เจริญอริยมรรคเพื่อมรรค [ผลย่อมสมควรแก่เหตุ]

 
เมตตา
วันที่  16 พ.ย. 2552
หมายเลข  14282
อ่าน  1,186

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาภสรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ ๓ - ๔

บทว่า ตโปกมฺมา อปกฺกมฺม แปลว่า หลีกออกจากตบะกรรมด้วยบทว่า อปรทฺโธ มารกล่าวว่า ท่านยังห่างไกลจากทางแห่งความหมดจด.

บทว่า อปรํ ตปํ ความว่า ตบะอันเศร้าหมองที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ตบะอย่างอื่นอีก เป็นอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากเปล่า.

บทว่า สพฺพํ นตฺถาวหํ โหติ ความว่า รู้ว่าตบะทั้งหมดไม่นำประโยชน์มาให้เรา.

บทว่า ถิยา ริตฺตํว ธมฺมนิ ความว่า เหมือนถ่อเรือบนบกในป่า. ท่านอธิบายว่า เปรียบเสมือนคนทั้งหลาย วางเรือไว้บนบกในป่า บรรทุกสิ่งของแล้ว เมื่อมหาชนขึ้นเรือแล้วก็จับถ่อ ยันมาข้างนี้ ยันไปข้างโน้น ความพยายามของมหาชนนั้น ไม่ทำเรือให้เขยื้อนไป แม้เพียงนิ้วหนึ่ง สองนิ้ว ก็พึงไร้ประโยชน์ไม่นำประโยชน์มาให้ ข้อนั้น ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรารู้ว่า ตบะอื่นๆ ทั้งหมด ย่อมเป็นตบะที่ไม่นำประโยชน์มาให้ จึงสละเสีย. ครั้นทรงละตบะอย่างอื่นๆ นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางที่เกิดเป็นพระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า สีลํ เป็นต้น. ในคำว่า สีลํ เป็นต้นนั้นทรงถือเอาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า สีลํ ทรงถือเอาสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา. บทว่า มคฺคํโพธาย ภาวยํ ได้แก่ ทรงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อตรัสรู้.

ก็ในคำนี้ บทว่า โพธาย ได้แก่ เพื่อมรรค เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายต้มข้าวต้มอย่างเดียว ก็เพื่อข้าวต้ม ปิ้งขนมอย่างเดียวก็เพื่อขนม ไม่ทำกิจไรๆ อย่างอื่น ฉันใด บุคคลเจริญมรรคอย่างเดียวก็เพื่อมรรค ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ

ดังนี้. บทว่า ปรมํ สุทฺธึ ได้แก่ พระอรหัต.

บทว่า นีหโต ได้แก่ ท่านถูกเราตถาคต ขจัดออกไป คือทำให้พ่ายแพ้ไปแล้ว.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 6 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ