึ้นของปัญญาคือการได้ฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ปัญญา
ของใครก็ของคนนั้น การล่วงศีลไม่ล่วงศีลก็ของใครก็ของคนนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงมี
กรรมเป็นของๆ ตน ไม่มีใครเอาเปรียบใครเพราะเป็นธรรมทั้งหมดครับ ขอให้ฟังธรรมเริ่ม
จากตัวเป็นสำคัญนะครับ ขออนุโมทนา
จากที่คุณ paderm อธิบายมา เข้าใจขึ้นแล้วค่ะ เมื่อจะเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะ สิ่งเหล่านี้ก็คงเป็นเครื่องทดสอบปัญญา และความหนักแน่นมั่นคงในจิตใจ ว่าจะเดินไปต่อ หรือ หยุดอยู่ที่เดิม อย่างนี้ถือว่าเข้าใจถูกต้องใช่มั๊ยคะ
ขอสอบถามอีกนิดนะคะ
กรณีที่ตั้งใจรักษาศีล จำเป็นมั๊ยที่ว่า เราจะต้องสมาทานทุกวัน หรือ เพียงแค่เราตั้งใจไว้ว่าตลอดเวลาจะพยายามไม่ให้ละเมิดศีล ก็ถือว่ามีศีลแล้ว
และอย่างกรณีบุคคลที่ไม่เคยรู้จักศีล ไม่มีความตั้งใจรักษาศีล แต่ก็มีความละอายและไม่เคยละเมิดศีลเลย (โดยธรรม่ชาติของเขา) อย่างนี้ ก็ถือว่า เขามีศีลไหมคะ